Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5680
Title: โพรโทคอลการควบคุมการเข้าถึงตัวกลางแบบใหม่บนพื้นฐานของวิธีที่มีการแข่งขันและไม่มีการแข่งขันสำหรับบริการแบบมัลติมีเดียในระบบการสื่อสารไร้สาย
Other Titles: A new media access control protocol based on contention-free and contention-based schemes for multimedia services in wireless communication system
Authors: อัครพล ธนสรวิศ
Advisors: ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: wlunchak@chula.ac.th, lunch@ee.chula.edu
Subjects: ระบบสื่อสารไร้สาย
โปรโตคอลเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบมัลติมีเดีย
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอเทคนิคการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบโพรโทคอลการควบคุมการเข้าถึงตัวกลางบนพื้นฐานของระบบที่มีการแข่งขันและไม่มีการแข่งขัน เพื่อให้ระบบสามารถรองรับบริการ ประเภทมัลติมีเดียได้ตามคุณภาพของการบริการที่ผู้ใช้แต่ละคนต้องการและมีประสิทธิภาพการเข้า ใช้ตัวกลางสูงสุด ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะแยกพิจารณาปัญหาออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้ เริ่มจากปัญหา การชนในช่วงที่ผู้ใช้ร้องขอช่องสัญญาณแบบสุ่มไปยังสถานีฐาน และเมื่อการร้องขอเป็นผลสำเร็จ สิ่งที่ต้องพิจารณาถัดมาคือ ลำดับการบริการที่จัดสรรแก่ผู้ใช้เพื่อให้ได้รับคุณภาพของ การบริการ ตามที่ต้องการ สำหรับปัญหาประการสุดท้ายอันเป็นข้อจำกัดที่มีผลต่อสมรรถนะของระบบโดยตรงคือ รูปแบบโครงสร้างเฟรมของช่องสัญญาณ เนื่องจากการออกแบบโครงสร้างเฟรมที่เหมาะสมสามารถ ลดปัญหาการสูญเสียเนื่องจากการชนได้และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของระบบ เทคนิคที่ นำเสนอเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นแบ่งตามรูปแบบการทำงานได้ 4 แนวทางดังนี้คือ 1. เทคนิค สำหรับลดจำนวนการร้องขอภายในระบบซึ่งประกอบด้วย เทคนิคการจัดสรรช่องสัญญาณแบบกลุ่ม เทคนิคการจัดสรรช่องสัญญาณแบบรายคาบ เทคนิคการจัดสรรช่องสัญญาณแบบผสมระหว่าง รายคาบและกลุ่มเทคนิค PGBK และเทคนิคคิว 2. เทคนิคเพื่อกระจายลักษณะการร้องขอของผู้ใช้ ซึ่งประกอบด้วย เทคนิคการกำหนดค่าโอกาสในการเข้าใช้ตัวกลางทั้งแบบคงที่ และแบบปรับเปลี่ยนได้ ตามสภาวะทราฟฟิก และเทคนิคกระจายตำแหน่งช่องสัญญาณร้องขอ 3. เทคนิคการจัดสรรช่อง สัญญาณของสถานีฐานซึ่งประกอบด้วย การจัดลำดับกลุ่มของการบริการตามเงื่อนไขของสถานะ การทำงานและเงื่อนไขของทราฟฟิก และเทคนิคการจัดช่องสัญญาณตามเวลาการกำเนิดแพ็กเกต (GTS) 4. เทคนิคโครงสร้างช่องสัญญาณแบบปรับเปลี่ยนได้ เทคนิคต่างๆ ที่ได้นำเสนอนี้ได้รับ การออกแบบให้มีความเป็นอิสระจากกัน ดังนั้นผู้ออกแบบสามารถนำเทคนิคเหล่านี้มากกว่าหนึ่งชนิด เข้ามาประยุกต์ใช้รวมในระบบเดียวกันได้ แต่การรวมเทคนิคต่างๆ ที่นำเสนอนี้ผู้ออกแบบจะต้องมี ความรู้และความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการทำงานและข้อจำกัดบางอย่างที่มีในแต่ละเทคนิค อย่างดี การทดสอบและวิเคราะห์ผลของแต่ละเทคนิคที่นำเสนอในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะทำในหลายๆ สภาวะทราฟฟิกเพื่อให้เห็นถึงผลที่เกิดขึ้นภายในระบบอย่างละเอียด ซึ่งจะสามารถใช้เป็นแนวทาง ในการวิเคราะห์และคาดเดาลักษณะของระบบที่ไม่ได้ทำการศึกษาทั้งในปัจจุบันและระบบที่มีใน อนาคตได้ จากผลการทดสอบระบบโพรโทคอลควบคุมการเข้าถึงตัวกลางที่เกิดจากการรวมเทคนิคต่างๆ บางประเภทในข้างต้นพบว่า ระบบสามารถให้ค่าประโยชน์การใช้ช่องสัญญาณสูงถึงกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ ที่ค่าของเวลาประวิงต่ำ เสถียรภาพของระบบที่สูงและสามารถรับประกันคุณภาพของการบริการได้ตามต้องการ
Other Abstract: This thesis presents the design of an effective Media Access Control (MAC) protocol based on contention-free and contention-based schemes for supporting multimedia services in wireless communications. Channel bandwidth is efficiently assigned to each terminal according to the Quality of Services (QoS) required by each traffic type. In this thesis, the protocol design problem is divided into various design aspects as follows. First, each terminal that wishes to transmit a packet has to request for channel reservation on a random basis. Next, once the reservation attempts are successful, the terminal will then wait for the assignment of the information slot for its data transmission. The key aspect of this problem is how to find an appropriate scheduling mechanism to serve each successful terminal. In addition, the frame structure is another important issue that requires careful consideration as it greatly affects the system performance. Appropriate frame structure can help minimize the collision among terminals and result in high efficiency of channel utilization. Four distinct techniques have been proposed for solving the problems described above. They are as follows: 1) technique that reduces the number of requests in the system, namely multiple assignment, periodic assignment, the combination between multiple assignment and periodic assignment, piggybacking (PGBK), and queue 2) technique that avoids collision due to frequently simultaneous in the same request slot by selecting proper access probability with both fixed and dynamic schemes and distributing the request slots over each frame 3) technique that assigns the channel to the mobile terminals at base station, namely priority assignment by group of operation and group of traffic, generation time schedule (GTS) 4) technique that changes and adjusts the frame structure according to the traffic conditions. All these proposed schemes have been designed in such a way that they can operate independently so that the protocol designer can combine and apply simultaneously several schemes into a single system. However, the designer must understand deeply into the advantages and disadvantages of each scheme. As a result, this study aims to provide a full and comprehensive investigation of these schemes in various traffic characteristics. These findings can be used as a guideline to analyze and predict the characteristics and performance of new MAC protocols that currently exist or may emerge in the future. Finally, we have put together some of these schemes to form a new Media Access Control protocol that offers very desirable performance, i.e. 99% throughput, low delay performance, high stability and QoS guaranted.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5680
ISBN: 9741301472
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
akkarapol.pdf7.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.