Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53267
Title: หลักฐานทางชีวภาพที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลในอดีตบริเวณบ้านเกาะเตียบอำเภอประทิว จังหวัดชุมพร
Other Titles: Biological evidence of past sea-level change at Ban KoTiap, Pathio, Chumphon
Authors: พศิน ชิวขุนทด
Advisors: สุเมธ พันธุวงค์ราช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: phantuwongraj.s@gmail.com
Subjects: ธรณีสัณฐานวิทยา -- ไทย -- ชุมพร
ชายฝั่ง -- ไทย -- ชุมพร
ระดับน้ำ
Geomorphology -- Thailand -- Chumphon
Coasts -- Thailand -- Chumphon
Water levels
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากประวัติการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลในประเทศไทยและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่สมัยไพลสโตซีนตอนปลายจนถึงสมัยโฮโลซีนตอนกลางพบว่าระดับน้ำทะเลในอดีตอยู่ต่ำกว่าระดับปัจจุบัน 12 เมตร และได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วถึงระดับความสูงเฉลี่ยที่ 3.5 ถึง 4 เมตรจากระดับน้ำทะเลปัจจุบันในช่วงสมัยโฮโลซีนตอนกลางหรือเมื่อประมาณ 6,500 ปีที่แล้ว และจึงค่อยๆ ลดระดับความสูงลงมาที่ระดับปัจจุบัน พื้นที่บริเวณบ้านเกาะเตียบอำเภอประทิว จังหวัดชุมพร เป็นพื้นที่ที่มีสภาพธรณีสัณฐานวิทยาและหลักฐานทางชีวภาพที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลในอดีตจึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยนี้โดยได้ทำการสำรวจหาหลักฐานทางชีวภาพของการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลและวิเคราะห์หาระดับความสูงของน้ำทะเลในอดีตจากหลักฐานทางชีวภาพที่เป็นร่องรอยปรากฏจากการกระทำของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่เรียกว่าการกัดกร่อนทางชีวภาพ พื้นที่ศึกษาครอบคลุมพื้นที่บริเวณแนวชายฝั่งทะเลของบ้านเกาะเตียบอำเภอประทิว จังหวัดชุมพร โดยมีขั้นตอนการศึกษาดังต่อไปนี้ ศึกษาลักษณะทางธรณีสัณฐานและชนิดหินจากนั้นตรวจสอบลักษณะการกัดกร่อนทางชีวภาพที่เกิดขึ้น และทำการวัดระดับความสูงของหลักฐานทางชีวภาพจากระดับน้ำทะเล ผลการศึกษาจากแผนที่ธรณีวิทยาหินบริเวณพื้นที่ศึกษาเป็นหินปูนในกลุ่มหินราชบุรียุคเพอร์เมียนประกอบด้วยหินปูน หินปูนเนื้อโดโลไมต์และมีหินเชิร์ตแทรกเป็นก้อนและเป็นชั้นและจากการสำรวจหินโผล่บริเวณจุดศึกษาประกอบไปด้วย หินปูนเนื้อโดโลไมต์และมีหินเชิร์ตเป็นกระเปาะ โดยร่องรอยการกัดกร่อนทางชีวภาพจะพบในบริเวณที่เป็นหินปูน หินปูนเนื้อโดโลไมต์ และหินทรายส่วนบริเวณที่เป็นหินเชิร์ตไม่พบร่องรอยของการกัดกร่อนทางชีวภาพ จากบริเวณเขาหินปูนทั้งสามจุดศึกษาพบหลักฐานทางธรณีวิทยาที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลในอดีตคือร่องรอยของการกัดกร่อนทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตจำพวกหอยสองฝาและแนวชั้นสะสมตัวของฟอสซิลหอยนางรม โดยจุดศึกษาที่ 1 และ 2พบร่องรอยการกัดกร่อนทางชีวภาพที่ระดับความสูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลปัจจุบันจนถึง ประมาณ 2.1 และ 1.8 เมตรสูงกว่าระดับปัจจุบันตามลำดับ และในจุดศึกษาที่ 3 ยังพบแนวชั้นสะสมตัวของฟอสซิลหอยนางรมอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปัจจุบัน 1.82 เมตร
Other Abstract: The History of sea-level changes in Thailand and Southeast Asia since the late Pleistocene to early Holocene showed that the sea-level was lower at 12 meters under the present mean sea-level (MSL). Subsequently, it was increased rapidly until reach the highstand level at about 3.5 to 4 meters higher from present MSL during the mid-Holocene. Finally, it was gradually decreased until stay at the present MSL level. Ban Ko Tiap, the rocky coast area with pocket beach, is situated in Amphoe Pathio, Changwat Chumphon. The study area were exhibited the geomorphological and biological evidences of the past sea-level change including; sea notch, bioerosion and marine fossils. The aim of study is to examine the characteristic of bioerosion and measure the height of biological evidence from the present MSL. In the field, we collected the data about types of rock, biological evidences, and measure the height of biological evidence. Result from field study showed that the rock at Ban Ko Tiap area are mainly consists of limestone and dolomitic limestone with chert nodule. Biological evidences such as bioerosion and layer of marine fossils were found only at the surface of limestone, dolomitic limestone and sandstone. Some part of the rock that covered with travertine, the bioerosion also found at the surface but some area the discontinuity of bioerosion pattern was exhibited that resulted from travertine was broken. Size of boring were ranging from 0.5 – 4.5 cm in diameter, and maximum depth of boring were measured at 5 cm. The level of biological evidences from this study were found to high about 2.1, 1.8, and 1.82 meters above the present MSL at station 1, 2, and 3, respectively.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53267
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5532727823.pdf4.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.