Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56887
Title: การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Study of the state and problems of the management of Buddhist concept schools under the Office of the Basic Education Commission in Bangkok
Authors: วิไล วิทย์ประเสริฐกุล
Advisors: ปองสิน วิเศษศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pongsin.V@Chula.ac.th
Subjects: โรงเรียนวิถีพุทธ -- การบริหาร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน -- การบริหาร
โรงเรียน -- การบริหาร
Buddhist oriented schools -- Administration
Basic education -- Administration
School management and organization
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกรุงเทพมหานคร โดยใช้กรอบการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธของกระทรวงศึกษาธิการ (สำนักพัฒนานวตกรรมการจัดการศึกษา, 2548) เป็นกรอบการวิจัยซึ่งประกอบด้วย 6 ด้านดังนี้ 1. ด้านการเตรียมการ 2. ด้านการดำเนินการจัดสภาพและองค์ประกอบ 3. ด้านการดำเนินการพัฒนาบุคลากรตามระบบไตรสิกขา 4. ด้านการนิเทศดูแลใกล้ชิด 5. ด้านการปรับปรุงพัฒนาต่อเนื่อง 6. ด้านการประเมินผลและเผยแพร่ผลการดำเนินงาน ประชากร ได้แก่ โรงเรียนวิถีพุทธสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกรุงเทพมหานคร 52 แห่ง ผู้ตอบแบบสอบถามคือ ผู้บริหารโรงเรียน 52 คน หัวหน้าโครงการวิถีพุทธ 52 คน หัวหน้ากลุ่มสาระวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม 52 คน รวมทั้งสิ้น 156 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสำรวจและแบบตรวจเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านการเตรียมการ มีการหาที่ปรึกษา การเตรียมบุคลากร และกำหนดเป้าหมาย ปัญหา 1) การเตรียมนักเรียนคือ นักเรียนยังขาดความเข้าใจแนวปฏิบัติตามแนววิถีพุทธ 2) การเตรียมผู้ปกครองคือ ผู้ปกครองมีภารกิจไม่ให้ความสำคัญกับวิถีพุทธ 3) การเตรียมบุคลากรคือ ขาดความเข้าใจในโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ 2. ด้านการดำเนินการจัดสภาพและองค์ประกอบ มีการจัดหลักสูตรสถานศึกษา มีการจัดแนวการจัดการเรียนรู้ ปัญหา : การเตรียมกิจกรรมนักเรียนคือ ครูขาดความรู้และประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธและขาดงบประมาณ 3. ด้านการดำเนินการพัฒนาบุคลากรตามระบบไตรสิกขา มีการจัดการพัฒนาครูและบุคลากรตามระบบไตรสิกขา ปัญหา : การขาดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง 4. ด้านการนิเทศดูแลใกล้ชิด มีลักษณะความเป็นกัลยาณมิตร ปัญหา : ขาดการนิเทศดูแลใกล้ชิดอย่างต่อเนื่อง 5. ด้านการปรับปรุงพัฒนาต่อเนื่อง มีการนำข้อมูลในการบริหารด้านต่างๆ มาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาต่อเนื่อง ด้านนี้ไม่พบปัญหา 6. ด้านการประเมินผลและเผยแพร่ผลการดำเนินงาน มีการประเมินเมื่อสิ้นสุดแผนปฏิบัติ นำการเผยแพร่หรือรายงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ โดยการจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่ ด้านนี้ไม่พบปัญหา
Other Abstract: To study the state and problems of the management of Buddhist concept schools under the Office of the Basic Education Commission in Bangkok. The population consisted of 52 Buddhist concept schools under the Office of the Basic Education Commission in Bangkok. The questionnaire respondents were 52 school principals, 52 Buddhist Concept Project managers, and 52 Social Studies subject head-teachers. This accounted for 156 respondents. Questionnaires, survey form, and document survey forms were used. All data were analyzed with percentage. The study resulted in the following findings 1. Project preparation: the project consultants and personnel were provided and the project goals were set up. Problems : 1) Students lacked understanding of Buddhist practices 2) Most parents, heavily engaged with their own businesses were not interested in Buddhist practices 3) The school personnel also lacked understanding of concepts on the Buddhist school project. 2. Project organization: school curricula, learning and delivery guidelines and student development activities were prepared. Problems : Teachers lacked the knowledge and experiences in Buddhist concept learning and delivery processes, and the project didn't have enough budgets. 3. The three refuges system development: personnel and teacher development programs, in accordance with three Buddhism refuges, were implemented. Problem : The development program lacked continuity. 4. Project supervision: a mutually friendly supervision was agreed upon. Problem : The project supervising, project monitoring and giving suggestions from parties concerned was not performed on a continuous basis. 5. Continuous project developoment process: most schools reconsidered the preliminary project data and create some measures to improve some on-going tasks continuously. Problem : none 6. Project evaluation and project dissemination: project evaluation at the end of the action plans were to be done and to be published so that all parties concerned would be informed. Problem : none.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56887
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.2022
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.2022
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
vilai_vi_front.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
vilai_vi_ch1.pdf966.26 kBAdobe PDFView/Open
vilai_vi_ch2.pdf8.86 MBAdobe PDFView/Open
vilai_vi_ch3.pdf741.94 kBAdobe PDFView/Open
vilai_vi_ch4.pdf12.68 MBAdobe PDFView/Open
vilai_vi_ch5.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open
vilai_vi_back.pdf4.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.