Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55663
Title: | การทดลองเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แสงเลเซอร์ชนิดพัลส์ดายความยาวคลื่น 595 นาโนเมตร ในการรักษาผื่นโรคลูปัสอีริทีมาโตซัส ชนิดดิสคอยด์ |
Other Titles: | Efficacy of 595 nm pulsed-dye laser in the treatment of discoid lupus erythematosus |
Authors: | นุชจรินทร์ เตกะจรินทร์ |
Advisors: | ภาวิณี ฤกษ์นิมิตร รัชต์ธร ปัญจประทีป |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pawinee.R@Chula.ac.th,tpawinee@hotmail.com,pawineererk@yahoo.co.th ratchathorn.p@chula.ac.th,nim_bonus@hotmail.com |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มา: เลเซอร์ชนิดพัลส์ดายมีผลในการเปลี่ยนแปลงปฎิกริยาการอักเสบและหลอดเลือด ดังนั้นจึงมีการนำมาทดลองใช้รักษาผื่นผิวหนังโรคลูปัสอีริทีมาโตซัสชนิดดิสคอยด์ ซึ่งมีการรายงานพบว่าได้ผลดี แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาดังกล่าว ส่วนใหญ่ยังเป็นในลักษณะการรายงานกลุ่มตัวอย่าง วัตถุประสงค์: เพื่อต้องการศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้เลเซอร์ชนิดพัลส์ดาย เป็นการรักษาเสริมของผื่นผิวหนังโรคลูปัสอีริทีมาโตซัส ชนิดดิสคอยด์ โดยจัดทำเป็นลักษณะการวิจัยแบบมีการปิดบังทั้ง 2 ฝ่าย และมีการสุ่ม วิธีการศึกษา: ผื่นลูปัสอีริทีมาโตซัส ชนิดดิสคอยด์จำนวน 48 ผื่น จากผู้ป่วย 9 คน จะได้รับการสุ่มแบบบล็อก แบ่งเป็นผื่นที่ได้รับการรักษาด้วยแสงเลเซอร์จริงในฝั่งหนึ่งของร่างกาย ในขณะที่อีกฝั่งจะถูกจัดเป็นผื่นควบคุม ผู้ป่วยทุกรายสามารถยังสามารถใช้ยารับประทานอื่นๆได้ตามปกติ โดยเลเซอร์ชนิดพัลส์ดายดังกล่าวจะถูกใช้เป็นการรักษาเสริม แสงเลเซอร์ชนิดพัลส์ดายที่ใช้ มีขนาดความกว้างของลำแสง 7 มิลลิเมตร, ช่วงเวลาปล่อยแสง 6 มิลลิวินาที, พลังงาน 8 จูลส์/ตารางเซนติเมตร กระทำซ้ำทุกๆ 4 สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 4 ครั้งติดต่อกัน ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินผลที่เริ่มต้นก่อนการรักษา, สัปดาห์ที่ 4, 8, 12, 16 และ 24 ผื่นแต่ละจุดจะได้รับ การถ่ายภาพ, วัดค่าค่าดัชนีความแดงและค่าดัชนีความขรุขระจากเครื่องมือตรวจสภาพผิวแอนทีรา(บริษัทมิราเวก, ประเทศไอร์แลนด์) รวมไปถึงการประเมินคะแนนดัชนีประเมินความรุนแรงและพื้นที่ผิวของผื่นในโรคลูปัส และบันทึกผลข้างเคียงจากการรักษา ภาพถ่ายในแต่ละครั้ง จะถูกนำมาประเมินเปรียบเทียบผลการรักษาโดยแพทย์ผิวหนังที่ได้รับการปิดบังจำนวน 3 คนอีกครั้ง โดยให้คะแนนการดีขึ้นของผื่น ผลการศึกษา: ค่าดัชนีความแดงและค่าดัชนีความขรุขระโดยเครื่องมือตรวจสภาพผิวแอนทีรา พบการลดลงของคะแนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผื่นที่ได้รับการรักษาด้วยเลเซอร์ชนิดพัลส์ดายเมื่อเทียบกับผื่นควบคุมเมื่อสิ้นสุดการวิจัย ( p = 0.03 และ p = 0.03 ตามลำดับ) เช่นเดียวกับคะแนนการดีขึ้นของผื่นในฝั่งที่ได้รับการรักษาด้วยเลเซอร์ชนิดพัลส์ดายดีกว่าผื่นควบคุมเมื่อสิ้นสุดการรักษา (p = 0.024) ในด้านดัชนีประเมินความรุนแรงและพื้นที่ผิวของผื่นในโรคลูปัสพบว่า ผื่นที่ได้รับการรักษาด้วยเลเซอร์ชนิดพัลส์ดายมีความรุนแรงของผื่นน้อยกว่าผื่นควบคุมแต่ยังไม่พบนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ เป็นที่น่าสนใจว่าผู้ป่วยมีเพียงอาการข้างเคียงจากการรักษาเพียงเล็กน้อยและชั่วคราว เช่น อาการแดงซึ่งจะค่อยๆจางลดลงหลังเวลาผ่านไปไม่เกิน 30 นาที สรุปผล: เลเซอร์ชนิดพัลส์ดายสามารถลดทั้งความแดง ความขรุขระของพื้นผิวในผื่นโรคลูปัสอีริทีมาโตซัส ชนิดดิสคอยด์รวมทั้งทำให้ผื่นดีขึ้นโดยรวมเมื่อทำการประเมินโดยรวมเมื่อการรักษาเสร็จสิ้น ดังนั้น เลเซอร์ชนิดพัลส์ดายจึงเป็นอีกทางเลือกการรักษาเสริมที่ดีสำหรับผื่นโรคลูปัสอีริทีมาโตซัส ชนิดดิสคอยด์ |
