Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54989
Title: ปัญหาทางกฎหมายของการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ก่อการรัฐประหารในประเทศไทย
Other Titles: LEGEL PROBLEMS OF AMNESTY FOR THE COUP D'ETAT IN THAILAND
Authors: ธนพัฒน์ เครืออยู่
Advisors: เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Kriengkrai.C@Chula.ac.th,Kriengkrai.C@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ประเทศไทยมีปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่จัดวางโครงสร้างและรูปแบบการใช้อำนาจในการปกครองประเทศมาตั้งแต่พ.ศ.2475 แต่ในความเป็นจริงนั้น ประเทศไทยกลับมีการรัฐประหาร (Coup d’Etat) ล้มล้างการปกครองและยกเลิกรัฐธรรมนูญอยู่บ่อยครั้ง โดยการก่อการรัฐประหารเป็นวิธีการที่ได้มาซึ่งอำนาจปกครองโดยกระบวนการที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และวิธีดังกล่าวถือว่าเป็นความผิดต่อกฎหมาย เมื่อการรัฐประหารสำเร็จมักจะมีการตรากฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ก่อการรัฐประหาร เพื่อเป็นการลบล้างความผิดทำให้ผู้ก่อการรัฐประหาร รวมทั้งมีการรับรองสถานะและตรากฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษแก่ผู้ก่อการรัฐประหาร โดยการใช้อำนาจพิเศษนี้ไม่เป็นไปตามหลักนิติรัฐ จากการศึกษาพบว่า การนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ก่อการรัฐประหารในประเทศไทยส่งผลต่อระบบกฎหมายและระบบการเมืองตามหลักการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ก่อให้เกิดปัญหาต่อการบังคับใช้กฎหมาย การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย การนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ก่อการรัฐประหารครั้งสุดท้ายเมื่อปีพ.ศ.2557 อยู่ในรูปแบบบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งนอกจากจะมีการนิรโทษกรรมให้การก่อการรัฐประหารแล้ว ยังมีบทบัญญัติที่เสมือนเป็นการคุ้มกันการใช้อำนาจของผู้ก่อการรัฐประหารในอนาคตไว้ล่วงหน้า และมีบทบัญญัติมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 บัญญัติให้ผู้ก่อการรัฐประหารสามารถใช้อำนาจปกครองประเทศได้แบบเบ็ดเสร็จทั้งอำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ โดยไม่สามารถตรวจสอบได้ซึ่งเป็นการขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ อีกทั้งบางกรณีเป็นการใช้อำนาจโดยละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ดังนั้น การนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ก่อการรัฐประหารไว้ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญจึงเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์และแนวคิดหลักการพื้นฐานในการปกครองระบอบประชาธิปไตย หากมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรยกเลิกบทบัญญัติที่เป็นการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ก่อการรัฐประหารและบทบัญญัติที่รับรองสถานะและการสืบทอดการใช้อำนาจของผู้ก่อการรัฐประหารอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดออกจากรัฐธรรมนูญ และการใช้อำนาจของผู้ก่อการรัฐประหารต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่สามารถควบคุมตรวจสอบได้ตามหลักนิติรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและคงไว้ซึ่งหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
Other Abstract: Democracy is a political system that every person in the country is the owner of sovereignty. This type of political system was established and use in Thailand since 2475 B.C. with constitution as the highest law of the country. However, after 2475 B.C Thailand has always fallen under coup d’etat which abolish constitutions. A coup d’etat is an unconstitutional way to get the sovereignty and this kind of process always illegal. After the coup, amnesty law is always published to make exonerates to the junta. Moreover, the junta itself always enacts a set of law that will legality their status and give a special power to them. This kind of powers always unconstitutional and not according to the rule of legal state. By the study, amnesty for coups in Thailand has a lot of effects in legal and political system. On one hand, It’s make many problems to the law enforcement process and to the protection of rights and liberty of Thai citizen. In the other hand, it’s disturbing the process of developing democracy in the country.After the last coup in the 2557 B.C. Amnesty law was enacted in the form of the Constitution of the Kingdom of Thailand (Interim) 257 B.C. to exonerate any action of the coup from past to future. And under article 44 of the constitution, the junta always exercise absolute powers of them self without check and balance process which is against a rule of separation of power. In some case this power was used to violate the right and freedom of citizens. So, a lot of evidences show that, the amnesty law for the coup is always violating the principle of democracy. If the new constitution was written in the future. It should be abolished all of amnesty law that supports the coup from the constitution. And the all of the junta action must be controlled and monitored under the rule of legal state to protect the right and liberty of citizens as same as to protect the principal of democracy.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54989
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.430
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.430
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5685976534.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.