Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52320
Title: | ผลการดำเนินมาตรการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินที่มีต่อการพัฒนาตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | THE RESULTS OF PERFORMANCE FOR FAR BONUS MEASUREMENT ON DEVELOPMENT ACCORDING TO THE BANGKOK COMPREHENSIVE PLAN |
Authors: | กรองกมล ตั้งชีววัฒนกุล |
Advisors: | พนิต ภู่จินดา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Panit.P@Chula.ac.th,pujinda@gmail.com |
Subjects: | ผังเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ การพัฒนาเมือง |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | มาตรการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR Bonus) เป็นมาตรการส่งเสริมเพื่อสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาพื้นที่ของเอกชน (Incentive Measure) โดยการให้รางวัลหรือผลตอบแทนแก่ผู้ประกอบการที่พัฒนาตามเงื่อนไข ซึ่งมีจุดประสงค์คือการเพิ่มพื้นที่สาธารณประโยชน์แก่เมือง เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของมาตรการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองน่าอยู่ ที่มีการประกาศใช้ในกฎกระทรวงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 ไว้ 5 ประเภท ได้แก่ 1) ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือผู้อยู่อาศัยเดิม 2) พื้นที่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสวนสาธารณะ 3) ที่จอดรถยนต์สำหรับประชาชนทั่วไปตั้งอยู่ในรัศมี 500 เมตรรอบสถานีขนส่งมวลชน 4) พื้นที่รับน้ำ และ 5) อาคารประหยัดพลังงาน เมื่อพิจารณาการใช้สิทธิ์โบนัส ในช่วงเวลาที่ผ่านมา พบว่ามีโครงการที่ขอใช้สิทธิ์และก่อสร้างเพียง 8 โครงการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทพื้นที่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสวนสาธารณะ จำนวน 2 โครงการ และประเภทพื้นที่รับน้ำ จำนวน 6 โครงการ จากจำนวนโครงการใช้สิทธิ์โบนัสที่ค่อนข้างน้อยและใช้เพียง 2 ประเภท จึงนำมาสู่การศึกษาถึงการตัดสินใจเลือกใช้โบนัสตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครของผู้ประกอบการที่มีมีอำนาจในตัดสินใจ รวมถึงการศึกษาผลที่เกิดจากการดำเนินมาตรการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Approach) ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เพื่อสนับสนุนคุณภาพของงานวิจัยให้ดียิ่งขึ้นมีวิธีการเก็บข้อมูลโดยตรง 3 วิธี คือ 1) การสำรวจ (Survey) เพื่อใช้ศึกษาลักษณะทางกายภาพ 2) การสังเกตการณ์ (Observation) เพื่อใช้ศึกษาพฤติกรรมเชิงสังคมในการใช้พื้นที่โบนัส และ 3) การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นการสอบถามทัศนคติของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการคัดสินใจ โดยข้อมูลที่ได้จะนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลทางเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ภาพถ่าย และแผนที่ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ผลและหาข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่าการตัดสินใจเลือกดำเนินมาตรการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR Bonus) มีความสัมพันธ์กับประเภทหรือความเชี่ยวชาญของผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการประเภทที่อยู่อาศัยจะสนใจมาตรการที่ไม่ทำให้โครงการสูญเสียความเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล เช่น ประเภทพื้นที่รับน้ำ และอาคารประหยัดพลังงาน สำหรับผู้ประกอบการสำนักงาน ผู้ประกอบการโรงแรม และผู้ประกอบการพาณิชยกรรมจะสนใจมาตรการประเภทอาคารประหยัดพลังงาน พื้นที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ และที่จอดรถยนต์ตามลำดับ สำหรับมาตรการประเภทที่อยู่อาศัยรายได้น้อยพบว่าไม่มีผู้ประกอบการรายใดให้ความสนใจ นอกจากนี้ในโครงการที่ดำเนินมาตรการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินแล้วพบว่า เกิดผลต่อสาธารณะตามวัตถุประสงค์ของมาตรการซึ่งโครงการประเภทพื้นที่เพื่อประโยชน์สาธารณะสามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อช่วยลดความแออัด และโครงการประเภทพื้นที่รับน้ำสามารถช่วยชะลอน้ำออกจากโครงการเมื่อเกิดฝนตกหนักซึ่งสามารถบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณย่าน |
Other Abstract: | Floor Area Ratio Bonus Measure (FAR Bonus Measure) is an incentives measure for the development of the area on private sector by providing prizes or rewards to entrepreneurs who develop project according to the conditions. The objective is to increase public space for the city. To achieve the objective, there are measures to increase the floor area ratio (FAR) according to the comprehensive Bangkok city plan to make the city more livable as announced in the Bangkok Comprehensive Plan 2013 (B.E.2556) including these 5 categories: 1) housing for low-income households or original residents, 2) public space or park, 3) car park for the general public within a radius of 500 meters from the public transit station, 4) retention pond, and 5) energy-efficient building. When considering using bonus in the past, it was found that there were only 8 projects that would exercise their rights divided into two categories: 2 projects of a public space or park and 6 projects for a retention pond. From a low number of projects that used the bonus and in only two categories, it led to a study of a decision to use the bonus according to the Bangkok Comprehensive Plan of entrepreneurs who have the authority to decide including the results of performance of floor area ratio bonus measure on development according to the Bangkok Comprehensive Plan. This research used a mixed methods approach including both qualitative research and quantitative research. To support the quality of the research to be better, data were directly collected by three methods: 1) survey to study the physical characteristic, 2) observation to study social behavior in the usage of bonus area, and 3) interview to gather the attitude of the entrepreneurs involved in making the decision. The data will be analyzed in conjunction with official documents, related researches from literature review, photos, and maps in order to analyze the results and conclusions. The study found that the decision to continue Floor Area Ratio Bonus Measure (FAR Bonus Measure) is correlated with type or expertise of entrepreneurs. The entrepreneurs of residential building were interested in the measures that will not lead to the loss of private space of the project such as a retention pond and an energy-efficient building. For entrepreneurs of office building, hotel, and commercial or shopping mall, they are interested in measures following order: energy-efficient building, public space or park, and car park. For the measure of housing for low-income households, no entrepreneur was interest. In addition, in the projects that have implemented the measures to increase the floor area ratio, it was found that they affect the public as in the target of the measures. Projects with a public space or park can increase green area to reduce congestion and projects with a retention pond can help slow down water flow out the projects when there is a heavy rain, which can alleviate problems caused when water floods the area. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางแผนภาคและเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52320 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.215 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.215 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5773349125.pdf | 11.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.