Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50770
Title: ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ที่มีต่อทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักศึกษาการศึกษานอกระบบจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Effects of organizing non-formal education activities based on situated learning concept on communication skills in daily life of non-formal education students in Samutprakarn province
Authors: อดิศร ปรีชา
Advisors: วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Worarat.A@Chula.ac.th,aeworarat@yahoo.com
Subjects: การสื่อสาร
การเรียนรู้
การศึกษานอกระบบโรงเรียน
Communication
Learning
Non-formal education
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ที่มีต่อทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักศึกษาการศึกษานอกระบบจังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ที่มีต่อทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักศึกษาการศึกษานอกระบบจังหวัดสมุทรปราการ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบมีกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว ทดสอบก่อน-หลัง ใช้การสุ่มแบบเจาะจงในการคัดเลือกกลุ่มทดลอง ซึ่งเป็นนักศึกษาการศึกษานอกระบบจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 30 คน อายุตั้งแต่ 15-18 ปี การจัดกิจกรรมใช้เวลา 7 วัน รวมทั้งสิ้น 60 ชั่วโมง เครื่องมือวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ที่มีต่อทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักศึกษาการศึกษานอกระบบจังหวัดสมุทรปราการ ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความต้องการ แบบวัดระดับทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยค่าสถิติทดสอบที (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนากิจกรรม พบว่า กิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ที่มีต่อทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักศึกษาการศึกษานอกระบบจังหวัดสมุทรปราการที่เหมาะสม มีองค์ประกอบ 4 อย่าง คือ 1) ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน 2) เนื้อหาสอดคล้องกับแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ 3) เน้นการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์ปัญหาที่เสมือน/ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริง 4) เน้นการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นต้องเน้นให้นักศึกษาการศึกษานอกระบบจังหวัดสมุทรปราการเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกิจกรรม และควรเป็นกิจกรรมที่การฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง ซึ่งจากการสำรวจความต้องการในการจัดกิจกรรม พบว่า กลุ่มเยาวชนมีความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการจัดกิจกรรม พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของระดับทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ผลการศึกษาความพึงพอใจหลังการจัดกิจกรรม พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ที่มีต่อทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักศึกษาการศึกษานอกระบบจังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.45)
Other Abstract: The purposes of this study were : 1) to develop non-formal education activities based on situated learning concept on communication skills in daily life of non-formal education students in Samutprakarn province ; 2) to study outcomes of organizing non-formal education activities based on situated learning concept on communication skills in daily life of non-formal education students in Samutprakarn province. This study based on the research design of a quasi-experiment via purposive sampling technique with one group pretest-posttest design. The research experimental group was 30 non-formal education students in Samutprakarn province from age 15-18 years old. Activities were organized for 7 days, totally 60 hours. The research instruments were the learning plan of non-formal education activities based on situated learning concept on communication skills in daily life of non-formal education students in Samutprakarn province and the data collection tools were questionaire, communication skills in daily life test and satisfaction form. The data were analyzed by means (x-bar), standard deviation (S.D.) and dependent-samples t (t-test) at 0.05 level of significance. The research results were as follow : 1. The rasults of development activities found that the non-formal education activities based on situated learning concept on communication skills in daily life of non-formal education students in Samutprakarn province consisted of four appropriate components as follows : meet the needs of learners. contents related to situated learning, focus on practice in virtual situation, focus on working in real situation. So the activities should be based on creating with the learner's participation in activity planning and should be focus on working in real situation. The needs survey found that the youths require the non-formal education activities based on situated learning concept on communication skills in daily life of non-formal education students in Samutprakarn province at the highest level. 2. After the experiment, the experimental group had the mean scores in communication skills in daily life test higher than before the experiment at 0.05 level of significance. 3. After the experiment, the experimental group had the mean scores in paticipants' satisfaction at high level (x-bar = 4.45).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50770
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1260
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1260
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583449727.pdf5.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.