Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50527
Title: การศึกษาย้อนหลัง12 ปีเรื่องอัตราการรอดชีวิตผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบรุนแรงในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Survival analysis of severe valvular aortic stenosis in King Chulalongkorn Memorial Hospital : 12-year retrospective study
Authors: ธนัตถ์ อัศวิษณุ
Advisors: วรฤทธิ์ เลิศสุวรรณเสรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: vorarit@yahoo.com,vorarit@yahoo.com
Subjects: ลิ้นหัวใจ -- ภาวะตีบแคบ
ลิ้นเอออร์ติก -- ภาวะตีบแคบ
Heart valves -- Stenosis
Aortic valve -- Stenosis
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบรุนแรงเป็นโรคลิ้นหัวใจที่มักพบในผู้ป่วยสูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ข้อมูลการพยากรณ์โรคที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้รับมาจากชาติตะวันตกซึ่งอาจมีความแตกต่างกับข้อมูลผู้ป่วยในประเทศไทย วิธีการวิจัย ตรวจค้นรายชื่อผู้ป่วยย้อนหลังในช่วงปี พ.ศ. 2545-2554 จากฐานข้อมูลรหัสโรค ICD10 และฐานข้อมูลอัลตร้าซาวน์หัวใจในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตรวจสอบข้อมูลการเสียชีวิต การผ่าตัดของผู้ป่วยจากฐานข้อมูลเวชระเบียนโรงพยาบาลและฐานข้อมูลของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ผลการศึกษา พบผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์วินิจฉัยลิ้นหัวใจเออร์ติกตีบรุนแรงและสามารถติดตามข้อมูลได้ จำนวน 248 คน ผู้ป่วยชาย 136 คน(55%) หญิง 112 คน(45%) อายุเฉลี่ย 67.7(39.0-95.2) ปี อาการที่พบมากที่สุดคืออาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง 90.3% อาการหัวใจล้มเหลว 46.7% อาการเจ็บแน่นหน้าอก 25.3% ระยะเวลามัธยฐานการอยู่รอดของผู้ป่วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบรุนแรงทั้งหมดที่มารักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์คือ 7.89 ปี โดยในกลุ่มที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด (74.1%) มีระยะเวลามัธยฐานการอยู่รอดเท่ากับ 11.07 ปี ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษา (25.9%) พบว่ามีระยะเวลามัธยฐานการอยู่รอด 6.78 เดือน(p= 0.001) อัตราการปฏิเสธการผ่าตัดอยู่ที่ 13.7% (n=34) ปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์อัตราการอยู่รอดจากการคำนวณด้วยวิธี multivariate analysis ได้แก่ อายุ Hazard ratio 2.43 (P=0.001) และการมีหัวใจล้มเหลว Hazard ratio 2.87 (P=0.001) สรุปการศึกษา ระยะเวลามัธยฐานการอยู่รอดในกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดใกล้เคียงกับรายงานในอดีตจากชาติตะวันตก แนวโน้มระยะเวลาการรอดชีวิตในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการผ่าตัดสั้นกว่า ซึ่งอาจเกิดจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยในระยะท้ายโดยผู้ป่วยมีสัดส่วนอาการหัวใจล้มเหลวสูง รวมถึงมีระยะเวลาการรอผ่าตัดที่นานกว่า
Other Abstract: Objective: Aortic stenosis is one of the most common valvular heart problem that can be found in real world practice. Nowadays, we use survival data from previous studies in western countries population. This study will demonstrated survival data of severe valvular aortic stenosis in Thai population. Methods: We searched data from hospital information system between 2002-2011 by using relevant ICD-10 code and reporting echocardiogram parameter. Patient survival status was validated by using data from medical record and data from department of provincial administration, Ministry of Interior. Results: We evaluated 248 patients who was confirmed diagnosis as severe valvular aortic stenosis. Patients were 136 (55%) male and 112 (45%) female with mean age of 67.7(39.0-95.2) year. The most common symptom was dyspnea on exertion (90.3%) follow by heart failure (46.7%), chest pain (25.3%). Overall median survival time of severe aortic stenosis in KCMH was 7.89 years. In group who underwent AVR (74.1%), median survival time was 11.07 years. In group who didn’t receive any surgical treatment (25.9%) median survival time was 6.87 months (p= 0.001). Surgical refusal rate was 13.7% (n=34). Factors that effect the survival time after using multivariate analysis were age [Hazard ratio 2.43 (P=0.001)] and heart failure [Hazard ratio 2.87 (P=0.001)]. Conclusions: Median survival time in patients who didn’t receive surgical treatment was shorter. Probably delay diagnosis, high percentage of patient with heart failure and longer time of diagnosis to surgical treatment in our study population could explain this difference.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50527
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.697
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.697
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774032330.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.