Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56914
Title: ความเครียดในการปฏิบัติงานของพยาบาลห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Work stress among nurses in emergency room in private hospitals in Bangkok Metropolis
Authors: รวิวรรณ พลวิชัย
Advisors: ดวงใจ กสานติกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความเครียด (จิตวิทยา)
ความเครียดในการทำงาน
พยาบาล -- ความเครียดในการทำงาน
การพยาบาลฉุกเฉิน -- แง่จิตวิทยา
พยาบาล -- แง่จิตวิทยา
Stress (Psychology)
Job stress
Nurses -- Job stress
Emergency nursing -- Psychological aspects
Nurses -- Psychological aspects
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาระดับความเครียดและปัจจัยที่มีผลต่อความเครียด และปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของพยาลบาลห้องฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานประจำในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเอกชน ที่ขึ้นทะเบียนเป็นโรงพยาบาลขนาด 250 เตียงขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครปี 2550 จำนวนทั้งหมด 178 คน จาก 16 โรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามความเครียดสวนปรุง ชุด 60 ข้อ (SPST-60)ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ระดับความไวต่อความเครียด ส่วนที่ 2 ที่มาของความเครียด และส่วนที่ 3 อาการของความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีสถิติเชิงพรรณา Chi-square, Pearson correlation coefficiency, t- test และ Multiple linear regression analysis ตามความเหมาะสม ผลการศึกษาระดับความเครียดและปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของพยาบาลห้องฉุกเฉิน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเครียดในระดับรุนแรงคิดเป็น 16.9% ระดับสูง 28.7% และระดับปานกลาง 36.0% โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความเครียดเท่ากับ 27.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 7.92 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดในการปฏิบัติงานของพยาบาลฉุกเฉิน (p<0.01) คือ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดในการปฏิบัติงาน (p<0.05) ได้แก่ ปัจจัยสาเหตุเรื่องงานและปัจจัยสาเหตุด้านการเงิน เมื่อวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุพบว่า ตัวแปรที่สามารถอธิบายความเครียดในการปฏิบัติงานของพยาบาลฉุกเฉินได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.01 ได้แก่ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และปัจจัยสาเหตุด้านการเงิน (R² = 0.082)
Other Abstract: To explore the level of stress and its associated factors among nurses in emergency room in private hospital in Bangkok Metropolis. One hundred seventy-eight emergency nurses in 16 hospitals were the recruited subjects. The research instruments were a demographic questionnaire and Suanprung stress test (SPST-60). The data were analyzed using descriptive statistics, chi-square, Pearson correlation coefficiency, t- test and multiple linear regression analysis where appropriate. The result of the study of work stress among nurses in emergency room showed 16.9% of the subjects were at severe level, 28.7% at high level and 36% at moderate level with the mean score at 27.3 (S.D. 7.92). The only factor associated to the work stress (p<0.01) was relationship with coworkers while the factors associated to the work stress (p<0.05) were job assignments and financial. When multiple linear regression analysis was used, the result showed only two factors that could indicate their stressor (p<0.01) i.e. the relationship with coworkers and financial (R²= 0.082).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56914
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1224
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1224
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rawiwan_ph_front.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
rawiwan_ph_ch1.pdf752.45 kBAdobe PDFView/Open
rawiwan_ph_ch2.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open
rawiwan_ph_ch3.pdf863 kBAdobe PDFView/Open
rawiwan_ph_ch4.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open
rawiwan_ph_ch5.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
rawiwan_ph_back.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.