Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55165
Title: การรับรองและคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ : ศึกษากรณีการกำหนดสถานะของสภาพบุคคล
Other Titles: GUARANTEE AND PROTECTION OF HUMAN DIGNITY : A STUDY ON PERSONALITY STATUS DETERMINATION
Authors: นิตยา จงแสง
Advisors: เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Kriengkrai.C@Chula.ac.th,Kriengkrai.C@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นหลักการที่มีค่าสูงสุดของรัฐธรรมนูญอันเป็นรากฐานและสารัตถะของสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์ทุกคนมาตั้งแต่กำเนิดไม่มีใครสามารถพรากจากไปได้ สำหรับประเทศไทยปรากฏการรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นคุณค่าพื้นฐานที่การใช้อำนาจรัฐจะก้าวล่วงละเมิดไม่ได้ ตลอดจนเป็นมาตรฐานในการวินิจฉัยเชิงคุณค่าในการกระทำอื่นๆ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายนับเป็นการเพิ่มหลักประกันไม่ให้มีการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานดังกล่าวที่ให้การรับรองและคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แก่ผู้ที่มีสภาพบุคคลและผู้ไม่มีสภาพบุคคลได้แก่ทารกในครรภ์มารดาและผู้ที่สิ้นสภาพบุคคลเนื่องจากการตาย อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันพบว่ามีการกระทำที่ไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดการละเมิดต่อผู้ที่ไม่มีชิวิตปรากฏให้เห็นอยู่บ่อยครั้งในสังคมไทย และกรณีการทำแท้งนั้นถือได้ว่าทารกในครรภ์มารดาควรที่จะได้รับการรับรองและคุ้มครองเหมือนเป็นสิ่งมีชีวิตหนึ่งที่เกิดขึ้น แม้ว่าจะเป็นการกระทำที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ที่ไม่มีชิวิตแล้วก็ตาม เพื่อไม่ให้คุณค่าของความเป็นมนุษย์ถูกละเมิดจึงควรจะให้การรับรองและคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เสมือนเช่นเดียวกับในขณะที่บุคคลนั้นที่ยังมีชีวิตอยู่ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงศึกษาเพื่อเน้นย้ำว่าการรับรองและคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานะของสภาพบุคคลสถานะใดสถานะหนึ่งเพียงเท่านั้น ประกอบกับคุณค่าลักษณะเฉพาะประการหนึ่งที่กล่าวว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ยังดำรงอยู่แม้บุคคลนั้นไม่มีสภาพเป็นบุคคลหรือได้สิ้นสภาพบุคคล อันสะท้อนให้เห็นได้ว่าการรับรองและคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับการทำให้เป็นจริงของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แม้ว่าบุคคลยังไม่ถือกำเนิดหรือบุคคลนั้นเสียชีวิตที่ล้วนไม่อาจถูกแทรกแซงหรือละเมิดต่อคุณค่าของความเป็นมนุษย์ขึ้นได้
Other Abstract: Human dignity is the highest value of the constitution and it is the foundation and essence of fundamental human rights. It belongs to mankind from the beginning until the end. And no one can depart it from the other. This value was legislated in the Constitution of Kingdom of Thailand B.E.2540 (1997), the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2550 (2007) and the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560 (2017). By the legislated, Human Dignity was made to be a fundamental value that the use of state power to violate can't breached as well as being a standard in value to diagnostics in other actions. By this reason the value of human dignity should protect all of mankind that include fetus and corpse. However, a lot of situations that violate the human dignity of the fetus and corpses is happening in every day. For the fetus, the main cause of the violation of human dignity is abortion and in the corpse, the abuse of the corpse is the main course. In order to eliminate these courses and promote the value of a corpse and the fetus as a human being, the dissertation is made to find out the way that can eliminate the course and promote the value. To confirm that, Human Dignity isn’t a value that depends on a personality status, But its value should be legislated in the law to protect the all kinds of human, both living and dead.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55165
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.439
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.439
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5785983034.pdf7.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.