Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56736
Title: | การพัฒนาตัวบ่งชี้และการศึกษาคุณภาพการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชน |
Other Titles: | Development of indicators and the study of educational management quality of community colleges |
Authors: | กาญจนา โตรุ่ง |
Advisors: | อวยพร เรืองตระกูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Auyporn.R@chula.ac.th |
Subjects: | วิทยาลัยชุมชน -- การบริหาร ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา การศึกษาขั้นอุดมศึกษา Community colleges -- Administration Educational indicators Education, Higher |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชน ศึกษาคุณภาพการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชน และจัดทำข้อเสนอในการพัฒนาการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ วิทยาลัยชุมชนจำนวน 12 แห่ง โดยผู้ให้ข้อมูลตอบแบบสอบถามคือ ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่หรือบุคลากร จำนวน 206 คน ผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้การสัมภาษณ์ คือ คณะกรรมการสภาวิทยาลัยชุมชน จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามและแบบสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้านค่าสถิติพื้นฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS โปรแกรม LISREL ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ใช้วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนที่ได้จากการพัฒนามีทั้งหมด 3 ด้าน 13 มาตรฐาน 63 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ มาตรฐานด้านการกำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์และแผนงาน มี 5 ตัวบ่งชี้ ด้านความสามารถของอาจารย์มี 5 ตัวบ่งชี้ ด้านการจัดหลักสูตรมี 2 ตัวบ่งชี้ ด้านคุณลักษณะของผู้บริหารมี 3 ตัวบ่งชี้ ด้านการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์มี 4 ตัวบ่งชี้ ด้านการบริหารจัดการของเครือข่ายมี 3 ตัวบ่งชี้ ด้านการบริหารจัดการการเงินและทรัพยากรมี 4 ตัวบ่งชี้ ด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลมี 5 ตัวบ่งชี้ ด้านระบบประกันคุณภาพภายในมี 5 ตัวบ่งชี้ ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนมี 15 ตัวบ่งชี้ ด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการชุมชนมี 3 ตัวบ่งชี้ ด้านการทำนุบำรุงศาสนาและศิลปวัฒนธรรมมี 3 ตัวบ่งชี้ ด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมี 6 ตัวบ่งชี้ 2) การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ([chi-square] = 32.50, p=0.95, GFI=0.98, AGFI=0.96) น้ำหนักองค์ประกอบทั้ง 3 ด้าน มีค่าเป็นบวก มีขนาดตั้งแต่ 0.89-1.00 โดยด้านกระบวนการมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านผลผลิต ซึ่งตัวบ่งชี้ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านผลผลิตมีความผันแปรร่วมกับตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชน ร้อยละ 100 93 และ 80 ตามลำดับ และผลการตรวจสอบความตรงตามสภาพจริงของคะแนนที่ได้จากตัวบ่งชี้คุณภาพที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นและตัวบ่งชี้คุณภาพของ สมศ. พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .622 3) คุณภาพการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนด้านปัจจัยนำเข้า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี โดยมีวิทยาลัยชุมชนจำนวน 11 แห่ง ที่มีคุณภาพการจัดการศึกษาอยู่ในระดับดี และ 1 แห่ง ที่มีคุณภาพการจัดการศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านกระบวนการและด้านผลผลิต วิทยาลัยชุมชนจำนวน 7 แห่ง มีคุณภาพการจัดการศึกษาอยู่ในระดับดี และ 5 แห่ง อยู่ในระดับปานกลาง 4) ข้อเสนอในการพัฒนาการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนมีจำนวน 11 ด้าน คือ ด้านนโยบาย ด้านกำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์และแผนงาน ด้านความสามารถของอาจารย์ ด้านการจัดหลักสูตร ด้านคุณลักษณะของผู้บริหาร ด้านการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ ด้านการบริหารจัดการของเครือข่าย ด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ด้านระบบประกันคุณภาพภายใน ด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในชุมชน และด้านการทำนุบำรุงศาสนาและศิลปวัฒนธรรม |
Other Abstract: | The purposes of this research were to develop and investigate the quality of educational management indicators and to study an educational management quality and to make an initial offer in the development of educational management of community colleges. Descriptive research methodology was applied. The participants of this research were 12 colleges. The representatives for data collection were 206 executives, instructors and college staffs. There were 36 experts who acted as interviewees from Community College Council committees. The research tools were questionnaires and surveys. The research data were analyzed by SPSS. Additionally, LISREL for Windows was used in the analysis of confirmatory factor analysis and second order confirmatory factor analysis. The data from interview were processed to content analysis. The research results were as follows: 1) Education management quality indicators of community colleges of 3 categories 13 cohorts and 63 indicators as following: philosophy definement, vision, purposes and work plans cohort consisted of 5 indicators, instructor abilities cohort consisted of 5 indicators, curriculum planning cohort consisted of 2 indicators, executive characteristics cohort consisted of 3 indicators, academic learning and instructing cohort consisted of 4 indicators, colleges campus management cohort consisted of 3 indicators, financial and resources management cohort consisted of 4 indicators, human resources development cohort consisted of 5 indicators, internal quality assurance cohort consisted of 5 indicators, student characteristics cohort consisted of 15 indicators, network collaboration building cohort in the community consisted of 3 indicators, religions and arts & cultural preserves cohort consisted of 3 indicators and satisfaction of stakeholders cohort consisted of 6 indicators. 2) The results of construct validity used second order confirmatory factor analysis found that the model was fitted to the empirical data ([chi-square]=32.50, p=0.95, GFI=0.98, AGFI=0.96). Factor loadings of educational management indicators in community colleges in 3 main factors were positive. Their sizes were from 0.89-1.00. The most important factor loading was process, then input and output the last. The model of indicators accounted for 100%, 93% and 80% respectively of variance for educational management quality indicators of community colleges. The result of the correlation of mean validity and the values derived between the indicators developed by the conducted researchers and the indicators evaluated by The Office of National Education Standards and Quality Assessment found that the correlation coefficient value was at .622 3) Educational management quality in community colleges: for input factor, most of all showed good significant level. From the overall samples, 11 colleges showed good significant level and only 1 college showed fair significant level. For the process and output factor, 7 colleges showed the good significant level while the other 5 colleges showed fair significant level. 4) The initial offer in the development of educational management in community colleges comprised of 11 factors: policy, philosophy definement, visions, purposes and work plans, instructor abilities, curriculum planning, executive characteristics, academic learning and instructing, colleges campus management, human resources management, internal quality assurance, community partnerships and religions and arts & cultural preserves. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56736 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.650 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.650 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kanchana_to_front.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
kanchana_to_ch1.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
kanchana_to_ch2.pdf | 6.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
kanchana_to_ch3.pdf | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
kanchana_to_ch4.pdf | 4.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
kanchana_to_ch5.pdf | 1.96 MB | Adobe PDF | View/Open | |
kanchana_to_back.pdf | 7.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.