Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52624
Title: | โนรา : สัญลักษณ์ พิธีกรรม ตัวตนคนใต้รอบลุ่มทะเลสาบสงขลา ยุคโลกาภิวัตน์ |
Other Titles: | Nora : symbols, rituals, Southern Thai identity around Songkhla lake in the globalization era |
Authors: | นภสมน นิจรันดร์ |
Advisors: | ปรีชา คุวินทร์พันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Preecha.K@Chula.ac.th |
Subjects: | การรำ -- ไทย (ภาคใต้) การละเล่น -- ไทย (ภาคใต้) โนรา Dance -- Thailand, Southern Nora (Thai dance drama) |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาถึงตำนาน พิธีกรรมและสัญลักษณ์ของโนรากับวีชีวิตวัฒนธรรมชาวใต้ ซึ่งแสดงอัตลักษณ์ผ่านสัญลักษณ์และการให้ความหมายต่างๆ ในพิธีโนราโรงครู ตลอดจนศึกษาถึงพลวัตการปรับตัวของการแสดงโนราท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ โดยนำแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับพิธีกรรม สัญลักษณ์ อัตลักษณ์ และแนวคิดโลกาภิวัตน์ เป็นแนวทางในการทำความเข้าใจ สำหรับระเบียบวิธีวิจัย ใช้วิธีการค้นคว้าจากเอกสารประกอบกับการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในพิธีโนราโรงครูในเขตพื้นที่จังหวัดสงขลา และการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการแสดงโนรา อาทิ หัวหน้าคณะโนราและสมาชิก นักวิชาการท้องถิ่น เจ้าภาพพิธีโนราโรงครูและญาติพี่น้อง เป็นต้น ผลการศึกษาพบว่า ความเชื่อจากตำนานโนราผสมผสานกับความเคารพต่อผีบรรพบุรุษในสายตระกูลกลายเป็นต้นตอแห่งการประกอบพิธีโนราโรงครูของชาวใต้ตั้งแต่อดีตเรื่อยมาถึงปัจจุบัน โดยพิธีโนราโรงครูมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ลูกหลานได้แสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่เรียกว่า “ตายายโนรา” โดยอาศัยร่างทรงและโนราเป็นตัวกลาง มีการให้ความหมายและใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของคนใต้ในการสืบทอดอำนาจและการจัดการทางเครือญาติโดยมีบรรพบุรุษเป็นศูนย์กลาง และยังก่อให้เกิดการรวมตัวของผู้ที่มีความเชื่อความศรัทธาเหมือนกัน ได้มาแสดงตัวตนร่วมกันในพิธีโนราโรงครูชุมชนซึ่งมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากประเพณีของท้องถิ่นอื่น นอกจากนี้ยังพบว่าผลของการเปลี่ยนแปลงในสังคมทำให้สามารถแบ่งลักษณะของโนราในยุคโลกาภิวัตน์ได้ 3 กลุ่มคือ 1) กลุ่มที่มีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงสูง 2) กลุ่มที่มีการผสมผสานระหว่างของเก่ากับของใหม่ 3) กลุ่มที่ปฏิเสธสิ่งแปลกใหม่ อนุรักษ์ไว้ซึ่งของเก่าตามแบบฉบับดั้งเดิมเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการแสดงโนราจะต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมหลากหลายรูปแบบจนก่อให้เกิดการแตกหน่อต่อยอดออกเป็นสาขาต่างๆ มากมาย แต่พิธีโนราโรงครูยังคงมีความสำคัญในฐานะที่เป็นรากเหง้าของการแสดงโนราเหมือนอย่างในอดีตไม่เคยเปลี่ยนแปลง |
Other Abstract: | This research is a study of myth, ritual and symbols involving in “Nora Rong Krue Ritual” and life of a group of Southern Thai who live around Songkhla Lake. It also includes the study of changes in the performance of Nora in the globalization era. Research methodologies employed are documentary and field work, i.e., participant observation of the “Nora Rong krue” in Songkhla area and indepth-interview of leaders of Nora groups, their members, local intellectuals and the hosts of Nora Rong Krue and their relatives. The study found that the belief in Nora myth and the rite of ancestral worship are the central focui of Nora Rong Krue. The ritual is to demonstrate people’s respect toward their ancestors who are remembered as “Ta-Yai Nora” (Grand-pa and Grand- ma Nora) who present themselves through the mediums. During the ritual, Southern Thai Identity is observed through the performance and specific symbols emphasizing the power of ancestors and the control of kins and family members. This ritual also provides an occasion of reunion of those with the same believes, and gives them group spirit and identity of the Southern Thai. Finally, globalization has affected the performance of Nora differently. Three categories are identified; a) Nora group with high adaptation and high remodeling, b) Nora group with the combination of the old and the new, and c) the group that maintain the old tradition. Till the present time Nora Rong Krue has survived and still represents the identity of Southern Thai around Songkhla Lake area. It provides other Noras with their sacred origin and aspiration into the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | สังคมวิทยามหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สังคมวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52624 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.373 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.373 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
napasamon_ni_front.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
napasamon_ni_ch1.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
napasamon_ni_ch2.pdf | 2.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
napasamon_ni_ch3.pdf | 953.68 kB | Adobe PDF | View/Open | |
napasamon_ni_ch4.pdf | 1.56 MB | Adobe PDF | View/Open | |
napasamon_ni_ch5.pdf | 3.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
napasamon_ni_ch6.pdf | 1.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
napasamon_ni_ch7.pdf | 4.66 MB | Adobe PDF | View/Open | |
napasamon_ni_ch8.pdf | 3.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
napasamon_ni_ch9.pdf | 2.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
napasamon_ni_ch10.pdf | 723.03 kB | Adobe PDF | View/Open | |
napasamon_ni_back.pdf | 967.46 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.