Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53131
Title: | รูปแบบที่เหมาะสมขององค์กรที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการบินพลเรือนในประเทศไทย |
Other Titles: | Appropriate regulatory agency for civil aviation in Thailand |
Authors: | ปิยะวรรณ ประมวลทรัพย์ |
Advisors: | นันทวัฒน์ บรมานันท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การบินพาณิชย์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย องค์กรอิสระ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ -- ไทย Aeronautics, Commercial -- Law and legislation -- Thailand Privatization -- Thailand |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงรูปแบบที่เหมาะสมขององค์กรที่จะทำหน้าที่กำกับดูแลการบิน พลเรือนในประเทศไทย ว่าควรจะจัดตั้งองค์กรดังกล่าวขึ้นในรูปแบบใดที่จะเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพและลักษณะเฉพาะของกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบินพลเรือน และรองรับต่อการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินงานด้านการบินพลเรือน และการเปิดเสรีทางการบินตามนโยบายของรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงสถานภาพทางกฎหมายที่ชัดเจนขององค์การกำกับดูแลดังกล่าวด้วย จากการศึกษาพบว่า องค์กรที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการบินพลเรือนของต่างประเทศ จัดตั้งขึ้นในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรในรูปแบบของหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ ซึ่งล้วนแต่เป็นไปตามสภาพและขนาดของกิจกรรมการบินพลเรือนของประเทศนั้น ๆ สำหรับประเทศไทย องค์กรที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการบินพลเรือนทั้งหมดของประเทศ จัดตั้งขึ้นในรูปแบบของหน่วยราชการ ซึ่งไม่มีกรอบอำนาจตามกฎหมายที่ชัดเจนในการกำกับดูแล และมีปัญหาในการปฏิบัติภารกิจกำกับดูแลกิจกรรมการบินพลเรือนของประเทศในหลายด้าน ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนากิจกรรมการบินพลเรือนของประเทศ จึงได้มีการศึกษาโดยการนำแต่ละรูปแบบขององค์กรกำกับดูแลการบินพลเรือนที่จัดตั้งขึ้นในต่างประเทศ มาพิจารณาถึงความสอดคล้องกับกิจกรรมการบินพลเรือนของประเทศไทย และผลดีผลเสียที่เกิดขึ้นในกรณีที่ประเทศไทยจัดตั้งองค์กรในแต่ละรูปแบบเหล่านั้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ การจัดตั้งองค์กรขึ้นทำหน้าที่กำกับดูแลการบินพลเรือนของประเทศไทยควรแยกองค์กรกำกับดูแลตามประเภทในการกำกับดูแล คือ ด้านความปลอดภัย ด้านเศรษฐกิจ และด้านการสอบสวนอุบัติเหตุของอากาศยาน โดยองค์กรที่ทำหน้าที่กำกับดูแลด้านความปลอดภัยและด้านการสอบสวนอุบัติเหตุของอากาศยานควรจัดตั้งขึ้นใหม่ในรูปแบบองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ แต่สำหรับองค์กรที่ทำหน้าที่กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจ ยังคงมีความเหมาะสมที่จะอยู่ในรูปแบบของหน่วยราชการดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน |
Other Abstract: | This thesis researches an appropriate format of a regulatory agency for civil aviations in Thailand. The agency should suit environments and specific characteristics of activities related to civil aviations. In addition, the agency should support future reorganisation of government agencies operating civil aviations and the government “Open Sky” policy. Furthermore, legal status of the agency should be clearly defined. The thesis found that foreign regulatory agencies have been established in various formats, such as government agencies and independent government organisations, depending on environments and the number of civil aviation activities happening in the country. In Thailand, the agency regulating all civil aviation activities has been established as a government agency which has not had clear legal powers in performing its regulating functions. The agency has also encountered problems on regulating civil aviation activities in several aspects. The thesis therefore studies how formats of researched foreign regulatory agencies suite civil aviation activities in Thailand. Advantages and disadvantages of each format have been identified. The thesis concludes that the regulatory agency for civil aviation in Thailand should be separate into agencies based on their regulating responsibilities which are safety, economy and aircraft accident investigation. The agencies responsible for safety and aircraft accident investigation should be established as independent government organisations while the format of the agency responsible for economy can remain as a government agency as it is today. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53131 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.310 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.310 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
piyawan_pr_front.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
piyawan_pr_ch1.pdf | 808.84 kB | Adobe PDF | View/Open | |
piyawan_pr_ch2.pdf | 3.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
piyawan_pr_ch3.pdf | 7.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
piyawan_pr_ch4.pdf | 5.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
piyawan_pr_ch5.pdf | 3.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
piyawan_pr_ch6.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
piyawan_pr_back.pdf | 7.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.