Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58172
Title: กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดองค์การที่สร้างความผูกพันของครูและนักเรียน
Other Titles: MANAGEMENT STRATEGIES OF PRIVATE SCHOOLS ACCORDING TO THE CONCEPT OF THE ORGANIZATION THAT ENHANCES ENGAGEMENT OF TEACHERS AND STUDENTS
Authors: ผาสุก สุมามาลย์กุล
Advisors: พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
ปองสิน วิเศษศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pruet.S@Chula.ac.th,pruet.s@chula.ac.th
Pongsin.V@Chula.ac.th
Subjects: โรงเรียนเอกชน
โรงเรียน -- การบริหาร
ความผูกพันต่อองค์การ
ความผูกพัน
Private schools
School management and organization
Organizational commitment
Commitment (Psychology)
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียน แนวคิดความผูกพันของครู และแนวคิดความผูกพันนักเรียน 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารโรงเรียนเอกชน 3) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของการบริหารโรงเรียนเอกชน 4)พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชน ตามแนวคิดองค์การที่สร้างความผูกพันของครูและนักเรียน กลุ่มประชากรคือ โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญจำนวน 3,373 แห่ง ใช้กลุ่มตัวจำนวน 330 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้บริหาร ครูและนักเรียน รวม 873 คน เครื่องมือวิจัย คือแบบสอบถามและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า1.กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดองค์การที่สร้างความผูกพันมี 6 องค์ประกอบ คือ การทำงานที่มีความหมาย ฝ่ายบริหารร่วมปฏิบัติงานและตัดสินใจอย่างเหมาะสม สภาพแวดล้อมการทำงานเชิงบวก การให้โอกาสก้าวหน้า การมีความเชื่อมั่นในภาวะผู้นำ และการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม กรอบแนวคิดความผูกพันของครูต่อโรงเรียน มี 3 องค์ประกอบ คือ พูดถึงโรงเรียนในทางบวก ต้องการทำงานกับโรงเรียนในระยะยาว ทุ่มเทและอุทิศตนทำงานเกินกว่าหน้าที่ด้วยความเต็มใจเพื่องานและเป้าหมายของโรงเรียน และกรอบแนวคิดความผูกพันของนักเรียนต่อโรงเรียน มี 3 องค์ประกอบ คือความผูกพันทางพฤติกรรม ความผูกพันทางอารมณ์ และความผูกพันทางปัญญา 2. สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดองค์การที่สร้างความผูกพันของครูและนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด 3. จุดแข็งคือการที่โรงเรียนสามารถสร้างความเชื่อมั่นในภาวะผู้นำให้แก่ครูและนักเรียน จุดอ่อนคือ การที่โรงเรียนให้โอกาสก้าวหน้าแก่ครูและนักเรียน สภาพสังคมและเทคโนโลยีเป็นโอกาส และ สภาพเศรษฐกิจ การเมืองและนโยบายรัฐบาล เป็นภาวะคุกคาม 4.กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดองค์การที่สร้างความผูกพันของครูและนักเรียนประกอบด้วย 6 กลยุทธ์หลัก คือ 1)เสริมสร้างโอกาสความก้าวหน้าของครูและนักเรียนอย่างต่อเนื่อง 2)ปรับเปลี่ยนการทำงานของครูและนักเรียนให้เป็นการทำงานที่มีความหมายด้วยเทคโนโลยีและกิจกรรมสร้างสรรค์ 3) เร่งพัฒนาการให้ความช่วยเหลือ ร่วมปฏิบัติงาน ร่วมคิด ตัดสินใจในการปฏิบัติงานของครูและกิจกรรมการเรียนของนักเรียน 4) พัฒนาสภาพแวดล้อมการทำงานเชิงบวกให้เป็นกลไกพื้นฐานในการสร้างความผูกพันของครูและนักเรียนอย่างต่อเนื่องยาวนาน 5) ยกระดับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมต่อครูและนักเรียนอย่างมีนวัตกรรม 6) พัฒนาความไว้วางใจในภาวะผู้นำให้มั่นคง โดยมีกลยุทธ์รอง 12 กลยุทธ์ และ 46 วิธีดำเนินการ
Other Abstract: The purposes of this study were to study 1) conceptual framework of school management , teachers engagement and students emgagement2) the current and desirable states of private school management 3) strengths, weaknesses, opportunities and threats of private school management and 4) to develop management strategies of private schools according to the concept of the organization that enhances engagement of teachers and students. The population are 3,373 private schools that provided basic education. The 873 respondents comprised of administrators, teachers and students from 330 private schools. The research instruments in this study included the questionnaires and the evaluation form. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation , PNImodified and content analysis. Findings showed that: 1) The conceptual framework of school management according to the concept of the organization that enhances engagement was composed of meaningful work, hands-on management, positive work environment, growth opportunity, trust in leadership and equity. The conceptual framework of teachers engagement was composed of say, stay and strive. The conceptual framework of students engagement was composed of behavioral, emotional and cognitive engagement. 2) The current state was at high level state in overall and the desirable state was at the highest level in overall. 3) The strength was ‘trust in leadership’, the weakness was ‘growth opportunity’, the opportunities were ‘society and technology’ and the threats were ‘policy and economics’. 4) The management strategies of private schools according to the concept of the organization that enhances engagement of teachers and students consisted of 6 key strategies: 1) enhance teachers and students’ growth opportunity continuously. 2) transform teachers’ working and students’ studying to meaningful work by technology and creative activities. 3) accelerate development of supporting, collaboration, and decision making in teachers’ working and students’ learning activities. 4) develop positive working environment as a protocol to keep enhancing teachers’ and students’ engagement. 5) raise teachers’ and students’ equity innovatively. 6) develop trust in leadership confirmly. There were 12 sub-strategies and 46 procedures.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58172
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1005
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1005
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684248127.pdf10.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.