Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54988
Title: ปัญหาการชดใช้เยียวยาความเสียหายอันเกิดจากน้ำมันรั่วไหลในประเทศไทย
Other Titles: Problems on Compensation Relating to Damage Caused by Oil Spill in Thailand
Authors: ทวิวงษ์ แสงพงษ์ชัย
Advisors: อังคณาวดี ปิ่นแก้ว
ปารีณา ศรีวนิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Angkanawadee.S@Chula.ac.th,angkanawadee@yahoo.com,angkanawadee@yahoo.com
Pareena.S@Chula.ac.th
Subjects: น้ำมันรั่วไหล
Oil spills
Restitution
การชดใช้ค่าเสียหาย
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความเสียหายอันเกิดจากน้ำมันรั่วไหล เป็นความเสียหายที่มีลักษณะพิเศษเนื่องจากมีความเสียหายเกิดแก่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยตรง แต่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อมทำให้มนุษย์ได้รับความเสียหาย อีกทั้งยังมีมูลค่าความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมที่ยากจะประเมินค่าได้ ความเสียหายอันเกิดจากน้ำมันรั่วไหลจึงมีจำนวนมหาศาลแตกต่างจากความเสียหายในกรณีทั่วๆ ไป แต่ประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการเยียวยาความเสียหายอันเกิดจากน้ำมันรั่วโดยตรง ยังคงต้องอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะละเมิด และพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 อันเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาปรับใช้แก่กรณี ซึ่งยังมีข้อจำกัดในการพิสูจน์ความรับผิดและการพิสูจน์ความเสียหายที่ไม่เหมาะสมกับสภาพความเสียหาย ทำให้ผู้เสียหายไม่ได้รับการชดใช้เยียวยาอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ในร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางแพ่งต่อความเสียหายจากมลพิษน้ำมันอันเกิดจากเรือ พ.ศ. ... ก็ยังมีบทบัญญัติในการกำหนดความรับผิดบางประการที่ไม่เหมาะสม ผู้วิจัยจึงเห็นว่า ควรมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ทางกฎหมายเพื่อการชดใช้เยียวยาความเสียหายจากน้ำมันรั่วเป็นกฎหมายเฉพาะ โดยพิจารณาถึงการกำหนดตัวบุคคลผู้ต้องรับผิดที่กว้างขึ้น และนำหลักความรับผิดโดยเคร่งครัดมาใช้ในการกำหนดความรับผิด รวมทั้งควรมีการกำหนดค่าปรับตามปริมาณของน้ำมันที่มีการรั่วไหลและนำหลักในการกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษมาใช้ เพื่อให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงความรับผิดทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น อีกทั้งเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ก่อมลพิษเข้ามาประนีประนอมในคดี และกระตุ้นให้ใช้ความระมัดระวังเพื่อป้องกันมิให้มีความเสียหายเกิดขึ้นด้วย นอกจากนี้ กลุ่มบุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากน้ำมันรั่วไหลนั้นมีเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องอาศัยการระงับข้อพิพาทที่เหมาะสมและสามารถทำให้ผู้เสียหายได้รับการเยียวยาอย่างเท่าเทียม ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าควรนำรูปแบบการระงับข้อพิพาทโดยการทำข้อตกลงในคดีแบบกลุ่ม (settlement program) มาใช้ในการเยียวยาให้แก่ผู้เสียหาย เนื่องจากจะทำให้สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ในการเยียวยาที่ยืดหยุ่นกว่าการดำเนินคดีแบบปกติและทำให้ผู้เสียหายได้รับการชดใช้เยียวยาอย่างเท่าเทียม
Other Abstract: Damage caused by oil spill is considered a particular type of damage due to the fact that the damage has a direct impact on natural resources but the consequence also has an effect on human life directly and indirectly. The damage is significantly high and different from other types of damage. However, specific law in connection with the compensation for the damage caused by oil spill has not yet been established in Thailand. The general laws in the Law of Tort under the Civil and Commercial Code and the Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act, B.E. 2535 will apply in the event that any damage occurs. However, is not appropriate considering the nature of the damage which results in the inadequate compensation. In addition, the provisions in the Draft Civil Liability for Oil Pollution Damage Act B.E. … in relation to liabilities are not appropriate. I, therefore, trust that the law with respect to the compensation for oil spill damage be improved by establishing a specific statutory law which can compensate the damage from oil spill in which broadening the definition of the person causing the damage is considered and strict liability shall apply when proving the claim. The polluter shall be punished by a fine considering the amount of the oil spilled. Punitive damage should also apply to encourage the person polluting to compromise when it comes to lawsuit and to promote awareness of the damage occurred. In addition, a great number of people suffering from the damage caused by oil spill are in need of proper dispute resolution which can bring them equivalent compensation. In this regard, I believe that settlement program should be used in the order to compensate the person suffering from the damage due to its flexibility and equivalence.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54988
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.489
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.489
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5685975934.pdf4.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.