Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50534
Title: ความสัมพันธ์ของจำนวนการทดสอบทางผิวหนังที่ให้ผลบวกกับความรุนแรงของโรคหืด
Other Titles: CORRELATION OF AEROALLERGEN SKIN TEST POSITIVE NUMBER AND ASTHMA SEVERITY
Authors: เยาวนิตย์ ศรีวะโร
Advisors: ฮิโรชิ จันทาภากุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Hiroshi.C@Chula.ac.th,hchantap@yahoo.com,hchantap@yahoo.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนของการทดสอบทางผิวหนังที่ให้ผลบวกกับความรุนแรงของโรคหืด วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ในผู้ป่วยโรคหืด ที่เข้ามารับการรักษาที่คลินิกโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองและแนะนำให้เข้าร่วมโครงการวิจัย หลังจากได้รับคำยินยอม ผู้ป่วยจะได้รับการถามประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจสมรรถภาพปอด และทำการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง ในระหว่างนั้นผู้ป่วยจะทำแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต และตอบคำถามมาตรวัดการควบคุมโรคหืด ผลการศึกษา พบว่ามีผู้ป่วยโรคหืดจำนวน 80 ราย เข้าร่วมการศึกษา อายุเฉลี่ย 45.7 ปี (พิสัย 20-79) เป็นเพศหญิงร้อยละ 75 จำนวนผู้ที่ให้การทดสอบต่อสารก่อภูมิแพ้ 5-10 ชนิด คิดเป็น 27 คน (ร้อยละ 33.75 ) สารก่อภูมิแพ้ที่ให้ผลบวกจากการทดสอบผิวหนังมากที่สุดคือ ไรฝุ่นชนิด Dermatophagoides farinae 58 คน (ร้อยละ 72.5) รองลงมาคือ ไรฝุ่นชนิด Dermatophagoides pteronyssinus 57 คน (ร้อยละ 71.25) แมลงสาบ 40 คน (ร้อยละ 50) แมว 39 คน (ร้อยละ 48.75) และ เชื้อรารวม 22 คน (ร้อยละ 27.5) พบว่าผู้ป่วยมีอาการมีอาการหอบหืดเล็กน้อย 34 คน (ร้อยละ 42.5) หอบหืดปานกลาง 39 คน (ร้อยละ 48.75) และหอบหืดรุนแรงมาก 7 คน (ร้อยละ 8.75 ) ตามลำดับ การศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนของการทดสอบทางผิวหนังที่ให้ผลบวกกับความรุนแรงของโรคหืด พบว่ามีความสัมพันธ์กันในเชิงผกผัน ค่า Pearson correlation coefficient เท่ากับ -0.422 (p<0.001) ผู้ที่ผลการทดสอบผิวหนังให้ผลบวกต่อสารก่อภูมิแพ้ 5-10 ชนิด มีโอกาสเป็นหืดในระดับรุนแรงปานกลางและมากคิดเป็นสิบเอ็ดเท่าของผู้ที่ผลการทดสอบผิวหนังให้ผลบวกต่อสารก่อภูมิแพ้ 1-4 ชนิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผู้ที่ทดสอบผิวหนังให้ผลบวกต่อไรฝุ่นชนิด Dermatophagoides farinae แมว และ แมลงสาบ มีโอกาสที่จะมีอาการของโรคหืดในระดับรุนแรงกว่าคิดเป็นสามเท่าของผลบวกต่อสารอื่นๆ พบว่าผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑลมีความเสี่ยงที่จะมีอาการหืดรุนแรงกว่าถึง 3.95 เท่า(p=0.019) สรุป การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าจำนวนของการทดสอบทางผิวหนังที่ให้ผลบวกนั้นมีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคหืด ปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยมีโรคหืดชนิดรุนแรงมากขึ้นในการศึกษานี้คือผู้ป่วยที่ผลการทดสอบผิวหนังให้ผลบวกต่อ ไรฝุ่นชนิด Dermatophagoides farinae แมว และ แมลงสาบ นอกจากนี้ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑลยังมีโอกาสเป็นหืดในระดับรุนแรงมากขึ้น
Other Abstract: Objective: This study aimed to explore correlation between aeroallergen skin test positive number and asthma severity. Method: We had performed a descriptive analytic cross-sectional study. All asthma patients in allergy and clinilcal immunology clinic at King Chulalongkorn memorial Hospital had been screened and recruited. First, individual demographic data were collected. Physical examination were done. Then, they underwent pulmonary function tests and skin prick test were performed with eleven aeroallergens. Subjects were asked to complete questionnaire regarding respiratory and allergy symptoms. Results : A total of 80 patients were enrolled into study. The mean age of participants was 45.7 years (range 20-79), and 75 % were women. The prevalence of skin test positive to five or more allergens was 33.75% in this population. The percentages of allergens sensitization were as follow: Dermatophagoides farinae 72.5%, Dermatophagoides pteronyssinus 71.25 %, cockroach 50 %, cat 48.75 % and mold mixed 27.5%. There were 34 participants in mild asthma group, 39 moderate patients and 7 severe asthma cases. The positive number of aeroallergen skin test was correlated with clinical severity of asthma (r = -0.422, p<0.001). Subjects with positive results on five to ten skin tests had an 11-fold increased in the odds of having more severe asthma compared with those with one to fours reactions. Patients tested positive to mite (Dermatophagoides farinae) cat and cockroach allergens had a 3-fold increased in the odds of having more severe asthma symptoms. Subjects who live in urban/suburban area were more likely to have moderate to severe asthma than those living in rural area 3 times (p=0.019). Conclusions: The number of skin test positivity is correlated with level of asthma severity. Subjects with positive skin test to mite (Dermatophagoides farinae) cat and cockroach allergen were more likely to have a higher asthma severity. The patient who live in urban/suburban area had greater chances of severe asthma.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50534
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774072430.pdf4.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.