Other Abstract: | Background: Pulsed-dye laser (PDL) is known to exert inflammatory and vascular modulatory effects. Therefore it has been tried out as a treatment for chronic cutaneous lupus erythematous i.e. discoid lupus erythematous (DLE) with promising outcomes. However, the results were based mostly from case series. Objective: To compare the efficacy and safety of PDL, as an adjunctive treatment for DLE in a double blinded, randomized, controlled fashion. Matherial and Method: Forty-eight DLE lesions from nine patients were recruited in the study. The lesions on one side of the body were block-randomized into the treatment group and the other side served as a control. The patients could continue their systemic treatments as PDL was designed to be used as an adjunctive treatment. Treatments with the PDL (595nm), a spot size of 7 mm, pulse durations of 6 msec and fluences of 8 j/cm2 were delivered in the treatment group every 4 weeks for 4 consecutive sessions while the lesions in the control group received a sham. The patients were evaluated at the baseline, week 4, 8, 12, 16, 24. Erythema index (EI) and Texture index (TI) were obtained and digital photographs were taken by Antera3D (Miravex, Ireland), and modified Cutaneous Lupus Erythematosus Disease Area and Severity Index (mCLASI) was assessed in every visit. The digital photographs were later evaluated by 3-blinded dermatologists and Physician Global Assessment (PGA) scores were achieved. Moreover, side effects and patients’ satisfaction score were also recorded. Results: The lesions treated with the PDL demonstrated significantly decrease in EI and TI (p = 0.03 and 0.03, respectively) at the end of the study. PGA also showed that a better improvement in the laser treated side since the first laser treatment until the end of the study (p = 0.005 at week 24). Though the improvement of the mCLASI in the treated side was also detected, it was not significant statistically. Interestingly, the side effects were mild and transient including erythema which disappeared within 30 minutes. Conclusion: Improvements of the erythema and irregularity of DLE as well as an overall improvement can be achieved with PDL treatment. Therefore, it may serve as an adjunctive treatment option for DLE. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55663 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1253 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1253 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5874040430.pdf | 3.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.