Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55451
Title: ปัญหาผลของสัญญาตั้งครรภ์แทนที่ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558
Other Titles: PROBLEMS CONCERNING THE EFFECTS OF A SURROGACY AGREEMENT WHICH IS NON-COMPLIANT WITH THE PROTECTION FOR CHILDREN BORN THROUGH ASSISTED REPRODUCTIVE TECHNOLOGIES ACT B.E. 2558
Authors: บุญราศรี เกิดโชค
Advisors: ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Sanunkorn.S@Chula.ac.th,ajarnkorn@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 มิได้กำหนดผลของสัญญาตั้งครรภ์แทนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเอาไว้เป็นการเฉพาะ ทำให้ต้องพิจารณาว่าผลของสัญญานั้นจะเป็นเช่นไร จากการศึกษาพบว่า หากพิจารณาผลของสัญญาตั้งครรภ์แทนโดยนำเอากฎหมายลักษณะนิติกรรมมาปรับใช้จะพบว่า ไม่สามารถนำเอาหลักลาภมิควรได้มาใช้กับผลในทางสถานะของบุคคลได้ หากนำเอาหลักตามกฎหมายครอบครัวมาใช้จะส่งผลให้หญิงที่ตั้งครรภ์แทนเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กที่เกิดมาจากการตั้งครรภ์แทนนั้น และชายผู้ประสงค์จะมีบุตรก็มิอาจพิสูจน์ความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายได้แม้ในกรณีที่มีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมกับเด็กที่เกิดมาก็ตาม ซึ่งผลดังกล่าวอาจไม่สอดคล้องกับการคุ้มครองประโยชน์สูงสุดของเด็กอันเป็นจุดประสงค์ในการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 และหากพิจารณาในมุมที่ว่าจะสามารถนำเอาผลตามกฎหมายใดมาปรับใช้แล้วจะเป็นการคุ้มครองประโยชน์สูงสุดของเด็กได้นั้น จะพบว่าหลักประโยชน์สูงสุดของเด็กที่พบในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องอำนาจปกครองบุตรนั้นก็มิสามารถนำมาใช้ได้ เนื่องจากคู่สัญญาผู้ประสงค์จะมีบุตรมิได้มีสถานะเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายที่อาจเข้ามาพิพาทในประเด็นอำนาจปกครองบุตรได้ และก็มิสามารถนำหลักประโยชน์สูงสุดที่บัญญัติไว้กว้าง ๆ ในพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาปรับใช้กับการกำหนดสถานะของบุคคลในกรณีนี้ได้เช่นกัน จากการศึกษากฎหมายต่างประเทศพบว่า แต่ละประเทศกำหนดผลของการตั้งครรภ์แทนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเอาไว้แตกต่างกัน ในประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐเท็กซัส กำหนดให้ใช้ผลตามหลักกฎหมายครอบครัวทั่วไป แต่ในกฎหมายครอบครัวนั้นมีบทบัญญัติให้ชายสามารถขอให้ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงสถานะความเป็นบิดาได้โดยพิสูจน์ความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมกับเด็ก รัฐเวอร์จิเนียร์กำหนดผลไว้ 2 ทาง ทางแรกคือให้ผลเป็นไปตามลำดับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่าง ๆ กับเด็ก ในฐานะผู้ให้กำเนิด ผู้มีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรม และเจตนาทั้งก่อนและหลังเด็กเกิด โดยให้ความสำคัญกับหญิงที่ตั้งครรภ์แทนผู้ให้กำเนิดมาเป็นลำดับแรก ทางที่สองคือให้ศาลสามารถปรับปรุงสัญญาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายนั้นให้ใช้ได้ตามความเท่าที่กฎหมายกำหนด รัฐนิวแฮมป์เชียร์มีกฎเกณฑ์ในเรื่องคำสั่งกำหนดความเป็นบิดามารดาเพื่อก่อตั้งความเป็นบิดามารดาให้แก่คู่สัญญาผู้ประสงค์จะมีบุตร โดยแม้คู่สัญญาไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับสัญญาตั้งครรภ์แทนที่กฎหมายกำหนด ศาลก็อาจใช้ดุลพินิจมีคำสั่งกำหนดความเป็นบิดามารดาได้หากพบว่าคู่สัญญาทุกฝ่ายมีเจตนาที่จะเข้าร่วมในสัญญาตั้งครรภ์แทนและหากพบว่าประโยชน์สูงสุดของเด็กจะเกิดขึ้นได้ด้วยการมีคำสั่งก่อตั้งความเป็นบิดามารดาตามนี้เท่านั้น รัฐอิลลินอยส์ให้ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานที่แสดงถึงเจตนาของคู่สัญญาทุกฝ่ายเป็นสำคัญ และมีการกำหนดผลกรณีมีความผิดพลาดทางห้องปฏิบัติการเอาไว้เป็นการเฉพาะ รัฐนิวยอร์ค ไม่ได้กำหนดผลของการไม่ทำตามกฎหมายเอาไว้ เนื่องจากกำหนดไว้ชัดแจ้งว่าการตั้งครรภ์แทนเป็นโมฆะและไม่สามารถบังคับได้ แต่เมื่อมีการตั้งครรภ์แทนเกิดขึ้น ศาลก็มิได้ตัดสินโดยใช้หลักกฎหมายครอบครัวทั่วไปโดยลำพัง ในประเทศสหราชอาณาจักร โดยหลักกำหนดให้การตั้งครรภ์แทนไม่สามารถบังคับได้ แต่หากมีการตั้งครรภ์แทนเกิดขึ้นก็มีคำสั่งกำหนดความเป็นบิดามารดาเป็นเครื่องมือให้คู่สัญญาผู้ประสงค์จะมีบุตรสามารถร้องขอต่อศาลเพื่อก่อตั้งสถานะความเป็นบิดามารดาของตนได้ หากได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กำหนด อย่างไรก็ดี ในการพิจารณาเพื่อมีคำสั่งกำหนดความเป็นบิดามารดานั้นปัจจัยที่ศาลจะต้องคำนึงถึงมากที่สุดคือสวัสดิภาพในระยะยาวของเด็ก ทำให้แม้ว่าคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งนั้นจะมิได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ศาลก็อาจมีคำสั่งได้หากเป็นไปเพื่อสวัสดิภาพของเด็กนั่นเอง ผู้เขียนเห็นว่า การจะแก้ไขปัญหาผลของสัญญาตั้งครรภ์แทนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนี้ควรจะมีการบัญญัติผลเอาไว้เป็นกรณีเฉพาะในพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 โดยเห็นว่าควรกำหนดให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดความเป็นบิดามารดาเพื่อให้คู่สัญญาผู้ประสงค์จะมีบุตรเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายได้ โดยในการพิจารณานั้นก็ให้ศาลคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญที่สุด และควรกำหนดปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาประโยชน์สูงสุดของเด็กเอาไว้อย่างชัดแจ้งด้วย
