Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58465
Title: | ประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับผู้มีอำนาจเหนือตลาดร่วมกันและพฤติกรรมการใช้อำนาจเหนือตลาดร่วมกันโดยมิชอบ |
Other Titles: | Legal issues on collective dominance and anti-competitive conducts |
Authors: | พีรพงศ์ จงไพศาลสกุล |
Advisors: | ศักดา ธนิตกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sakda.T@Chula.ac.th,TSAKDA@chula.ac.th |
Subjects: | การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม กฎหมายพาณิชย์ พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 Competition, Unfair Commercial law |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การกำกับดูแลพฤติกรรมการใช้อำนาจเหนือตลาดอย่างไม่เป็นธรรมของผู้ประกอบการ ซึ่งมีสถานะเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดในประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นไปโดยอาศัยพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 มาตรา 50 ซึ่งมีองค์ประกอบที่ต้องพิจารณาแบ่งออกเป็น 2 ประการ ได้แก่ ประการแรกคือ ผู้ประกอบการจะต้องมีสถานะเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด และอีกประการหนึ่งคือ ผู้ประกอบการนั้นมีพฤติกรรมตามมาตรา 50 (1) - (4) อย่างไรก็ดี จากการศึกษาพบว่าบทบัญญัติดังกล่าวนั้น ไม่สามารถปรับใช้แก่พฤติกรรมการใช้อำนาจเหนือตลาดร่วมกันอย่างไม่เป็นธรรมของผู้ประกอบการหลายราย เนื่องจากการพิจารณาสถานะของการเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย เป็นการพิจารณาสถานะดังกล่าวของผู้ประกอบการแต่ละรายแยกต่างหากจากกัน ในการปรับใช้บทบัญญัติดังกล่าวจึงปรับใช้แก่พฤติกรรมของผู้ประกอบการรายหนึ่งๆ ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการกำกับดูแลพฤติกรรมการใช้อำนาจเหนือตลาดอย่างไม่เป็นธรรมของผู้ประกอบการหลายราย ดังนั้น จึงควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาสถานะของการเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดและบทบัญญัติมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ให้ครอบคลุมถึงพฤติกรรมการใช้อำนาจเหนือตลาดร่วมกันอย่างไม่เป็นธรรมของผู้ประกอบการหลายราย โดยนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ประเทศสิงคโปร์ และประเทศมาเลเซียซึ่งมีความชัดเจน และกำกับดูแลพฤติกรรมดังกล่าวได้อย่างเหมาะสมมาเป็นต้นแบบ |
Other Abstract: | Currently, the anti-competitive conducts of the business operator with market domination has been controlled by section 50 of the Trade Competition Act B.E.2560. There are two elements, first, the business operator must have the status of the dominant position, and second, that business operator must have the conduct under section 50 (1) - (4). However, this study has shown that this provision cannot be applied to the abuse of collective dominant position of more than two business operators since the determination of dominant position by the guideline that was issued by the Thai Competition Commission determines the status of each business operator. So, this provision can only be applied to the conduct of each business operator that causes the problem in controlling the abusive conduct by the business operators which have a collective dominant position. Therefore, in controlling the conduct of the business operators, there should be an improvement of the criteria of determining the dominant position of the business operator, both in the guideline and section 50 of the Trade Competition Act B.E.2560. This should be carried out by using the competition law of the European Union, Singapore and Malaysia to be the models which are clear and appropriate. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58465 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.964 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.964 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5886005534.pdf | 4.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.