Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55413
Title: | วัตถุมงคลทางดนตรีไทยในสังคมไทยร่วมสมัย: การสร้าง ความหมาย และบทบาท |
Other Titles: | CLASSICAL THAI MUSIC SACRED OBJECTS IN CONTEMPORARY THAI SOCIETY: CONSTRUCTION, MEANING AND ROLE |
Authors: | ไอยเรศ บุญฤทธิ์ |
Advisors: | ปรมินท์ จารุวร ศิราพร ณ ถลาง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Poramin.J@Chula.ac.th,poramin_jaruworn@yahoo.com Siraporn.N@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดประเภทวัตถุมงคลทางดนตรีไทยที่มีการสร้างใหม่ในสังคมไทยร่วมสมัย และวิเคราะห์กระบวนการสร้าง การสร้างความหมาย และบทบาทของวัตถุมงคลทางดนตรีไทย โดยรวบรวมข้อมูลวัตถุมงคลทางดนตรีไทยจากข้อมูลเอกสาร ข้อมูลภาคสนาม รวมถึงข้อมูลในสื่อสมัยใหม่ ทั้งในบริบทวัฒนธรรมดนตรีไทยและบริบทนอกวัฒนธรรมดนตรีไทย ผลการวิจัยพบว่า การสร้างเหรียญพระนารทฤๅษี (พ่อแก่) ของวัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร ในปี 2513 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างวัตถุมงคลทางดนตรีไทยในบริบทวัฒนธรรมดนตรีไทยและสังคมไทยร่วมสมัย และหลังจากปี 2513 เป็นต้นมา การสร้างวัตถุมงคลดนตรีไทยปรากฏให้เห็นเป็นพลวัตที่มีความหลากหลาย ผู้วิจัยจัดประเภทรูปแบบของวัตถุมงคลทางดนตรีไทยได้ 7 ประเภท คือ เหรียญ ผ้ายันต์ ล็อกเกต รูปจำลองเทพสังคีตาจารย์ รูปจำลองเครื่องดนตรีไทย รูปแบบวัตถุมงคล “จตุคามรามเทพ” และรูปแบบอื่น ๆ วัตถุมงคลทางดนตรีไทยในสังคมไทยร่วมสมัยเกิดขึ้นโดยผู้สร้างที่จัดทั้งที่เป็นคนในวงการดนตรีไทย ประกอบด้วย บ้านหรือสำนักดนตรี วัด สถาบันทางดนตรี และบุคคล และ ผู้สร้างที่เป็นคนนอกวงการดนตรีไทย ประกอบด้วยสถาบันต่าง ๆ ในสังคม และกลุ่มผู้มีจิตศรัทธา ในการประกอบสร้างความหมายของวัตถุมงคลทางดนตรีไทย พบว่า มีการใช้สัญลักษณ์ทางดนตรีไทยอย่างหลากหลายและมีพลวัต ทั้งการใช้สัญลักษณ์จากความเชื่อดั้งเดิม การใช้สัญลักษณ์จากความเชื่อท้องถิ่น การสร้างสัญลักษณ์ใหม่ และการนำสัญลักษณ์เดิมมาสร้างความหมายใหม่ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างความเป็นมงคลให้แก่วัตถุมงคลทางดนตรีไทยผ่านพิธีกรรม ได้แก่ พิธีพุทธาภิเษก พิธีเทวาภิเษก พิธีสังคีตาภิเษก และ ผ่านการผูกเรื่องเล่า วัตถุมงคลทางดนตรีไทยเหล่านี้แตกต่างกันด้วยคติความเชื่อทางดนตรีและปริบทของการสร้างโดยมีการนำคติความเชื่อและอนุภาคต่าง ๆ ในวัฒนธรรมดนตรีไทยผนวกกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและวรรณคดีไทยมาประกอบสร้างทำให้ความหมายของวัตถุมงคลทางดนตรีไทยขยายขอบเขตกว้างกว่าเดิม ประเด็นดังกล่าวทำให้เห็น พลวัตด้านรูปแบบและการใช้สัญลักษณ์ พลวัตด้านการสร้างความหมายและความเชื่อให้แก่วัตถุมงคลทางดนตรีไทย และพลวัตทางวัฒนธรรมเมื่อเทพสังคีตาจารย์และครูในวัฒนธรรมดนตรีไทยถูกทำให้กลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม วัตถุมงคลทางดนตรีไทยมีบทบาทในฐานะวัตถุทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อจิตใจ ความเชื่อ และวัฒนธรรมการดนตรี นอกจากนี้ ยังมีบทบาทในฐานะที่เป็นบันทึกประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมดนตรีไทยด้วยการดำรงรักษาความเชื่อทางดนตรีไทยผ่านวัตถุสัญลักษณ์ต่าง ๆ ด้วยวิธีคิดในลักษณะของการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม |
Other Abstract: | This dissertation aims to gather and categorize the recreated classical Thai music sacred objects in contemporary Thai society and to analyze the creation process, the meaning construction and the role of classical Thai music sacred objects. Data collection are from document, fieldwork and modern media from both inside and outside classical Thai music context. It is found that the creation of Rishi Nart (Phor Kae) coins at Phra Piren Temple, Bangkok in 1970, was the starting point of the classical Thai music sacred objects creation in contemporary Thai society. After that, various forms of classical Thai music sacred objects have been produced. The researcher categorized such sacred objects into 7 kinds: coin, amulet, locket, music master figure, traditional music instrument figure, Chatu Kham Ramthep and other forms. Contemporary classical Thai music sacred objects have been created not only by classical Thai music insiders such as music house/school, temple, music institute and individual, but also by outsiders such as social institutions and supporters. Concerning the meaning construction of classical Thai music sacred objects, it is found that today the use of music symbols is dynamic and diversified. Symbols used are from old belief in classical Thai music, local belief in each region, old belief with new meaning and also newly created symbols which produce new meaning. The auspicious construction of meaning of these sacred objects is performed through rituals, such as Buddhist rituals, Hinduist rituals, music instrument rituals and also through narrative techniques. These sacred objects are different regarding the belief and the context of creation. The combination of beliefs from classical Thai music culture, local culture and Thai literature provides wider meaning for contemporary classical Thai Music sacred objects. Accordingly, there is then the dynamism of forms, symbols and meanings in the construction of classical Thai music sacred objects. In addition, there is also cultural dynamism when the belief in Thai classical music masters and the music sacred objects have been transformed into cultural commodity. Considering the role of classical Thai music sacred objects in contemporary Thai society, it is analyzed that these music sacred objects are cultural materials that have psychological role for people inside and outside classical Thai music culture. These sacred objects also help record the history of classical Thai music culture and also help transmit classical Thai music belief and belief in music masters by the reproduction of symbolic objects. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55413 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.693 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.693 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5680520022.pdf | 15.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.