Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5575
Title: การศึกษาวัฏจักรการถ่ายเทความร้อนที่เหมาะสม ในรีเจเนอเรเตอร์แบบโครงอิฐทนไฟ
Other Titles: A study on optimum time cycle of a fireclay brick regenerator
Authors: จิรชนม์ เสรีวิชยสวัสดิ์
Advisors: มิ่งศักดิ์ ตั้งตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fmemtt@kankrow.eng.chula.ac.th
Subjects: ความร้อน -- การถ่ายเท
เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาวัฏจักรการถ่ายเทความร้อนที่เหมาะสมใน Regenerator แบบโครงอิฐทนไฟ โดยสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อทำนายการกระจายอุณหภูมิอากาศและก๊าซเสีย ตลอดจนโครงอิฐทนไฟใน Regenerator ที่ตำแหน่งและเวลาใดๆ และทดสอบแบบจำลองฯ ด้วยการเปรียบเทียบกับผลการทดลอง ซึ่งปรากฏว่า แนวโน้มค่าต่างๆ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยค่าอุณหภูมิอากาศและอุณหภูมิก๊าซเสียที่ไหลออกจาก Regenerator จากค่าในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ได้มีความเบี่ยงเบนค่อนข้างสูง จากค่าที่ตรวจวัดเนื่องจากความร้อนสะสมในอุปกรณ์วัด ตำแหน่งในการวัด การประมาณค่าอุณหภูมิโดยใช้การเฉลี่ย และปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนี้ยังพบว่า วัฏจักรที่ตรวจวัดซึ่งใช้เวลาในวัฏจักร 30 นาที ยังไม่เข้าสู่ Cyclic Equilibrium และ Thermal Ratio ใน Heating Period มีค่ามากกว่าใน Cooling Period จากนั้นได้เปรียบเทียบเพื่อหาแนวโน้มเวลาที่เหมาะสม ซึ่งแต่ละวัฏจักรต้องใช้ในการสะสมหรือถ่ายเทความร้อนของ Regenerator ในเตาถลุงดีบุก อันจะทำให้ได้ปริมาณความร้อนนำกลับมาใช้สูงสุด โดยเทียบผลที่ได้จากแบบจำลองที่ใช้เวลาในวัฏจักรต่างๆ กัน เมื่อวัฏจักรเข้าสู่ Cyclic Equilibrium พบว่า ถ้าใช้เวลาน้อยลงกว่าปัจจุบัน (30 นาที) จะทำให้ได้พลังงานความร้อนนำกลับมาใช้มากขึ้น แต่ถ้าใช้เวลาน้อยเกินไป (4 นาทีลงไป) พลังงานความร้อนนำกลับมาใช้จะมีค่าลดลง โดยวัฏจักรที่ทำให้ได้พลังงานความร้อนนำกลับมาใช้สูงสุดคือ วัฏจักรที่ใช้เวลาในการกลับทิศการไหลของอากาศและก๊าซเสียทุกๆ 529 วินาที หรือประมาณ 8.82 นาที ซึ่งสามารถนำพลังงานความร้อนกลับมาใช้ใหม่ ได้มากกว่าวัฏจักรที่ดำเนินการในปัจจุบัน (30 นาที) เป็น 478,415,436 J/hr หรือเทียบเท่ากับเชื้อเพลิงน้ำมันเตา Type C ที่ประหยัดได้จำนวน 105,378.9 Litre/yr และค่า Thermal Ratio ของ Cooling Period มีค่ามากกว่าของ Heating Period ในทุกวัฏจักร เนื่องจากอัตราการไหลโดยมวลและความจุความร้อนจำเพาะ ที่ความดันคงที่ของอากาศน้อยกว่าก๊าซเสีย แต่พลังงานความร้อนที่สะสมจากการที่ก๊าซเสียถ่ายเทให้โครงอิฐทนไฟ ในช่วง Heating Period มีค่าเท่ากับความร้อนที่โครงอิฐทนไฟถ่ายเทกลับให้อากาศ
Other Abstract: To the seek for optimum time cycle of fireclay brick regenerator. The mathematical model was proposed in order to simulate the temperature distribution of air, flue gas and fireclay brick in regenerator. In addition, the direct measurements were done. The developed mathematical model was verified by comparing its results with the measured values. The comparison found that the trend of them is the same. Although, their results were highly fluctuated to each other. There are four reasons why the simulation results were highly different from the measured values namely, heat accumulation in measuring apparatus, the position of measuring, the use of arithmetic mean in estimation the average value and the external uncontrollable factors. Moreover, from measured values, the present cycle that lasts 30 minutes have not reached "Cyclic Equilibrium". Also, thermal ratio in heating period was higher than that in cooling period. After that, the trend of optimum time cycle was discovered by comparing the simulation results which reached cyclic equilibrium at different times. The results revealed that if the time cycle is less than present (30 minutes), it will gain more heat recovery. Nevertheless, it should not be so less (4 minutes down) that it would cause heat recovery reduced. Furthermore, the cycle that obtained highest heat recovery had to switch the direction of air and flue gas flow in every 529 seconds or about 8.82 minutes. Additionally, when compare with the present cycle (30 minutes), it will achieve heat recovery more than 478,415,436 J/hr or 105,378.9 Litre/yr equivalent to furnace oil type C. Besides, from which mass flow rate and specific heat at constant pressure of air are less than gas's, the heat accumulation of fireclay brick form gas in heating period is equal to the heat dissipation of firclay brick to air as well. Therefore, the thermal ratio in heating period was lower than that in colling period.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5575
ISBN: 9741303629
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jirachon.pdf5.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.