Other Abstract: As there is no provision in the Protection of Child Born by Assisted Reproductive Technology Act B.E. 2558 regarding the results of a surrogacy agreement which is non-compliant with the law, what are the effects of that agreement is a problem to be deliberated. It is apparent that the law of Juristic Acts cannot be applied to this situation due to the principle of Undue Enrichment which cannot justify the legal status of a person. If the Family law in the Civil and Commercial Code is to be applied, the surrogate will become the legal mother of the child born through surrogacy while the intended father, even though genetically related to the child, will not be able to claim paternity of the child. The application of these principles does not yield a result that aligns with the best interests of the child which is the purpose of in the Protection of Child Born by Assisted Reproductive Technology Act. In consideration of what regulation should be applied so that the best interests of the child is preserved, I have found that although there is the best interests of the child principle exists in the child custody determination in Civil and Commercial Code, the intended parents cannot be involved herein because they are not legal parents of the child. Furthermore, the best interests of the child principle which is broadly regulated in Child Protection Act B.E. 2546, also cannot be applied to solve the specific dispute about the legal status of a person. The study shows different kinds of regulations and court decisions concerning the effects of this non-compliant with the law agreement in several states and countries. In the Unites States of America, Texas’ law dictates that parent-child relationship is to be determined as provided in Uniform Parentage Act. However there is a rule for adjudication of paternity allowing a man to prove his paternity by the results of genetic testing. Whereas in Virginia, the results of this agreement is split in two options. First, the parent-child relationship can be determined based on the relationships – as a gestational parent, intent-based parents or genetic parents - between the parties, which are intended parents, the surrogate, and the child, by which the law gives priority to a surrogate who gives birth to the child. Second, the agreement can be reformed by court and will be enforceable only as mentioned in the law. The statute of New Hampshire issues the parentage order as a method for establishing the parent-child relationship between the intended parents and the child. And despite the fact that a petition for parentage order is not substantially compliant with the law, the court may in its discretion issue such order upon a finding that the parties intended to enter into a gestational carrier arrangement and the best interests of the child would be met by permitting parentage to be established in this manner. In Illinois, the court will determine parentage based on evidence of the parties' intent and there is a specific provision defining the parenthood in the event of a laboratory error in which the resulting child is not genetically related to either of the intended parents. In New York, a surrogacy agreement is void and unenforceable by law therefor there is no provision defining the effects of a non-compliant with the law agreement. In the event that surrogacy occurs, however, the court does not make a decision based only on the traditional family law. A surrogacy agreement is also unenforceable in the United Kingdom. Nevertheless, if there is a child born through surrogacy the court may make a parental order providing for a child to be treated in law as the child of the intended parents if an application submitted conforms with the requirement of the law. However, most of all the court must have taken the welfare of the child as the paramount consideration whether it will grant the order or not. For this reason, the court may make a parental order even when an application is not compliant with the law providing it preserves the welfare of the child. In my opinion, to effectively deal with this issue, specific provisions should be provided in the Protection of Child Born by Assisted Reproductive Technology Act about the effects of a non-compliant with the law agreement. Any parties of the surrogacy agreement should be able to petition to the court for a parental order establishing the parent-child relationship between the intended parents and the child while the best interests of the child should be the paramount consideration. Also, there should be a list of factors that need to be considered by the court in order to determine what is in the best interests of the child.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55451
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.483
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.483
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5885990434.pdf5.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.