Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54886
Title: ประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ จังหวัดสุรินทร์: การประกอบสร้างและบทบาทของประเพณีประดิษฐ์
Other Titles: SANDONTA ANCESTOR WORSHIP TRADITION OF CHANGWAT SURIN: THE CONSTRUCTION OF AN INVENTED TRADITION AND ITS ROLE
Authors: สารภี ขาวดี
Advisors: สุกัญญา สุจฉายา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Sukanya.Suj@Chula.ac.th,psukanya@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานบุญแซนโฎนตา ศึกษาการสืบทอดและการดำรงอยู่ของงานบุญแซนโฎนตาในพื้นที่ดั้งเดิม ตลอดจนศึกษาแนวคิดการประกอบสร้างประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษของสุรินทร์ ในฐานะประเพณีประดิษฐ์เพื่อตอบสนองบริบทสังคมปัจจุบัน รวมถึงบทบาทของประเพณีประดิษฐ์ที่มีต่อชาวสุรินทร์ ทั้งนี้ผู้วิจัยศึกษาจากเอกสารและเก็บข้อมูลภาคสนาม 2 พื้นที่ ได้แก่ ชุมชนชาวไทยเชื้อสายเขมร หมู่บ้านปรือเกียน ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ และงาน “ประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ” ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์เป็นผู้จัดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2555-2559 ผลการศึกษาพบว่า งานบุญแซนโฎนตาถือกำเนิดจากความเชื่อของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมรที่ว่า ในรอบหนึ่งปีเมื่อถึง วันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 เทวดาหรือพญายมจะอนุญาตให้วิญญาณบรรพบุรุษได้เดินทางมาเยี่ยมโลกมนุษย์ครั้งหนึ่งเพื่อมารับส่วนบุญที่ลูกหลานทำไปให้ โดยมีพิธีเซ่นไหว้ต้อนรับเข้าบ้านอย่างยิ่งใหญ่ งานบุญแซนโฎนตาในหมู่บ้านปรือเกียนใช้เวลาประกอบกิจกรรมต่าง ๆ รวม 17 วัน เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ถึง ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 ตลอดงานบุญไม่ได้มีเฉพาะพิธีเกี่ยวกับผีบรรพบุรุษ แต่ยังมีกิจกรรมและพิธีกรรมที่สัมพันธ์กับพุทธศาสนา และญาติผู้ใหญ่ที่ยังมีชีวิต พบกิจกรรมทั้งสิ้น 9 กิจกรรม ได้แก่ วันเตรียมงาน พิธีโซดดารเบ็ณฑ์ตูจ พิธีกันซ็อง พิธีฉลองซ็อง พิธีแซนโฎนตา พิธีจูนโฎนตา พิธีแห่-โซด-จะกันเจอโฎนตา พิธีโซดดารเบ็ณฑ์ทม และพิธีจูนโฎนตาหลบสรุก ซึ่งทุกกิจกรรมนี้ชาวชุมชนเขมรหมู่บ้านปรือเกียนได้สืบทอดตามรูปแบบดั้งเดิม แต่มีบางส่วนที่ปรับประยุกต์เพื่อ ความเหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ที่เกิดขึ้นใหม่ มีลักษณะการผลิตซ้ำงานบุญประเพณีและนำเสนอใหม่ โดยมีแนวคิดเบื้องหลังการออกแบบประเพณี 3 ประการ ประการแรก การเป็นพื้นที่อนุรักษ์แบบปรับประยุกต์งานบุญดั้งเดิมของจังหวัด เห็นได้จากการตั้งชื่อเพื่อสื่อความใหม่ภายใต้วิธีคิดแบบเก่า โดยใช้คำว่า “ประเพณี” แทนคำว่า “บุญ” เพื่อทำให้มีฐานะเทียบเท่าเทศกาลทางวัฒนธรรมที่มีทั้งพิธีศักดิ์สิทธิ์ กิจกรรมความรู้ กิจกรรมบันเทิง และมีการสืบทอดพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์โดยเลือกเฉพาะ “หัวใจ” ของงานบุญที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ พุทธศาสนา และดวงวิญญาณ ได้แก่ “พิธีจูน แซน โซด จะ” มาปรับประยุกต์ให้เข้ากับบริบทที่เปลี่ยนไป ประการที่สอง การเป็นพื้นที่หลอมรวมชาวสุรินทร์ ภาครัฐเล็งเห็นว่าชาวเขมร ส่วย ลาว จีน ในจังหวัด ต่างมีพิธีกรรมที่แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษของกลุ่ม และมีพระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวางเป็น บรรพบุรุษร่วมและศูนย์รวมใจ จึงชูจุดร่วม 2 ข้อนี้ ดึงชาวสุรินทร์เข้ามาร่วมขับเคลื่อนประเพณี และช่วยสลาย “ความเป็นอื่น” ที่ว่า แซนโฎนตาเป็นพิธีเฉพาะกลุ่มเขมรให้หมดไป ประการที่สาม การเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นแนวคิดที่ทำให้เกิด การคัดเลือกอัตลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์จากคำขวัญประจำจังหวัดมานำเสนอผ่าน 4 กิจกรรมหลัก คือพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ขบวนแห่ รอบเมือง การละเล่นพื้นบ้านและงานมหรสพ และนิทรรศการมีชีวิต ด้านบทบาทของประเพณีที่มีต่อชาวสุรินทร์ในปัจจุบัน พบ 4 ประการ ได้แก่ บทบาทในการรวมกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสุรินทร์เป็นหนึ่งเดียว บทบาทในการให้ความบันเทิงแก่ผู้ร่วมงาน บทบาทในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประจำเดือนสิบ ของจังหวัดสุรินทร์ และบทบาทในการเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมและกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ด้วยเหตุนี้ ประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษจึงเป็นประเพณีประดิษฐ์ที่เกิดจากการคัดสรรวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่มซึ่งภาครัฐและภาคประชาชนเห็นว่ามีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ มาสืบสานแบบสร้างสรรค์ โดยออกแบบให้กลายเป็นประเพณีสาธารณะเพื่อรองรับความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัด และรองรับบริบทของการท่องเที่ยวไปพร้อมกัน
