Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55464
Title: ปัญหากฎหมายความรับผิดทางกฎหมายแพ่งในความเสียหายที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีขับเคลื่อนอัตโนมัติมาใช้ในรถยนต์
Other Titles: LEGAL PROBLEMS ON CIVIL LIABILITY FROM AUTONOMOUS VEHICLE
Authors: พิเชษฐ์ เปี่ยมมีสมบูรณ์
Advisors: ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Sanunkorn.S@Chula.ac.th,ajarnkorn@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาความรับผิดทางละเมิดตามบทบัญญัติมาตรา 437 วรรคหนึ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และ พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายฝรั่งเศส ศึกษากรณีการเกิดอุบัติเหตุกับรถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนอัตโนมัติ การศึกษาแบ่งออกเป็น 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นที่ 1 การกำหนดผู้ต้องสันนิษฐานความรับผิดในกรณีความเสียหายเกิดจากรถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนอัตโนมัติขณะขับเคลื่อนอัตโนมัติ ผลการศึกษาพบว่า บทบัญญัติมาตรา 1384 ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส (มาตรา 1242 วรรคหนึ่งส่วนท้าย ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสในปัจจุบัน) วางหลักความรับผิดอยู่บนหน้าที่ดูแลทรัพย์ โดยไม่จำกัดว่าทรัพย์นั้นเป็นยานพาหนะหรือไม่ ดังนั้นการระบุผู้ต้องรับผิดจึงพิจารณาจากผู้ที่มีหน้าที่ดูแลทรัพย์ที่ก่อความเสียหาย บทบัญญัติดังกล่าวแตกต่างจากกฎหมายไทยที่บัญญัติให้ใช้เฉพาะยานพาหนะ และบัญญัติให้พิจารณาผู้ต้องรับผิดในฐาน ผู้ควบคุมดูแล จากอำนาจควบคุมยานพาหนะ ซึ่งหมายถึงผู้ที่มีความสามารถในการควบคุมกำลังและทิศทางของเครื่องยนต์ในขณะเกิดความเสียหาย แต่เนื่องจากผู้ใช้รถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนอัตโนมัติไม่มีอำนาจควบคุมกำลังและทิศทางของเครื่องยนต์ในขณะเกิดความเสียหาย จึงไม่ปรากฎมีผู้ต้องสันนิษฐานความรับผิดในฐานผู้ควบคุมดูแล ส่วนผู้ต้องสันนิษฐานความรับผิดฐานผู้ครอบครองนั้น กฎหมายฝรั่งเศสพิจารณาผู้ต้องสันนิษฐานความรับผิดบนหลักเกณฑ์แห่งสิทธิเป็นหลัก ส่วนนักกฎหมายไทยยังมีความเห็นแตกต่างกัน ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรเป็นไปตามหลักเกณฑ์แห่งสิทธิครอบครองตามมาตรา 1367 ป.พ.พ. ในขณะที่อีกฝ่ายเห็นว่าควรหมายถึงผู้ครอบครองตามความเป็นจริงขณะเกิดเหตุ ประเด็นที่ 2 การอ้างเหตุที่ความเสียหายเกิดจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมรถยนต์เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ต้องสันนิษฐานความรับผิด พบว่าศาลสูงฝรั่งเศสวางหลักกฎหมายเหตุสุดวิสัยสำหรับความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์เฉพาะเหตุที่เกิดจากภายนอกตัวทรัพย์ที่ก่อความเสียหาย ซึ่งนับว่ามีความชัดเจนกว่าการปรับใช้ตามแนวคำพิพากษาของศาลไทย ประเด็นที่ 3 สิทธิของผู้ต้องสันนิษฐานความรับผิดในการไล่เบี้ยกับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ พบว่ากฎหมายไทยไม่มีบทบัญญัติรับรองการใช้สิทธิไล่เบี้ยของผู้ต้องสันนิษฐานความรับผิด แต่กฎหมายฝรั่งเศสนั้นเปิดช่องให้ศาลปรับใช้ทฤษฎีกฎหมายนอกจากตัวบทบัญญัติได้ เช่น ทฤษฎีการแบ่งแยกหน้าที่ดูแลทรัพย์ที่ใช้กับทรัพย์ที่มีพลังในตัวเอง โดยให้ผู้ผลิตสินค้านั้นต้องเข้ามารับผิดในความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์ (สินค้า) ที่ผลิต ดังนั้นกฎหมายฝรั่งเศสจึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องบัญญัติสิทธิไล่เบี้ย ประเด็นที่ 4 ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พบว่า ประเทศไทยมีการกำหนดภาระการพิสูจน์ของผู้เสียหายที่ไม่สอดคล้องกับความรับรู้ของบุคคลภายนอก เช่น การใช้และการเก็บรักษาสินค้าตามปกติธรรมดา ซึ่งเป็นอุปสรรคในการใช้สิทธิทางศาลของผู้เสียหายที่เป็นบุคคลภายนอก แตกต่างจากกฎหมายฝรั่งเศสที่ไม่ได้กำหนดภาระการพิสูจน์ดังกล่าวให้กับผู้เสียหายที่เป็นบุคคลภายนอก นอกจากนี้รัฐสภาฝรั่งเศสยังได้บัญญัติกฎหมายเฉพาะ Loi n° 85-677 ที่มีวัตถุประสงค์ช่วยส่งเสริมให้ผู้เสียหายที่เป็นบุคคลภายนอกได้รับการชดใช้เยียวยาสำหรับความเสียหายที่เกิดกับร่างกายเต็มจำนวนความเสียหายโดยอัตโนมัติ ซึ่งหลักการดังกล่าวสามารถพิจารณาเป็นแนวทางในการพัฒนากฎหมายเฉพาะของไทยได้ในอนาคต จากการศึกษา ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ ควรปรับใช้กฎหมายตามระดับความสามารถในการควบคุมรถยนต์ของมนุษย์ ผู้ใช้รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติในระดับที่ 3 – 4 ย่อมไม่ควรเป็นผู้ต้องสันนิษฐานความรับผิดในฐานผู้ควบคุมดูแลเนื่องจากไม่มีความสามารถในการควบคุมรถยนต์ขณะเกิดความเสียหาย และการพิจารณาผู้ต้องสันนิษฐานความรับผิดฐานผู้ครอบครองควรปรับใช้ตามหลักเกณฑ์แห่งสิทธิซี่งมีความชัดเจนและแน่นอนกว่าการพิจารณาผู้ครอบครองตามความเป็นจริงขณะเกิดเหตุ ควรวางหลักกฎหมายเรื่องเหตุสุดวิสัยกรณีความเสียหายเกิดจากเหตุภายในตัวรถยนต์ให้มีความชัดเจนว่า เหตุสุดวิสัยต้องไม่ใช่เหตุที่เกิดภายในรถยนต์คันที่ก่อความเสียหาย แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 437 ป.พ.พ. ให้มีบทบัญญัติเรื่องสิทธิไล่เบี้ย และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 โดยลดภาระการพิสูจน์ของผู้เสียหายที่เป็นบุคคลภายนอกให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ควรบัญญัติกฎหมายเฉพาะสำหรับความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีขับเคลื่อนอัตโนมัติมาใช้ในรถยนต์ โดยพิจารณาหลักการของกฎหมายตามแนวทางของกฎหมาย Loi n° 85-677 ของฝรั่งเศส
