Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5376
Title: | การออกแบบและสร้างอิมพัลส์โวลเตจดิไวเดอร์อ้างอิง ขนาด 300 กิโลโวลต์ |
Other Titles: | Design and construction of a 300 kV reference impulse voltage divider |
Authors: | อรรณพ ลิ้มสีมารัตน์ |
Advisors: | คมสัน เพ็ชรรักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Komson.P@Chula.ac.th |
Subjects: | แรงดันอิมพัลส์ โวลเตจดิไวเดอร์ |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เสนอผลการออกแบบและสร้างอิมพัลส์โวลเตจดิไวเดอร์อ้างอิงขนาด 300 kV แบบความต้านทาน ภาคแรงสูงของโวลเตจดิไวเดอร์ ประกอบด้วยความต้านทานขนาดประมาณ 7 kโอห์ม ทำจากลวด Ni-Cr เคลือบฉนวน 2 เส้นพันอยู่บนท่ออะคริลิคใสแล้วนำไปใส่ในท่อพีวีซีอีกชั้นหนึ่ง เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากสภาวะแวดล้อมภายนอก ส่วนภาคแรงต่ำของโวลเตจดิไวเดอร์ประกอบด้วยความต้านทานขนาดประมาณ 7 โอห์ม ทำจากลวด Ni-Cr เช่นเดียวกัน โดยทำเป็นแฉกรูปดาวบนแผ่นปริ๊นเซอร์กิตบอร์ด และใส่อยู่ในกระบอกทองเหลืองเพื่อลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า สายนำแรงสูงทำจากท่ออลูมิเนียมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 mm. ยาวประมาณ 1.5 m และความต้านทานหน่วงมีค่าประมาณ 280 โอห์ม ทำจากลวด Ni-Cr เคลือบฉนวนพันในลักษณะเดียวกันกับความต้านทานภาคแรงสูง และตัวลดทอนทำจากความต้านทานแบบฟิล์มโลหะมีค่าสเกลแฟกเตอร์เท่ากับ 12.3 จากการคำนวณค่าสเกลแฟกเตอร์ของโวลเตจดิไวเดอร์ รวมกับตัวลดทอนมีค่าประมาณ 13807 คุณสมบัติของโวลเตจดิไวเดอร์หาได้จากการทดสอบตามมาตรฐาน IEC 60-2 :1994 ได้แก่ ผลตอบสนองรูปขั้น การหาค่าสเกลแฟกเตอร์ที่กำหนด พฤติกรรมพลศาสตร์ ความเป็นเชิงเส้นและความคงทน ต่อแรงดันอิมพัลส์ที่แรงดัน 110% ของแรงดันพิกัด โดยวัดเปรียบเทียบกับระบบวัดอ้างอิง ผลการทดสอบที่ได้แสดงให้เห็นว่า อิมพัลส์โวลเตจดิไวเดอร์ที่สร้างขึ้น มีคุณสมบัติตามที่มาตรฐานกำหนด |
Other Abstract: | Reports the design and construction of a 300 kV reference impulse voltage divider, a resistive type. The high voltage part, which has a resistance (RH) of about 7 k omega, is constructed by using 2 insulated Ni-Cr wires wound on an acrylic tube in a special manner. This high voltage part is installed in a 200 mm. PVC tube housing to avoid environmental effects. The low voltage part, which has a resistance (RL) of about 7 omega, is also constructed by using Ni-Cr wires. The construction is however differ from the high voltage part as Ni-Cr wires were arranged in a star configuration on a printed circuit board. The low voltage part is installed in a brass housing the reduce to electromagnetic interference effect. The high voltage lead of the voltage divider is built by using a 50 mm. diameter aluminum tube. The damping resistor, which has a resistance (RD) of about 280 omega, is built in the same manner as the high voltage part. Attenuator, made of metal film resistor has a scale factor about 12.3. By calculation, the scale factor of a voltage divider is about 13807, included attenuator. The impulse voltage divider was characterized in accordance with IEC 60-2:1994, which are step response measurement, scale factor, dynamic behavior, linearity and withstand voltage tests at 110% of rated voltage. The comparative measurement between reference universal voltage divider and the voltage divider was carried out. The test results show that the impulse voltage divider characteristics meet the requirements of IEC 60-2:1994 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมไฟฟ้า |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5376 |
ISBN: | 9743327207 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.