Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51278
Title: ปัญหาทางกฎหมายของการใช้หลักกรรมสิทธิ์ติดตามเอาคืน : ศึกษากรณีคืนเงิน
Other Titles: Legal problems concerning the exercise of ownership to recover money
Authors: ธัญลักษณ์ นิลศิริ
Advisors: ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Sanunkorn.S@Chula.ac.th,ajarnkorn@gmail.com
Subjects: หนี้ (กฎหมาย)
ทรัพย์สิน
เงินตรา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Obligations (Law)
Property
Money -- Law and legislation
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศาลฎีกาของไทยมีคำพิพากษาเกี่ยวกับการใช้หลักกรรมสิทธิ์ติดตามเอาคืนทรัพย์สิน ตามมาตรา 1336 อยู่เป็นจำนวนมาก แต่แนวทางในการใช้สิทธิติดตามเอาคืนนั้นยังมีความคลุมเครืออยู่ กล่าวคือ คำพิพากษาในหลายคดียอมให้โจทก์สามารถติดตามเอาทรัพย์สินซึ่งเป็นทรัพย์ทั่วไปอย่างเงินตราได้ ทั้งที่หากพิจารณาตามลักษณะเฉพาะตัวของเงินตราแล้ว การติดตามเอาเงินตราคืนย่อมเป็นไปได้ยาก เพราะการพิสูจน์เพื่อระบุตัวเงินที่โจทก์เป็นเจ้าของนั้นไม่อาจทำได้ นอกจากนี้ในบางคดี ศาลยังปรับใช้หลักกรรมสิทธิ์ในการเรียกคืนเงินตราซึ่งเป็นเงินฝากในบัญชีธนาคารอีกด้วย ข้อเท็จจริงเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาในทางทฤษฎีว่า แท้จริงแล้วการใช้สิทธิติดตามเอาคืนภายใต้มาตรา 1336 นั้น ควรมีการปรับใช้อย่างไร จากการศึกษากฎหมายเยอรมันและกฎหมายฝรั่งเศส พบว่า การที่บุคคลจะใช้สิทธิโดยอ้างกรรมสิทธิ์นั้นจำต้องระบุตัวทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสิทธิอันแน่ชัดได้ แต่ในกรณีเงินตราการพิสูจน์ระบุตัวเงินที่ตนเป็นเจ้าของให้แน่ชัดนั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก โดยทั่วไปแล้วนักกฎหมายทั้งในเยอรมันและฝรั่งเศสจึงไม่ใช้หลักกรรมสิทธิ์ในการติดตามเอาคืนเงินตรา ในกฎหมายเยอรมัน การอ้างหลักกรรมสิทธิ์ในการเรียกคืนเงินตรานั้นเกิดขึ้นได้เฉพาะกรณีเท่านั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าตามหลักกฎหมายเยอรมัน ความสมบูรณ์ของนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์มีความเป็นอิสระแยกจากนิติกรรมทางหนี้ ดังนั้นเมื่อมีการแสดงเจตนาโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบเงินตราให้แก่กันแล้ว กรรมสิทธิ์ย่อมโอนไปเสมอ ส่วนตามกฎหมายฝรั่งเศสนั้น พบในทางตำราว่า กรรมสิทธิ์ในเงินตราย่อมโอนไปเสมอเมื่อมีการส่งมอบ สำหรับกรณีตามกฎหมายอังกฤษนั้น แนวคิดเรื่องกรรมสิทธิ์มีความแตกต่างจากหลักกรรมสิทธิ์ในกฎหมายไทย อย่างไรก็ตามการจะอ้างสิทธิเหนือทรัพย์สินใด ในทางคอมมอนลอว์แล้ว ก็จำเป็นจะต้องทราบตัวทรัพย์ที่แน่นอนเช่นกัน แต่แนวคิดเรื่องการติดตามเอาคืนทรัพย์นั้น โดยหลักทางคอมมอนลอว์แล้ว การฟ้องคดีโดยอ้างทรัพยสิทธิไม่ได้นำมาซึ่งการติดตามเอาทรัพย์โดยเฉพาะเจาะจงคืน ในกรณีเงินตราจึงเป็นการคืนเงินในมูลค่าที่เท่าเทียมกันแทนการคืนเงินตราโดยเฉพาะเจาะจง การใช้สิทธิติดตามเอาคืนเงินตราตามแนวทางที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกานั้น อาจตั้งข้อสังเกตได้ว่า ศาลเลือกนำหลักกรรมสิทธิ์มาปรับใช้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เนื่องจากการฟ้องคดีโดยอ้างหลักกรรมสิทธิ์นั้นไม่มีอายุความ แม้ว่าการปรับใช้หลักกรรมสิทธิ์ในการติดตามเอาคืนเงินตราโดยไม่จำต้องคืนตัวเงินเดิมนั้นจะไม่สอดคล้องตามทฤษฎีกรรมสิทธิ์ที่ใช้อยู่ในกฎหมายไทยปัจจุบันก็ตาม อย่างไรก็ดี ผู้เขียนเห็นว่า การใช้สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สิน ตามมาตรา 1336 ควรต้องตีความอย่างเคร่งครัดตามทฤษฎีให้ครอบคลุมเฉพาะทรัพย์ที่ระบุเจาะจงได้ชัดเจน กล่าวคือเจ้าของสามารถพิสูจน์ทราบความเป็นเจ้าของได้อย่างแน่ชัด ดังนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติมาตราใดที่บัญญัติให้สามารถใช้หลักกรรมสิทธิ์ติดตามเอาคืนเงินตราในมูลค่าที่เท่ากันแทนเงินตราอันเดิมได้ การใช้สิทธิเรียกเอาเงินคืนจากบุคคลอื่นจึงควรเป็นความสัมพันธ์ภายใต้กฎหมายลักษณะหนี้มากกว่าการใช้หลักกรรมสิทธิ์ภายใต้กฎหมายลักษณะทรัพย์สิน และเพื่อความชัดเจน ผู้เขียนจึงขอเสนอให้ปรับถ้อยคำในบทบัญญัติมาตรา 1336 ซึ่งใช้คำว่า “ทรัพย์สิน” มาใช้คำว่า “ทรัพย์” แทน และนอกจากนี้ควรนำบทบัญญัติเรื่องสังกมะทรัพย์กลับมาบัญญัติ อันจะเป็นบทบัญญัติที่ชัดเจนเพื่อเป็นฐานรองรับการชำระหนี้ที่อาจใช้ทรัพย์อื่นอันเป็นประเภทเดียวกันแทนกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของเงินตรา
Other Abstract: The way to exercise ownership to follow and recover property under section 1336 of Thailand Civil and Commercial Code has been left ambiguous. Due to many of Supreme Court’s judgments have decided that claimants are capable to follow and recover their money regardless of the nature of money – which is a huge obstacle to proof the owner’s right to specific things. Moreover, in some cases, the court has gone further to allow claimant exercising his ownership to follow and recover money deposited in a bank account as well. This ambiguity leads to the theoretical problem that is how to properly exercise the right to follow and recover property under section 1336. German and French property laws determine that to exercise the right to follow and recover property, the owner has to identify certain specific thing to claim. When it comes to money – coins and banknotes, it is complicated to prove their identity, so that, there is no use of ownership, in general, in order to follow and recover money in Germany and France. In Germany, the possibility to claim on the ground of ownership to follow and recover money is limited to very specific cases. Under German laws, the validity of the contract of transfer is separated from the validity of contract of obligation – which means whenever there is an intention to transfer money and the money has been delivered, the ownership was always transferred. In France, some scholar insists that ownership of money always be instantly transferred at the time of delivery. In England, the ground of ownership is different from our Thai laws. According to proprietary claim under the common law, a claimant need to specifically prove identity of his or her assets. Nevertheless, proceeding a proprietary claim under common law will not lead to the return of specific thing but to return the same value instead. Applying the ground of ownership in order to follow and recover unspecific money, as the Supreme Court of Thailand has done in many cases, could be remarkable if the reason is for the justice sake, because there will be no prescription to the claim to recover the property under section 1336. On the contrary, there is not any Thai legal theory, at the moment, available for the exercising of ownership to follow and recover the unspecific money to be based on. In the writer’s view, when the law to let persons exercise their right to follow and recover unspecific money is absent, the law of obligation should be applied rather than the law of property. In addition, to be cleared, the writer would like to call for the amendment of the text under section 1336 using the word “Things” instead of “Property” and to add the provisions on “Fungible Thing” to the Civil and Commercial Code of Thailand which will provide the explicit ground to recover interchangeable things such as money.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51278
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.645
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.645
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5585985034.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.