Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55667
Title: | การศึกษาความชุกของการเกิดอุบัติเหตุในผู้ป่วยโรคลมชักที่ขับขี่ยานยนต์ที่แผนกผู้ป่วยนอกของศูนย์โรคลมชัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
Other Titles: | Prevalence of seizure related motor vehicle accidents among the Thai epileptic patients at Epilepsy Center, King Chulalongkorn Memorial Hospital. |
Authors: | สิริญชา ปิติปัญญากุล |
Advisors: | ชูศักดิ์ ลิโมทัย ทายาท ดีสุดจิต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chusak.L@chula.ac.th,chuneuro@yahoo.com Tayard.D@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์: เพื่อหาความชุกของการเกิดอุบัติเหตุทางจราจร รวมถึงหาปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุทางจราจรในผู้ป่วยโรคลมชักที่ขับขี่ยานยนต์ในแผนกผู้ป่วยนอกของศูนย์โรคลมชักโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการ: เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกันยายน 2016- มกราคม 2017 เป็นการเก็บข้อมูลโดยผู้ป่วยโรคลมชักที่ขับขี่หรือเคยขับขี่ยานยนต์ให้ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ที่แผนกผู้ป่วยนอกของศูนย์โรคลมชักโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยโรคลมชักที่ขับขี่หรือเคยขับขี่ยานยนต์ 289 ราย และ238 ราย(82.35%) ที่ยังขับขี่ยานยนต์จนถึงปัจจุบัน พบเป็นเพศชาย 162 ราย(56.06%) เพศหญิง 127 ราย (43.94%) อายุเฉลี่ย คือ 36.39 ปี ในผู้ป่วยโรคลมชักที่ขับขี่ยานยนต์หรือเคยขับขี่ยานยนต์พบว่าเคยเกิดอุบัติเหตุ 139 ราย(49.12%) ในจำนวนนี้พบว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากการชัก 64 ราย(46.38%) และสาเหตุไม่ได้เกิดจากการชักมี 75 ราย(53.62%) เป็นอุบัติเหตุจากจักรยานยนต์มากที่สุดรองลงมาคือรถยนต์ ผู้ป่วยโรคลมชักที่ขับขี่ยานยนต์มีใบอนุญาตขับขี่ 149 ราย(52.84%) อายุเฉลี่ยขณะที่เกิดอุบัติเหตุคือ 29 ปี โดยปัจจัยกระตุุ้นให้เกิดอาการชักคือ อดนอนมากที่สุดรองลงมาคือ ความเครียด ส่วนมากได้รับบาดเจ็บแต่ไม่รุนแรงและมีผลกระทบต่อจิตใจ ระยะเวลาที่ไม่มีอาการชักในกลุ่มที่เกิดอุบัติเหตุจากการชัก คือ 1.5 ปี นอกจากนี้พบว่า 36.30% ของผู้ป่วยโรคลมชักที่ขับขี่ยานยนต์แล้วเกิดอุบัติเหตุ ไม่เข้าใจในการขับขี่ยานยนต์ของผู้ป่วยโรคลมชัก สรุป: พบว่า 50% ของการเกิดอุบัติเหตุของผู้ป่วยโรคลมชักที่ขับขี่ยานยนต์ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการชัก ระยะเวลาที่ไม่มีการชักที่น่าจะเหมาะสมในการขับขี่ยานยนต์ คือ มากกว่า 1.5 ปี และพบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งยังไม่มีความเข้าใจในการขับขี่ยานยนต์ในโรคลมชัก ซึ่งคงต้องมีการให้ข้อมูลเพิ่มมากขึ้นต่อไปในอนาคต |
Other Abstract: | Objective: To determine the prevalence of seizure related motor vehicle accidents among the Thai epileptic patients at Epilepsy Center, King Chulalongkorn Memorial Hospital. Methods: From September, 2016- January, 2017, All of the patients at OPD Epilepsy Center, King Chulalongkorn Memorial Hospital were invited to do the self-questionnaire. The patients who have been driven were included to this study. Results: 289 patients in total have been driven, 238 patients still driving nowadays. Overall, males drive(162, 56.06%) more than females(127, 43.94%). 139(49.12%) patients reported to have been in motor vehicle accident. 64(46.38%) patients had motor vehicle accident associated with seizure. Most likely to be motorcycle accident, second is car accident. The number of patients that hold driving license is 149(52.84%). The most precipitating cause of seizure in accident are lack of sleep and stress respectively. Mostly was mild injured from motor vehicle accident and subsided from psychosocial effects of complaining from others. SFI cause by seizure is 1.5 years. Overall of the epileptic patients who had motor vehicle accident, 36.3 % not understand about driving in epilepsy. Conclusion: More than 50% of motor vehicle accident in epileptic patients are not associated with seizure and recommended SFI suitable for driving is more than 1.5 years, some of epileptic patients do not comprehended in driving with epilepsy. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55667 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1244 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1244 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5874080530.pdf | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.