Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51198
Title: | ปัจจัยทางกายภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพของพื้นที่เปิดโล่งกึ่งสาธารณะในศูนย์การค้าชุมชน |
Other Titles: | Physical factors affecting quality of open spaces in community mall |
Authors: | ณัฐชานันท์ ศิริประเสริฐ |
Advisors: | ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Nattapaong.P@chula.ac.th,natta.tokyo@gmail.com |
Subjects: | ศูนย์การค้า พื้นที่สาธารณะ พื้นที่โล่ง การใช้ที่ดิน Shopping centers Public spaces Open spaces Land use |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญของเมือง เนื่องจากเป็นตัวส่งเสริมให้เกิดคุณภาพชีวิต ทั้งในด้านอยู่อาศัย สังคม และเศรษฐกิจ แต่การพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวในเขตเมืองนั้น ได้รับการพิจารณาเป็นลำดับสุดท้าย เนื่องจากการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เข้มข้นและมูลค่าที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้การพัฒนามุ่งเน้นไปที่ พื้นที่ที่สร้างมูลค่า ทั้งนี้ กระบวนการพัฒนาพาณิชยกรรมในรูปแบบของศูนย์การค้าชุมชน (Community Mall) เป็นรูปแบบการค้าปลีกที่มีการให้บริการในย่านหรือชุมชนโดยรอบ เป็นแนวคิดรูปแบบใหม่ของการผสมผสานพื้นที่สาธารณะและพื้นที่พาณิชยกรรมเข้าด้วยกัน โครงการหลายโครงการจึงประสบผลสำเร็จและกลายเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะของเมือง แต่ยังมีบางโครงการที่ประสบความล้มเหลว งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบทางกายภาพของพื้นที่เปิดโล่งกึ่งสาธารณะในศูนย์การค้าชุมชน 2)ประเมินคุณภาพของพื้นที่เปิดโล่งกึ่งสาธารณะในศูนย์การค้าชุมชน 3) ศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้งานในพื้นที่เปิดโล่งกึ่งสาธารณะในศูนย์การค้าชุมชน4) ระบุองค์ประกอบทางกายภาพเพื่อหาแนวทางการออกแบบ โดยการวิเคราะห์พื้นที่เปิดโล่งกึ่งสาธารณะของศูนย์การค้าชุมชนเมืองจำนวนทั้งหมด 14 แห่งในเขตกรุงเทพมหานครชั้นในเพื่อจำแนกรูปแบบทางกายภาพของพื้นที่เปิดโล่งกึ่งสาธารณะและวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับคุณภาพของพื้นทีและการใช้ประโยชน์ ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบของพื้นที่เปิดโล่งกึ่งสาธารณะของศูนย์การค้าชุมชนแบ่งตามลักษณะของการใช้งานได้ 3 รูปแบบดังนี้ 1) พื้นที่เปิดโล่งกึ่งสาธารณะลักษณะรูปแบบลานโล่งผสานกับพื้นที่หรือทาง 2) พื้นที่เปิดโล่งกึ่งสาธารณะลักษณะรูปแบบลานปิดล้อมผสานกับพื้นที่หรือทางสัญจร 3) พื้นที่เปิดโล่งกึ่งสาธารณะลักษณะรูปแบบทางสัญจรเชื่อมต่อด้านหน้าอาคาร โดยพื้นที่เปิดโล่งกึ่งสาธารณะของศูนย์การค้าชุมชนที่มีรูปแบบลานโล่งผสานกับพื้นที่สัญจรมีการออกแบบปัจจัยในเชิงพื้นที่ที่ค่าความเป็นสาธารณะมากกว่ารูปแบบอื่นโดยปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าความเป็นสาธารณะมาก ดังแสดงผลสอดคล้องกับจำนวนการใช้งาน โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนได้แก่ การเข้าถึงที่สามารถเข้าถึงได้โดยตรงจากถนนหลักและทางเท้าสาธารณะ การเชื่อมต่อที่มีการเชื่อมโยงไปสู่พื้นที่สาธารณะอื่นในรูปแบบของเส้นทางลัดที่เชื่อมไปยังพื้นที่รอบข้าง เป็นการเพิ่มโอกาสในการใช้พื้นที่ของโครงการนั้น และพื้นที่เปิดโล่งกึ่งสาธารณะของศูนย์การค้าชุมชนนี้มีอัตราส่วนในการเปิดพื้นที่เทียบกับความกว้างของที่ดินในอัตราส่วนที่มากกว่า 50% รูปแบบรอยต่อระหว่างโครงการกับพื้นที่โดยรอบมีการออกแบบโปร่งที่ส่งผลให้ง่ายต่อการมองเห็น ขนาดพื้นที่ที่คนสามารถเข้าไปใช้งานมีอัตราส่วนมากกว่า 40% ของพื้นที่ก่อสร้างในระดับชั้นที่เชื่อมต่อกับทางสาธารณะ และเป็นพื้นที่ที่มีความร่มเงา จากปัจจัยข้างต้นส่งผลให้โครงการมีค่าความเป็นสาธารณะมากขึ้น และมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับการใช้งานที่หลากหลาย โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์ (Correlation) อยู่ที่ 0.72 เป็นค่าในระดับที่สูง แสดงถึงการออกแบบทางกายภาพที่มีองค์ประกอบส่งเสริมให้พื้นที่ มีความเป็นสาธารณะตามแนวทางการออกแบบที่ดี จะส่งผลให้พื้นที่นั้นมีความอเนกประโยชน์สูง เกณฑ์ดังกล่าวสามารถเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการออกแบบและเชื่อมต่อพื้นที่ของศูนย์การค้าชุมชนเพื่อให้เกิดคุณค่าและการใช้งาน |
