Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51108
Title: แนวทางการกำหนดมาตรการทางอาญาเพื่อคุ้มครองบุคลากรทางการแพทย์ในการปฏิบัติหน้าที่
Other Titles: CRIMINAL MEASURES FOR THE PROTECTION OF MEDICAL PERSONAL IN PERFORMING THEIR DUTY
Authors: วิธิดา มานิตย์กุล
Advisors: ปารีณา ศรีวนิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Pareena.S@Chula.ac.th,pareena.lawchula@gmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาที่ผู้ป่วยหรือญาติใช้ความรุนแรงต่อบุคลากรทางการแพทย์อันเป็นการกระทำโดยเจตนาหรือประสงค์ในเชิงข่มขู่จะทำร้าย หรือทำร้ายที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือสุขภาพอนามัยทั้งร่างกายหรือจิตใจ เป็นอุปสรรคขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่รักษาพยาบาล ส่งผลกระทบต่อสถานพยาบาลต้องขาดแคลนบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาเพื่อจัดหาบุคลากรเข้าทดแทนหรือสร้างบุคคลใหม่ๆ และยังกระทบต่อผู้ป่วยอื่น ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามและเป็นปัญหาที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ อีกทั้งด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของ บุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพและความปลอดภัยในชีวิต ร่างกายและสุขภาพอนามัยของผู้ป่วย ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องอาศัยทั้งความรู้ความเชี่ยวชาญประสบการณ์ของบุคลากร อีกทั้ง ด้วยประเทศไทยยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์อย่างแท้จริง จากเหตุผลข้างต้น งานศึกษาวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาแนวทางกำหนดมาตรการทางอาญาเพื่อคุ้มครองบุคลากรทางการแพทย์ พิจารณาจากหลักการคุ้มครองบุคลากรทางการแพทย์และเหยื่อทางสงครามตามกฎหมายมนุษยธรรมสากล แนวคิดการกำหนดฐานความผิดอาญาและวัตถุประสงค์การลงโทษทางทัณฑวิทยา และพิจารณาจากมาตรการคุ้มครองในต่างประเทศที่กำหนดให้การใช้ความรุนแรงต่อบุคลากรทางการแพทย์ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นความผิดและมีบทลงโทษทางอาญา ซึ่งอยู่ในรูปแบบทั้งการกำหนดเป็นฐานความผิดเฉพาะในพระราชบัญญัติ หรือในรูปแบบเหตุฉกรรจ์ บทเพิ่มโทษจากฐานความผิดอาญาที่มีในประมวลกฎหมายอาญา เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ถึงเหตุจำเป็นที่ประเทศไทยต้องกำหนดให้มาตรการทางอาญาคุ้มครองบุคลากรทางการแพทย์หรือการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรเป็นการเฉพาะ ในรูปแบบร่างพระราชบัญญัติที่กำหนดให้การใช้ความรุนแรงต่อบุคลากรทางการแพทย์ คือ การทำร้ายหรือข่มขู่จะใช้กำลังประทุษร้าย และการทำให้อุปกรณ์หรือเครื่องมือทางการแพทย์ได้รับความเสียหายเป็นความผิดอาญา พร้อมกำหนดระวางโทษที่หนักขึ้นให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม และเป็นมาตรการเพื่อให้ผู้กระทำผิดยับยั้ง ชั่งใจก่อนเลือกที่จะกระทำความผิด อันเป็นการลดหรือป้องกันปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อทรัพย์สินสถานพยาบาลรูปแบบหนึ่งต่อไป
Other Abstract: The issue of violence against medical personnel inflicted by patients or family members, as a deliberate act, or with intention to threaten or to harm that affects the safety or physical or mental health, is an obstacle to performing medical duty, causing health centers to have staff shortage, more costs and time required for staff replacement or recruitment, as well as affects other patients. This is an important issue that cannot be overlooked and is prioritized globally. Moreover, performing medical duty relates to rights, liberty, safety and health of the patients, which essentially depends on the knowledge, expertise, and experience of the medical personnel, as well as Thailand has no legislative measure that truly protects medical personnel performing medical duty. From the mentioned reasons, this research aims to learn the method to impose criminal measures on protection of medical personnel, with consideration from the principle of protection of medical personnel and war victims, under the International Humanitarian Law, the concept of imposing criminal offense and objectives of penology and punishment, considering protective measures overseas which indicates that violence against medical personnel on duty is a crime and has criminal penalty, both in form of a punishment under an Act, or under the Criminal Code, which would lead to analysis on the need that Thailand must impose on a criminal measure protecting specifically medical personnel or their medical duty, in form of an Act, specifying that violence against medical personnel or their medical duty, including harming or threatening to harm, and damaging medical devices, is a criminal offense, and imposing a heavier penalty to align with economic and social conditions, as a measure to defer offenders from choosing to commit the crime. This would lead to reduction or prevention of violence against property of a medical center onwards.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51108
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5786025034.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.