Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55468
Title: การวิเคราะห์พัฒนาการการตีความของศาลฎีกาไทย: ศึกษาประเด็นความผิดฐานลักทรัพย์
Other Titles: DEVELOPMENT OF THAI SUPREME COURT'S INTERPRETATION: A STUDY OF LARCENY
Authors: รัชฏา พุดไทย
Advisors: คณพล จันทน์หอม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Kanaphon.C@Chula.ac.th,kanaphon.C@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการการตีความของศาลฎีกาไทยและศาลฎีกาต่างประเทศประเด็นความผิดฐานลักทรัพย์ใน 3 ประเด็น ได้แก่ ความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จ การลักกระแสไฟฟ้า และการบังคับชำระหนี้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงแนวคิดและทฤษฎีที่มีผลต่อการตีความของศาลฎีกา เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบว่าพัฒนาการการตีความของศาลฎีกาไทยประเด็นดังกล่าวเป็นไปตามแนวโน้มการตีความของศาลฎีกาต่างประเทศหรือไม่ ประเด็นความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จ เริ่มต้นด้วยการใช้ทฤษฎีการพาทรัพย์เคลื่อนที่ และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปใช้ทฤษฎีความสามารถในการควบคุมทรัพย์เช่นเดียวกับสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา เพราะศาลฎีกาเปลี่ยนแนวทางการตีความ ส่วนประเด็นการบังคับชำระหนี้โดยมิชอบด้วยกฎหมายนั้น ในอดีต ศาลฎีกาคำนึงถึงเจตนาที่แท้จริงของเจ้าหนี้เป็นสำคัญจึงตีความว่า เจ้าหนี้ขาดเจตนาทุจริต และไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ ต่อมาศาลฎีกากลับแนวบรรทัดฐานเดิมเนื่องจากคำนึงถึงนิยามคำว่า “โดยทุจริต” ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและคุ้มครองลูกหนี้ ทำให้เจ้าหนี้มีแนวโน้มที่จะมีความผิดฐานลักทรัพย์มากขึ้นเช่นเดียวกับสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ส่วนประเด็นการลักกระแสไฟฟ้า เคยเกิดปัญหาถกเถียงกันทางวิชาการว่า การลักกระแสไฟฟ้าเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ แต่ยังไม่อาจหาข้อยุติได้ว่าจะแก้ปัญหานี้ด้วยวิธีการใด ขณะที่สหราชอาณาจักร สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศสแก้ปัญหาด้วยวิธีการบัญญัติความผิดเฉพาะ ส่วนสหรัฐอเมริกาใช้การตีความของศาล ดังนั้น พัฒนาการการตีความของศาลฎีกาไทยประเด็นความผิดฐานลักทรัพย์เป็นไปตามแนวโน้มการตีความของศาลฎีกาต่างประเทศเพียง 2 ประเด็นเท่านั้น ได้แก่ ความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จ และการบังคับชำระหนี้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการเติมเต็มช่องว่างทางความรู้ในเรื่องพัฒนาการการตีความของศาลฎีกาไทยประเด็นความผิดฐานลักทรัพย์ และนำไปเป็นข้อมูลประกอบการปรับปรุงแนวทางการตีความประเด็นความผิดฐานลักทรัพย์ในอนาคตได้
Other Abstract: This thesis studies the development of interpretation of Thai Supreme Court and Supreme Court of foreign countries in three issues concerning larceny: a successful larceny, a larceny against electricity and an unlawful enforcement of debt repayment. It outlined the principle and theory affecting the interpretation of the Supreme Court to analyze and compare whether the development of interpretation of Thai Supreme Court is in line with the interpretation of the Supreme Court of foreign countries. The charges of successful larceny is based on movement of property theory, however, changes in Thai Supreme Court interpretation results into a trend to adopt the control over property theory, as in the United Kingdom and the United States. For the unlawful enforcement of debt repayment, the Supreme Court in the past viewed the creditor’s true intention and interpret that the creditor did not commit larceny due to the lack of mala fide intention. However, this previous precedent was overturned by taking into account the definition of “in bad faith” in the Criminal Code, in order to maintain public order and protect the debtor, rendering the creditors to be more likely to commit larceny as in United Kingdom and United States. For larceny against electricity, there were debates among scholars whether the larceny against electricity is a charge of larceny, however, the issue remained unresolved. United Kingdom, the Federal Republic of Germany and French Republic resolved this issue by promulgating specific offences, while the United States uses the court interpretation. Therefore, the Development of Thai Supreme Court interpretation on larceny is in line with the foreign Supreme Courts in only two issues: a successful larceny and an unlawful enforcement of debt. This information is useful to fulfill the knowledge gap on the Development of Thai Supreme Court interpretation on larceny, and may be taken into account for the improvement of the larceny interpretation in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55468
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.449
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.449
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5886011234.pdf11.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.