Other Abstract: | Public spaces have the importance of the city. These spaces are promoting the life qualities which are dwelling, society, and economy. In other hand, the development of these spaces in the city is considered as the last order.The reasons are the intensive land utilization and increasing land value. Hence, the development focused on the spaces which can generate the value. The development procedure of commerce in the pattern of community mall has the retail trade for servicing around districts and communities. This development procedure of commerce is a new concept of the integration between public space and commercial space. Hence, there are many successful projects which turn into the semi-public spaces of the city. In the other hand, there are some projects which fail. This research has the purposes to 1). Study the physical patterns of the open semi-public spaces in the community mall. 2). Evaluate the quality of the open semi-public spaces in the community mall. 3). Study the users’ behavior in the open semi-public spaces in the community mall. 4). Identify physical compositions in order to find the design guideline. The method is to analyze the open semi-public spaces in the community mall among 14 places in Bangkok. Hence, the researcher classifies the physical patterns of open semi-public spaces. Also, the researcher analyzes the relation, quality and utilization of spaces.The results of study show that the pattern of open semi-public spaces in the community mall which can classify the characteristic of usability into 3 patterns: 1). The open semi-public spaces which has the pattern of the path 2). The open semi-public spaces which has the pattern of the enclosure with the path or the thoroughfare. 3). The open semi-public spaces which has the pattern of the plaza with the path The open semi-public spaces in the community mall which have the pattern of the plaza with the path have the design of factors in the space. The space that has the public value more than other patterns. Moreover, the factor that affects to the public value has the concordant result with the quantity of usability. There are also the supporting factors which are the access that people can enter to the place directly from the main road and sidewalk. Second, the connection that connects to other public spaces in the pattern of shortcut (shorter route). This factor increases the opportunities of land utilization in the particular project. Besides, this open semi-public spaces have the ratio of the opening of spaces compared to the wideness of land which has the ratio more than 50%. Besides, the pattern of joint between the project and spaces has the sparse design which people can easily see. The size of space that people can access to use it. It has the ratio more than 40% of construction area in the level which connects to the public way. Moreover, the space has the umbrage. From the above factors affect to the project. Hence, the project has the increasing public value. Also, the space has the relation conform to the several usability. The correlation is 0.72 which is in the high level. Moreover, this space has high multi-benefits. This standard can be the one part of design guidelines. Also, it connects the spaces in the community mall in order to generate value and usability. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การออกแบบชุมชนเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51198 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.451 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.451 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5573330025.pdf | 18.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.