Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55117
Title: ความสัมพันธ์ของความคลั่งไคล้ศิลปิน การเห็นคุณค่าในตนเอง การเผชิญปัญหาและความสุขเชิงอัตวิสัยของแฟนคลับเยาวชน
Other Titles: RELATIONSHIP AMONG CELEBRITY WORSHIP,SELF-ESTEEM, COPING, AND SUBJECTIVE WELL-BEING OF YOUTH FANS
Authors: ศิรินทร์ ตันติเมธ
Advisors: อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Arunya.T@Chula.ac.th,atuicomepee@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความคลั่งไคล้ศิลปิน การเห็นคุณค่าในตนเอง การเผชิญปัญหา และความสุขเชิงอัตวิสัยของแฟนคลับเยาวชน กลุ่มตัวอย่าง เป็นแฟนคลับเยาวชนไทย จำนวน 418 คน ที่มีอายุระหว่าง 18-25 ปี อายุเฉลี่ย 20.97 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 2.30) ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดความคลั่งไคล้ศิลปิน มาตรวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง มาตรวัดการเผชิญปัญหา และ มาตรวัดความสุขเชิงอัตวิสัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคลั่งไคล้ศิลปินรูปแบบการชื่นชอบเพื่อความบันเทิงและสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขเชิงอัตวิสัยของแฟนคลับเยาวชนไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .08, p < .05) การเห็นคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขเชิงอัตวิสัยของแฟนคลับเยาวชนไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (r = .77, p < .01) การเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหา การแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือ และการตั้งสติจัดการกับปัญหาการเผชิญปัญหา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขเชิงอัตวิสัยของแฟนคลับเยาวชนไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .62, p < .01; r = .19, p < .05; และ r = .28, p < .01 ตามลำดับ) ส่วนการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนีปัญหา และแบบจมดิ่งกับอารมณ์ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความสุขเชิงอัตวิสัยของแฟนคลับเยาวชนไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.34, p < .01 และ r = -.61, p < .01 ตามลำดับ) 2) การเห็นคุณค่าในตนเอง การเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหา การแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือ การจมดิ่งกับอารมณ์ สามารถร่วมกันทำนายความสุขเชิงอัตวิสัยของเยาวชนได้ และอธิบายความแปรปรวนของความสุขเชิงอัตวิสัยได้ร้อยละ 67 (p < .05) โดยตัวแปรที่สามารถทำนายความสุขเชิงอัตวิสัยได้มากที่สุดคือ การเห็นคุณค่าในตนเอง (β = .77, p < .001) รองลงมาได้แก่ การเผชิญปัญหาแบบจมดิ่งกับอารมณ์ (β = -.26, p < .001) การเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหา (β = .15, p < .001) และ การเผชิญปัญหาแบบแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือ (β = .10, p < .01)
Other Abstract: This present study aimed to examine the relationship among celebrity worship, self-esteem, coping and subjective well-being of fanclub youth, Participants were 418 fanclub youth with age range from 18-25 (mean age = 20.97, SD = 2.30) years old who live in Bangkok metropolis and the adjacent areas. Instruments were Celebrity Worship Scale, Self-Esteem Scale, Coping Scale and Subjective Well-Being Scale. Pearson’s product-moment correlation and multiple regression were used to analyse the data. Finding reveal: 1) Entertainment- social celebrity worship is significantly and positively correlated with subjective well-being of youth fans (r = .08, p < .05). Self-esteem is significantly and positively correlated with subjective well-being of youth fans (r = .77, p < .01). Positive coping including Problen engagement coping, support seeking coping and mindful planning coping are significantly positively correlated with subjective well-being of youth fans (r = .62, p < .01; r = .19, p < .05; and r = .28, p < .01 respectively). Negative coping including avoidance coping and emotional submission coping are significantly and negatively correlated with subjective well-being of youth fans (r = -.34, p < .01 and r = -.61, p < .01 respectively). 2) Self-esteem, Problen engagement coping, support seeking coping and emotional submission coping and account for 67 percent of the total of variance of subjective well-being of youth fans (p < .05). The most significant predictors of subjective well-being is self-esteem (β = .77, p < .001) followed by emotional submission coping (β = -.26, p < .001) problen engagement coping (β = .15, p < .001) and support seeking coping (β = .10, p < .01).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55117
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.293
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.293
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777627338.pdf3.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.