Other Abstract: This thesis studies delict according to Article 437 of Thai Civil and Commercial Code and Thai Production Liability Act B.E. 2551 and compares to French laws in the case of accident cause by autonomous technology vehicle. There are 4 main subject matters in this thesis: First, presumption of liability’s identification as the autonomous vehicle’s controller in the case of accident that is a result of defective autonomous software. The result of study found that Article 1384 of the French Civil and Commercial Code (Article 1242 of the present French Civil and Commercial Code) puts liability for things on duty of gaurd and not limit to only vehicles. Therefore, in order to identify the liable person it must identify in regard to the owner. This provision differs from Thai law that applies to only vehicles and identify the liable person from the ability to control the vehicle, in other word, anyone who has an ability to control the engine’s power and direction during the moment the accident occured. However, in the case of autonomous vehicle, the fact lies that there are no person who has such ability and therefore there is no liable person. To presume the controller as liable person, French laws identify liable person primarily on the basis of the right of possession. In Thailand, legal scholars have two main different opinions. One is that the law should be interpreted according to Article 1367 of the Thai Civil and Commercial Code, while the other suggests that the liable person should be identified according to the fact when the accident occur. Second, The possibility of using the fact of machanical faulty as an excuse. The study found that the French Court of Cassation considers the events as force majeure only when the accident is caused by external factors, which is more specific than that of Thai court’s interpretation. Third, liable person’s right to recourse with the autonomous vehicle producer. The study found that Thai law does not have provision about liable person’s right to recourse, while French law allows the judge to apply legal theories other than the provision to the case. For example, separation of guard (gardien de la structure) by making the producer taking responsibility to damage caused by their products. Thus, it is not necessary for French law to have specific provision on right to recourse. Fourth, the dangerous product liability. The study found that Thai law assign the plaintiff’s burden of proof which is not accord to the external damaged party’s knowledge, for example, using and storing the product in the normal manner. This is different to French law which does not assign the burden of proof to the outsider damaged party. Furthermore, the French parliament legislated a special law, the ‘Loi n° 85-677’, in order to encourage situation of damaged party to get automatic full compensation for bodily harms in traffic accidence. This can be regarded as a model for Thai legal scholars to develop the Thai specific law in the cases of accidence from autonomous vehicle in the future. From this study, there are suggestions as follow: first, the law should be interpreted according to driver’s ability to control the autonomous vehicle. User of the level 3-4 autonomous vehicles should not be regarded as controller to be a liable person since they do not have any ability to control the vehicle. Second, liable person as a possessor’s identification should be interpreted using principle of right as a criteria, which is clearer and more reliable than identifying according to the fact when the accident occur. Third, distinct the force majeure apply only to the accident caused by external factors. Fourth, right to recourse should be added to Article 437 of the Thai Civil and Commercial Code. Fifth, Thai Production Liability Act B.E. 2551 should be altered by minimising the external damaged party’s burden of proof according to their knowledge. Finally, a new specific law in the case of accidence from autonomous vehicle technology should be legislate according to the principle of French’s Loi n° 85-677.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55464
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.441
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.441
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5886003234.pdf5.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.