Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56948
Title: ปัญหาทางกฎหมายของการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา ภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย - ออสเตรเลีย
Other Titles: The legal problem of the movement of natural person under TAFTA
Authors: จิตติมา จิราพงษ์
Advisors: ชุมพร ปัจจุสานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: No information provided
Subjects: เขตการค้าเสรี -- ไทย -- ออสเตรเลีย
เขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย
คนต่างด้าว -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การค้าเสรี
การย้ายถิ่น
การเคลื่อนย้ายแรงงาน
Free trade area -- Thailand -- Australia
Aliens -- Law and legislation
Free trade
Migration
Labor mobility
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งเน้นศึกษาปัญหาทางกฎหมายของการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา ที่เกิดขึ้นภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 ตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลียดังกล่าวมีลักษณะของข้อผูกพันที่เป็น GATS Plus ซึ่งเป็นข้อผูกพันที่ให้สิทธิประโยชน์แกคนต่างด้าวที่มากกว่าประเทศสมาชิกในองค์การการค้าโลก การที่ต้องมีการเจรจาข้อตกลงฯ นี้ ก็เพื่อผลักดันให้มีการเปิดเสรีที่มากขึ้น ในรูปแบบการให้บริการโดยบุคคลธรรมดา เนื่องจากการเจรจาการเปิดเสรีภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก (WTO) นั้นเป็นไปอย่างล่าช้าและไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร ดังนั้น จึงมีการร่วมมือกันภายใต้กรอบการเจรจาในรูปแบบของทวิภาคีขึ้นด้วยหวังว่า จะทำให้การเจรจาเพื่อเปิดเสรีเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และง่ายยิ่งขึ้น และสามารถตอบสนองความต้องการในอันที่จะให้ประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายได้มากขึ้นด้วย และเมื่อทั้งสองประเทศได้เริ่มการเจรจาจนบรรลุผลเป็นข้อตกลงฯ โดยระบุข้อผูกพันไว้ในส่วนของการให้บริการโดยบุคคลธรรมดา (Mode 4) นี้ มีข้อผูกพันที่ plus มากกว่า GATS หลายประการ ไม่ว่าจะการเปิดให้พ่อครัว-แม่ครัวไทยเข้าไปให้บริการในออสเตรเลีย ตามคุณวุฒิที่ออสเตรเลียรับรอง โดยระบุระดับของคุณสมบัติไว้ในตารางข้อผูกพันด้วย ในส่วนของออสเตรเลียก็ได้ประโยชน์ในการใช้บริการ One Stop Service Center for Visa and Work permit ) ซึ่งเห็นผลเป็นรูปธรรมมากที่สุด แต่ถึงแม้จะเป็น GATS Plus ก็ยังคงมีการเปิดเสรีในระดับที่ต่ำมาก โดยยังคงมีการวางอุปสรรคการเข้าสู่ตลาดระหว่างกัน แต่ทั้งนี้ ทั้งประเทศไทยและออสเตรเลียก็ยังคงต้องการเปิดเสรีเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะใน Mode 4 อันเป็นไปตามหลักการเปิดเสรีแบบก้าวหน้าตามลำดับ (Progressive Liberalization) ซึ่งหลักการนี้มุ่งให้มีการเปิดเสรีเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่ต้องในทันทีค่อยๆ เขยิบการเปิดเสรีในอนาคตก็ได้ อย่างไรก็ตามวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งนำเสนอแนวทางในการจรจาเพื่อเปิดเสรีในอนาคตด้วยการนำเสนอวิถีทางในการปรับปรุงข้อบทในกฎหมายภายในบางฉบับให้เหมาะสมและสร้างความยืดหยุ่นในการเจรจาได้ รวมทั้งยังนำเสนอให้มีการลดอุปสรรคอันไม่จำเป็นโดนการรวมหลักเกณฑ์การพิจารณาการเข้าเมืองและพำนักในราชอาณาจักรชั่วคราวและการทำงานให้เป็นเอกภาพบวกกับให้อยู่ในความรับผิดชอบโดยหน่วยงานเดียว และนำเสนอทฤษฎีและแนวปฏิบัติเพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงานให้เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล รวมถึงการจัดให้มีการยอมรับคุณสมบัติร่วมกัน (MRAs) ของผู้ให้บริการบุคคลธรรมดา เพื่อให้การเจรจาเปิดเสรีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: This thesis focuses on the legal problem on the movement of natural person under the Thai-Australia Free Trade Agreement (TAFTA), which was regulated on 1 January 2005. Such agreement proceeds under GATS Plus commitment, which allows greater privileges to aliens more than it does to the citizen of the World Trade Organizations (WTO) member countries itself. The significance of this agreement is to push forward the freedom of service, provided by natural person, since the current procedure under the WTO structure is relatively delayed and ineffective. Hence, co-operation between the two countries is called for with the hope to facilitate, yet to expedite the procedure, in order to be more responsive to the needs of both parties. When the settlement of the two countries reach its conclusion, Mode 4 commitment will allow more ‘Plus‘ privileges over GATS in several aspects. For example, Thai chefs will be permitted to provide their service/work as appropriately certified and neutralized by Australian government under certain classifications, specified by the agreement. Furthermore, Australia will also gain benefits from being the key one-stop service center for visa and work permit, which is the most obvious result. However, the freedom of the natural persons still appears pretty low despite being under GATS Plus as there are some obstacles in the overlapping market. With this regard, it is important that Thailand and Australia welcome the Mode 4 commitment, by following to the progressive liberalization which aim to achieve the liberalization in a gradual approach. However, this thesis aim to present the way for opening a free negotiation in the future. Achieving the aforesaid, it necessary to be offered the path of adjustment some domestic law for suitable and flexible negotiation. This thesis also offering the reduction unnecessary obstacle by combining principles of consideration of immigration, temporary stay in the kingdom and working. It should be responsible by sole agency and should be present theoretical and practical scheme for developing labor skills which to be accepted by universal standard, including arrangement for acceptance co-qualifications (MRAs) of Service person for efficient in opening a free negotiation.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56948
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.272
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.272
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jittima_ji_front.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
jittima_ji_ch1.pdf817.66 kBAdobe PDFView/Open
jittima_ji_ch2.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open
jittima_ji_ch3.pdf4.39 MBAdobe PDFView/Open
jittima_ji_ch4.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open
jittima_ji_ch5.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
jittima_ji_back.pdf13.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.