Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55253
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางพันธุกรรมของยีนไซโตโครมพีสามเอห้าของผู้บริจาคไตและการเกิดผลข้างเคียงต่อไตบริจาคจากยากดภูมิที่ออกฤทธิ์ต้านแคลซินิวริน
Other Titles: Association of Donor CYP3A5 Genotypes and Calcineurin Inhibitor Nephrotoxicity in Kidney Transplantation
Authors: สุวศิน อุดมกาญจนนันท์
Advisors: ณัฐวุฒิ โตวนำชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ntownamchai@gmail.com,ntownamchai@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Background ทาโครลิมุส (tacrolimus) เป็นยากดภูมิในกลุ่มยังยั้งแคลซินิวริน (calcineurin inhibitor) ที่ใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต การใช้ทาโครลิมุสเป็นระยะเวลานานและการที่มีระดับยาในปริมาณสูงในเลือดจะส่งผลให้เกิดพิษต่อไตได้ (calcineurin inhibitor nephrotoxicity) ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้การทำงานของไตปลูกถ่ายลดลง ในขณะที่หากระดับยาต่ำเกินไป (subtherapeutic drug level) ก็จะส่งผลให้เกิดการปฏิเสธไตเกิดขึ้น (acute rejection) ในปัจจุบันจึงใช้การเจาะวัดระดับยาเพื่อปรับขนาดยาทาโครลิมุสให้อยู่ในระดับปกติ อย่างไรก็ตามถึงแม้จะมีการวัดระดับยาแล้วก็ยังมีผู้ป่วยบางส่วนที่เกิดไตเป็นพิษจากยาในกลุ่มนี้ได้ ในการศึกษานี้จึงมุ่งเน้นการตรวจหาปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการเกิดพิษต่อเนื้อไตจากยาทาโครลิมุส คือการตรวจหายีนของเอนไซม์ที่ใช้ในการเมตาบอลิซึมของทาโครลิมุสคือ Cytochrome P450 3A5 (CYP3A5) เนื่องจากในไตที่ปลูกถ่ายจะมีจีโนไทป์ของ CYP3A5 ของผู้บริจาค ซึ่งอาจจะมีผลโดยตรงต่อการเมตาบอลิซึมของยาในเนื้อไต และส่งผลให้เกิดภาวะเป็นพิษต่อเนื้อไตจากยาแกลุ่มแคลซินิวรินได้ โดยสมมติฐานในการศึกษานี้คือในผู้รับบริจาคไตจากผู้บริจาคที่มีการแสดงของ CYP3A5 น้อย (*3/*3 allele) จะมีการเมตาบอลิซึมของยาที่เนื้อไตน้อย ทำให้ตรวจพบภาวะพิษต่อไต (calcineurin inhibitor nephrotoxicity) ได้มากกว่าไตที่มีการแสดงของ CYP3A5 มากกว่า (*1/*1 และ *1/*3 allele) Methods การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ retrospective cohort เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่มี donor CYP3A5 expression (*1/*1 และ *1/*3 allele) และกลุ่มที่ไม่มี CYP3A5 expression (*3/*3 allele) วิธีการตรวจ genotype ในผู้ป่วยที่รับอวัยวะจากผู้บริจาคที่มีชีวิต (living donor) จะใช้วิธีการตรวจ real-time polymerase chain reaction (RT-PCR) จากเลือดของผู้บริจาค และตรวจโดยการสกัด DNA จากชิ้นเนื้อไตที่เจาะตรวจ (allograft biopsy) ในผู้ป่วยที่รับอวัยวะจากผู้บริจาคที่เสียชีวิต (deceased donor) และมาทำ RT-PCR ต่อไปเช่นเดียวกัน ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาจะต้องได้รับทาโครลิมุสเป็นยากดภูมิหลักเท่านั้น การวินิจฉัยภาวะความเป็นพิษต่อไตปลูกถ่าย (calcineurin inhibitor nephrotoxicity) จะวินิจฉัยจากชิ้นเนื้อที่ไตได้รับการเจาะตรวจตาม surveillance biopsy ผลการศึกษาหลักที่ต้องการพิสูจน์คือการเกิดพิษของยายับยั้งแคลซินิวรินต่อไตปลูกถ่ายในกลุ่มที่มี CYP3A5 expression และกลุ่มที่ไม่มี CYP3A5 expression Results ผู้ป่วยทั้งหมด 50 คน แบ่งเป็นกลุ่ม CYP3A5 expression (*1/*1 และ *1/*3) 21 คนและ non-expression (*3/*3 allele) 29 คน ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างสองกลุ่มในเรื่องของปริมาณทาโครลิมุสที่ใช้ ระดับยาที่วัดได้ระว่างการตรวจติดตามและอัตราการปฏิเสธไต พบว่าในกลุ่ม CYP3A5 non-expression มีอุบัติการณ์ของการเกิดพิษจากยาต้านแคลซินิวรินมากกว่ากลุ่ม CYP3A5 expression อย่างมีนัยะสำคัญทางสถิติ (72.