Other Abstract: The main objective of the research was to collect information on the Sandonta Rite, to study its spread and survival, and to study the concepts of its construction in Surin Province as an invented tradition in response to the current social contexts, including the impacts of the tradition on the Surin people. For the methodology, the researcher has based her study on existing documents, as well as data collection in two locales: Khmer-Thai Preu Kian Village in Muang District, Surin Province, and Sandonta ancestor worship rite, organized by Surin Provincial Administrative Organization (Surin PAO) from 2012 to 2016. Results indicate that Sandonta Rite originated from Khmer-Thai villagers’ belief that every year, on the first day of the waning moon on the tenth lunar month, an angel or demon would allow their ancestors’ spirits to return to earth once, especially in the grand house reception, to receive the merits made by their descendants. This rite lasts 17 days in total, from the 15th day of the waxing moon on the tenth lunar month to a month later. It concerns not only ancestral spirit rites, but also activities about Buddhism and older living relatives. The current study found nine related activities: Preparation Day, Soddar-bentut rite, Kansong rite, Chalongsong rite, Sandonta rite, Jundonta rite, Hae-Sod-Ja Kanjerdonta rite, Soddarbenthom rite and Jundontalobsaruk rite, most of which were thought to be of ancient origin despite the adaptation of a few. Regarding the Sandonta Ancestor worship tradition organized by Surin PAO, this old religious ceremony has only been established recently (2007) with a new form of presentation. The rationale behind the new presentation can be seen in three dimensions. First, it is a way of preserving an old tradition in a modern look. The replacement of the word ‘bun’ (religious ceremony) with ‘praphaynee’ (tradition) clearly reflects this. With such a substitution, this rite has attained the status of a tradition that contains the sacred, the educational and the entertaining. It also transmits, from one generation to another, a holy ritual by the selection and adaptation to suit the changing world, of only the essential elements, i.e. matters of the spirit, humanity, Buddhism, and a blend of all three: Sandonta rite, Jundonta rite, Soddar rite and Ja kanjerdonta rite respectively. Second, this Sandonta Ancestor worship tradition, as conceived by the Government, would be a cultural melting pot for the various ethnic groups of Surin, whether it be the Khmer, the Kui, the Lao or the Chinese, to pay respect to their ancestors. Therefore, with Phraya Surin Phakdi Si Narong Changwang as their common core ancestor, the ‘otherness’ idea of these various tribes, i.e. that this Sandonta rite belongs exclusively to the Khmer, would be dispelled. Third, this tradition is a means to promote Surin’s cultural tourism. Thus, the presentation of the province’s identity from Surin provincial slogan is made through four main activities: religious ceremonies, around-the-city processions, folk performance/entertainments, and live exhibitions (spectator involvement) (Nithassakan mee chivit). Concerning the roles of Sandonta rite for the people of Surin at the present time, the study has observed four dimensions: serving as a means to amalgamate different ethnic groups in Surin, as a source of entertainment for rite participants, as a destination of cultural tourism in the tenth lunar month, and as a cultural education platform that is also a socialization process. Hence, it can be said that Sandonta is an invented tradition originating from the selection of specific cultural traits. Given this value, the government and people consider that it should be conserved and transmitted in a creative form as a public tradition to accommodate ethnic diversities in Surin and, simultaneously, the context of tourism.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54886
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.699
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.699
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5580516522.pdf21.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.