Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53254
Title: แร่หนักในตะกอนสึนามิ ปี พ.ศ. 2547 : การแปลผลรูปแบบ และทิศทางการเคลื่อนที่ เกาะพระทอง จังหวัดพังงา
Other Titles: Heavy minerals in 2004 Tsunami deposits : mode of transportation and flow direction interpretation at Phra Thong Island, Changwat Phang Nga
Authors: โชติมันต์ วัดเวียงคำ
Advisors: เครือวัลย์ จันทร์แก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สึนามิ -- ไทย -- พังงา
แร่หนัก -- ไทย -- พังงา
ตะกอน (ธรณีวิทยา) -- การวิเคราะห์
Tsunamis -- Thailand -- Phang Nga
Heavy minerals -- Thailand -- Phang Nga
Sediments (Geology) -- Analysis
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาแร่หนักในตะกอนสึนามิ ปี พ.ศ. 2547 เพื่อระบุว่าตะกอนที่สะสมเป็นการตกสะสมเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ตามพื้นผิว (bedload) หรือการแขวนลอย (suspension) และระบุทิศทางการเคลื่อนที่ได้ว่าเกิดจากกระแสไหลท่วม (inflow) หรือไหลกลับ (outflow) จะช่วยให้เราประเมินความหนาของชั้นตะกอนที่ตกจากคลื่นสึนามิจากแต่ละเหตุการณ์ได้ และช่วยให้การคำนวณความรุนแรงของคลื่นทำได้ง่ายขึ้น โดยโครงงานวิจัยนี้ทำการวิเคราะห์ชนิดและปริมาณของแร่หนักที่พบในตะกอนสึนามิ ปี พ.ศ. 2547 เพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างแร่หนักที่พบกับรูปแบบการเคลื่อนที่ของตะกอนสึนามิและทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นสึนามิ บริเวณเกาะพระทอง อาเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา โดยทำการเก็บตัวอย่างตะกอนสึนามิ ปี พ.ศ. 2547 ทั้งหมด 30 ตัวอย่าง จาก 17 จุดศึกษา แบ่งเป็นตะกอน suspension 11 ตัวอย่าง ตะกอน bedload 14 ตัวอย่าง และตะกอนที่ถูกเก็บรวมทั้งชั้น (bulk sample) 5 ตัวอย่าง ได้ทำการแยกขนาดตะกอนแบบแห้ง (dry sieving) เพื่อนำไปวิเคราะห์การกระจายตัวของขนาดตะกอน และวิเคราะห์เชิงคุณภาพและปริมาณของแร่หนักโดยใช้เครื่อง X-Ray Diffractometer ด้วยวิธี Powder XRD ผลการศึกษาพบว่าตะกอน bedload มีร้อยละโดยมวลของแร่หนักมากกว่าตะกอน suspension และแร่หนักที่พบทั้งในตะกอน bedload และ suspension ได้แก่ แร่สคอร์ล แร่รูไทล์ แร่อะนาเทส แร่อิลเมไนต์ แร่แมกนีไซต์ และแร่มัสโคไวต์ โดยในตะกอน bedload มีปริมาณแร่สคอร์ล และแร่อะนาเทส มากกว่า แต่มีปริมาณแร่มัสโคไวต์น้อยกว่าตะกอน suspension และตะกอน bedload ของกระแสไหลกลับ ซึ่งในการออกภาคสนามนั้นเราไม่สามารถแยกตะกอนที่มีปริมาณแร่หนักแตกต่างกันเพียง 0.5-1 % และตะกอนที่มีแร่มัสโคไวต์ในปริมาณที่แตกต่างกันไม่มากได้ ดังนั้นข้อมูลชนิดและปริมาณของแร่หนักในตะกอนสึนามิเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่สามารถใช้ในการระบุรูปแบบการเคลื่อนที่ของตะกอนสึนามิ และทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นสึนามิได้
Other Abstract: Heavy minerals in tsunami deposits may help in identifying mode of transportation of sediments (bedload or suspension load) and identifying flow direction (inflow or outflow), correctly identify bedload and suspension load thickness deposited from each event is important in calculating tsunami flow speed. In this study, quantify amount and identify types of heavy minerals found in bedload and suspension load sediments of 2004 tsunami deposits from Phra Thong Island, Changwat Phang Nga. We collected a total of 30 samples of 2004 tsunami from 17 locations along the transect, containing 11 suspension deposits samples, 14 bedload deposits samples and 5 bulk samples. The samples were analyzed for grain size distribution and X-Ray Diffractometer (XRD; using Powder XRD). The results show that bedload deposits have a greater heavy minerals content than suspension deposits and bedload deposit from the outflow. Schorl, rutile, anatase, ilmenite, magnesite, and muscovite are found in both of bedload and suspension deposits but ilmenite was not found in the bedload deposit of the outflow. Bedload deposits have more schorl and anatase but less muscovite than suspension deposits and the bedload deposit of the outflow. In field observation, it is not possible to distinguish bedload from suspension load based on their small difference in heavy minerals content (0.5-1%) and in amounts of muscovite. Thus heavy minerals assemblages and contents alone cannot effectively be used in identifying mode of transportation of 2004 tsunami deposits and flow direction at Phra Thong Island.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53254
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5532714623.pdf3.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.