% และ 33.3%, p-value <0.05) ค่ามัธยฐานของเวลาตั้งแต่ปลูกถ่ายไตจนถึงเวลาที่ตรวจพบพยาธิสภาพความเป็นพิษจากยาต้านแคลซินิวรินคือ 9 เดือนในกลุ่ม non-expression และ 105 เดือนในกลุ่ม expression การวิเคราะห์พหุตัวแปร (multivariate analysis) โดยวิธี cox regression พบว่าการมี CYP3A5 non-expression ในเนื้อไตรับบริจาคจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดพิษต่อเนื้อไตจากยาต้านแคลซินิวริน 3.91 เท่า (p-value <0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม CYP3A5 expression Conclusions ในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตที่ได้รับไตจากผู้บริจาคที่เป็น CYP3A5 non-expression มีความเสี่ยงต่อการเกิดพยาธิสภาพการเป็นพิษจากยาต้านแคลซินิวรินในเนื้อไตปลูกถ่ายมากกว่ากลุ่มที่เป็น CYP3A5 expression การลดระดับยาทาโครลิมุสหรือการเปลี่ยนไปใช้ยาในกลุ่มอื่นอาจจะลดความเสี่ยงในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้
Other Abstract: Background Tacrolimus is the major calcineurin inhibitor (CNI) used for immunosuppression in kidney transplantation. Long-term use and high level of CNI can lead to CNI nephrotoxicity, one of the major causes of long-term renal allograft deterioration, while subtherapeutic tacrolimus exposure can cause allograft rejection. Since the therapeutic window is narrow, blood tacrolimus level has to be regularly monitored in clinical practice. Despite achieving the therapeutic level of tacrolimus, some kidney transplant recipients develop chronic CNI nephrotoxicity. Tacrolimus is mainly systemically metabolized by CYP3A5 which is expressed in the liver. CYPA5 also has been found in the kidney and may involve in local tacrolimus clearance, preventing allograft from CNI toxicity. We aimed to evaluate the association between kidney allograft CYP3A5 (donor genotype) and CNI nephrotoxicity in Asian population which have high CYP3A5 variation. Methods We conducted a prospective cohort study comparing two groups of donor CYP3A5 genotypes, the expressor (*1/*1 and *1/*3; rapid metabolizer) and the non-expressor (*3/*3). Blood samples from living donors and tissue extraction from allograft biopsy paraffin block in cadaveric donor have been used for CYP3A5 genotyping by real-time PCR. Only recipients receiving tacrolimus as a main immunosuppressive drug were included. CNI nephrotoxicity was diagnosed blindly to the CYP3A5 genotype by renal pathologist from surveillance biopsy. The primary outcome is time-to-CNI nephrotoxicity in the expressor genotype compared to the non-expressor genotype. Results The total of 50 patients were enrolled, 21 donors were the expressor and 29 donors were the non-expressor. There were no differences in both tacrolimus dosages and tacrolimus exposure/levels between the two groups. The incidence of CNI nephrotoxicity was significantly higher in recipients with non-expressor allograft (72.4% vs 33.3%, p<0.05). The median time to event was 9 months in the non-expressor group and 105 months in the expressor groups (p<0.05). Cox regression analysis showed hazard ratio of 3.91 (p<0.05) for CNI nephrotoxicity in the recipients with non-expressor allograft. The rate of rejection were comparable between the two groups. Conclusions Donor CYP3A5 non-expressor genotype (*3/*3) is an independent risk for CNI nephrotoxicity. The recipients with non-expressor allograft could have benefit from lowering tacrolimus level or switching to non-CNI regimens.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55253
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1245
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1245
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874085730.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.