Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51354
Title: ความสัมพันธ์ของภาวะง่วงนอนมากผิดปกติกับอาการกำเริบของโรคในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในช่วงระยะเวลา 6 เดือน
Other Titles: CORRELATION OF DAYTIME SLEEPINESS AND ACUTE EXACERBATION IN CHRONIC OBSTRUCTIVE PULMONARY DISEASE PATIENTS OVER 6 MONTHS
Authors: วีราภรณ์ พุฒิวงศ์รักษ์
Advisors: นฤชา จิรกาลวสาน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Naricha.C@chula.ac.th,narichac@hotmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของภาวะความง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน โดยใช้คะแนนความง่วงนอนจากแบบสอบถาม (Epworth sleepiness scale) ว่ามีความสัมพันธ์กับ การกำเริบ (acute exacerbation)ของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโดยสังเกตจากจำนวนครั้งในการกำเริบของตัวโรคหรือไม่ ในช่วงระยะที่มีการติดตามคนไข้เป็นระยะเวลา 6 เดือน วิธีการวิจัย: การศึกษาเชิงสหสัมพันธ์แบบไปข้างหน้า (Prospective correlational study) โดยการที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงของระดับคะแนนความง่วงนอนโดยใช้แบบสอบถามชุดเดียวกัน (Epworth sleepiness scale (ESS)) ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีการประเมินระดับความรุนแรงของโรคโดยการวัดการทำงานของปอด (Pulmonary function test) โดยวินิจฉัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโดยใช้เกณฑ์ post bronchodilator FEV1/FVC<70% โดยอยู่ในกลุ่มที่มีการอุดกั้นระดับรุนแรงปานกลางหรือรุนแรงมาก (GOLD 3 และ GOLD 4) โดยมี post bronchodilator FEV1 < 50% predicted และมารับการตรวจรักษาและติดตามอาการที่หน่วยโรคปอด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 29 ราย เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยเก็บข้อมูลที่จุดเริ่มต้นและเมื่อครบ 6 เดือน โดย ณ จุดเวลาที่เก็บข้อมูลทั้งสองครั้งต้องไม่มีการกำเริบของโรคนำมาก่อนอย่างน้อย 1 เดือน และติดตามจำนวนครั้งในการกำเริบของโรค (Acute exacerbation) ในระยะเวลา 6 เดือน และหาความสัมพันธ์ของทั้งสองปัจจัยโดยใช้ Pearson’s correlation coefficient ผลการศึกษา: ค่าการเปลี่ยนแปลงคะแนนความง่วงนอน (ESS change) มีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับการกำเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (correlation coefficient = -0.4210) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value 0.0405) และเมื่อทำ Subgroup analysis พบว่า กลุ่มที่มีคะแนนความง่วงนอนน้อยตั้งแต่เข้าเริ่มการวิจัย (ESS ครั้งที่ 1 < 10) เป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับการกำเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (correlation coefficient = -0.4595) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value 0.0478) และคะแนนความง่วงนอนที่ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับ 2 จะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงในการกำเริบของโรคถึง 8 เท่า แต่ในกลุ่มที่มีคะแนนความง่วงนอนมากตั้งแต่เข้าเริ่มการวิจัย (ESS ครั้งที่ 1 ≥ 10) ผลการศึกษาพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างค่าการเปลี่ยนแปลงคะแนนความง่วงนอน (ESS change) กับการกำเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (P value 0.1817) ทั้งนี้ปัจจัยต่างๆอันได้แก่ อายุ เพศ การสูบบุหรี่ ชั่วโมงการนอน โรคประจำตัว สมรรถภาพการทำงานของปอด และคุณภาพการนอนหลับ ไม่มีความสัมพันธ์กับการกำเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (P value > 0.05) สรุป: ในกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ไม่มีภาวะความง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน (ESS <10) พบว่าค่าการเปลี่ยนแปลงคะแนนความง่วงนอน (Epworth Sleepiness Scale) ที่ลดลง สัมพันธ์กับการเกิดการกำเริบของโรคที่มากขึ้น และคะแนนความง่วงนอนที่ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับ 2 จะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงในการกำเริบของโรคถึง 8 เท่า
Other Abstract: Objective: To evaluate the correlation of delta change of ESS and frequency of acute COPD exacerbation in moderate to severe COPD patients (post bronchodilator FEV1 < 50%) over 6 month-period. Method: The study was conducted as a prospective correlational study following delta change of the Epworth Sleepiness Scale in moderate to severe COPD patients (post bronchodilator FEV1 < 50%, GOLD3 and GOLD4) at King Chulalongkorn memorial hospital. Frequency of acute exacerbation over 6 month -period and the delta change of ESS were obtained in order to evaluate the correlation between them. Results: Total of 24 patients were enrolled in the study. There was 75 % male with the mean age of 71 ± 7. The mean FEV1 was 1.00 ± 0.31 Liter. The mean ESS at baseline was 6 ± 5. The overall baseline ESS was indicating that most of the patients did not have excessive daytime sleepiness. Only 5 patients (21%) had ESS of at least 10 indicating the presence of excessive daytime sleepiness. The delta change in ESS was observed to be negatively correlated with the frequency of COPD exacerbation (the correlation coefficient of -0.4210 and the P value of 0.0405). After performing subgroup analysis, it was demonstrated that this negative correlation was only present in the non-sleepy group (baseline ESS<10) (the correlation coefficient of -0.4595 and the P value of 0.0478) and interestingly, the risk of developing any acute exacerbation was 8 times higher in the group with significant reduction of ESS (≥2) compared to the group without it. The sleepy COPD group did not demonstrate the significant correlation between the delta ESS change and the frequency of COPD exacerbation (P value of 0.1817). No other factors including age, gender, smoking habit, hours of sleep, sleep quality, underlying disease or baseline lung function were correlated with the frequency of COPD exacerbation (P- value>0.05). Conclusion: In the non-sleepy COPD patients, the delta change in ESS score was demonstrated to be negatively correlated with the frequency of COPD exacerbation and the risk of developing any acute exacerbation was 8 times higher in the group with significant reduction of ESS (≥2) compared to the group without it.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51354
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774092030.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.