Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54985
Title: การนำหลักสัญญาที่มีผลเป็นการให้ความคุ้มครองบุคคลภายนอกมาปรับใช้ในหลักกฎหมายไทย
Other Titles: AN APPLICATION OF THE CONTRACT WITH PROTECTIVE EFFECTS TOWARD THIRD PARTIES RULE TO THAI LAW
Authors: กริช คมกริช
Advisors: อังคณาวดี ปิ่นแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Angkanawadee.S@Chula.ac.th,angkanawadee@yahoo.com,angkanawadee@yahoo.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: หลักสัญญาที่มีผลเป็นการให้ความคุ้มครองบุคคลภายนอก เป็นหลักสัญญาที่มุ่งคุ้มครองบุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายจากสัญญา อันบุคคลภายนอกสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากคู่สัญญาได้โดยตรงแม้จะไม่ได้มีนิติสัมพันธ์กับคู่สัญญา เมื่อพิจารณาหลักกฎหมายสัญญาภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยมีสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตามมาตรา 374 ที่มีความคล้ายคลึงหลักสัญญาที่มีผลเป็นการให้ความคุ้มครองบุคคลภายนอก อย่างไรก็ตามหลักกฎหมายดังกล่าวเป็นหลักยกเว้นของหลัก Privity of Contract จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด ดังนี้แล้วจึงทำให้ไม่สามารถนำหลักกฎหมายสัญญาดังกล่าวไปปรับใช้กับกรณีการเยียวยาความเสียหายของบุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายจากการไม่ปฏิบัติชำระหนี้ตามสัญญาหรือการปฏิบัติชำระหนี้บกพร่อง อันจะทำให้บุคคลภายนอกดังกล่าวต้องฟ้องร้องโดยอาศัยหลักกฎหมายละเมิดซึ่งก่อภาระการพิสูจน์ที่มากเกินสมควรต่อผู้เสียหาย และยิ่งไปกว่านั้นในกรณีที่เป็นความเสียหายที่ไม่มีความเสียหายทางกายภาพเกิดขึ้นบุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายจะไม่ได้รับการคุ้มครองภายใต้หลักกฎหมายละเมิดอีกด้วย ในประเทศอังกฤษภายหลังจากมีประกาศใช้ The Contracts (Rights of Thirds Parties) Act 1999 ทำให้บุคคลภายนอกสามารถมีสิทธิในสัญญาได้ไม่ว่าจะเป็นการบังคับชำระหนี้และการฟ้องเรียกเสียหายจากคู่สัญญาโดยตรงซึ่งเป็นการคุ้มครองบุคคลภายนอกมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม และประเทศเยอรมนีศาลได้สร้างหลักการทางสัญญาขึ้นให้โดยคู่สัญญาหน้าที่ในการปฏิบัติตามสัญญาด้วยความระมัดระวังอีกประการหนึ่ง โดยใช้มาตรา 328 ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันเป็นฐานสำหรับการคุ้มครองบุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหาย โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอให้นำหลักสัญญาที่มีผลเป็นการให้ความคุ้มครองบุคคลภายนอกมาปรับใช้กับหลักกฎหมายของไทย โดยกำหนดลักษณะสัญญาที่มีผลเป็นการคุ้มครองบุคคลภายนอก ขอบเขตของสัญญา ลักษณะของบุคคลภายนอก และการเกิดขึ้นของสิทธิของบุคคลภายนอกตามหลักสัญญาดังกล่าวในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย เพื่อเป็นการลดปัญหาภาระการพิสูจน์ของบุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายสำหรับการฟ้องร้องตามหลักกฎหมายละเมิด ตลอดจนเป็นการอุดช่องว่างสำหรับความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก
Other Abstract: The contracts with protective effects toward third parties rule is the contract for protection of the third party that should be able to sue on a contract made with protective effects toward them where it is the intention of the contracting parties that he be given enforceable rights. Considering under Thai Commercial and Civil Code section 374, it is similar to protection for a third party contracts. However, it is the exception of Privity of Contract which must interpret stringently. Therefore, section 374 could not apply to remedy the damage case of third parties whom are damaged by misappropriation according to the contract or default to pay an obligation whereas only parties to contract should be able to sue by a tort law which causes burden of proof to a damaged person unreasonably. Moreover, in case of damage that is not physical injury, a damaged person will not be protected under a tort law. In England, after the promulgation of The Contracts (Rights of Thirds Parties) Act 1999 made third parties had the rights in the contracts whether it be compulsory performance or prosecution a party to the contract directly which protective effects toward third parties more than in the past. In Germany, court had established the rule which a party to the contract had to abide by the contract with carefulness. In section 328 of German Civil Code is the foundation to protect third parties who are injured. This thesis offers to apply the above rule to Thai law by determining the contract characteristics to protective effects toward third parties, the scope of contract, third parties characteristics and the occurrence of third parties rights according to that contract to decrease the burden of proof of third parties who are injured for prosecution by tort laws as well as breach of economical damage problematic.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54985
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.470
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.470
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5685952434.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.