Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58656
Title: ผลกระทบของกิจกรรมนันทนาการตามกระแสนิยมเกาหลีต่อพฤติกรรมนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The impacts of recreational activities towards korean trends on university student's behavior in bangkok metropolis
Authors: สมภพ ตังตา
Advisors: เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Tepprasit.G@chula.ac.th
Subjects: วัฒนธรรมสมัยนิยม -- อิทธิพลเกาหลี
นักศึกษา -- นันทนาการ
นักศึกษา -- นันทนาการ -- ไทย
Popular culture -- Korean influences
College students -- Recreation
College students -- Recreation -- Thailand
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลกระทบของกิจกรรมนันทนาการตามกระแสนิยมเกาหลีและพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการตามกระแสนิยมเกาหลีของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเพื่อเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล หาความเที่ยงได้ r = 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า ที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า ประเภทกิจกรรมที่เข้าร่วม คือ ด้านกิจกรรมการละคร สาเหตุที่ทำให้เข้าร่วมกิจกรรม คือ ต้องการการพักผ่อนและหนีความเครียด มีความสุขกับโลกแห่งจินตนาการ บริเวณที่เข้าร่วมกิจกรรม คือ บ้าน ประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรม คือ ต่ำกว่า 6 เดือน ปริมาณการเข้าร่วมกิจกรรม คือ น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ความถี่ต่อสัปดาห์ในการเข้าร่วมกิจกรรม คือ น้อยกว่า 3 ครั้ง ผลต่อการเงินของการเข้าร่วมกิจกรรม คือ ไม่มีปัญหาด้านการเงิน เนื่องจากการเข้าร่วมกิจกรรม ลักษณะของกิจกรรมที่ดึงดูดให้เข้าร่วม คือ กิจกรรมมีความแปลกใหม่ น่าสนใจ น่าค้นหาในยุคสมัยนี้ นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่ ได้รับผลกระทบโดยรวมจากการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการตามกระแสนิยมเกาหลีเชิงลบ มีผลกระทบอยู่ในระดับน้อย ซึ่งพบว่า ด้านที่นิสิตนักศึกษาได้รับผลกระทบลำดับแรก คือ ด้านสังคม โดยได้รับผลกระทบในระดับปานกลาง รองลงมา คือ ด้านวัฒนธรรม โดยได้รับผลกระทบในระดับน้อย ในขณะที่สิ่งที่ นิสิตนักศึกษาได้รับผลกระทบน้อยที่สุด คือ ด้านการเรียน โดยมีผลกระทบอยู่ในระดับน้อย และได้รับผลกระทบโดยรวมจากการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการตามกระแสนิยมเกาหลีเชิงบวก อยู่ในระดับผลกระทบปานกลาง ซึ่งพบว่า สิ่งที่ นิสิตนักศึกษาได้รับผลกระทบลำดับแรก คือ ด้านจิตใจ โดยโดยมีผลกระทบอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา คือ ด้านวัฒนธรรม โดยได้รับผลกระทบในระดับปานกลาง ในขณะที่สิ่งที่นิสิตนักศึกษาได้รับผลกระทบน้อยที่สุด คือ ด้านการเรียน โดยได้รับผลกระทบในระดับน้อยผลการเปรียบเทียบข้อมูลทั่วไปของนิสิตนักศึกษากับผลกระทบของกิจกรรมนันทนาการตามกระแสนิยมเกาหลี พบว่า 1. นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชน ได้รับผลกระทบโดยรวมทั้งเชิงบวกและเชิงลบของกิจกรรมนันทนาการตามกระแสนิยมเกาหลีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. นิสิตนักศึกษาที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกันได้รับผลกระทบโดยรวมทั้งเชิงบวกและเชิงลบของกิจกรรมนันทนาการตามกระแสนิยมเกาหลีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นิสิตนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกันได้รับผลกระทบโดยรวมทั้งเชิงบวกและเชิงลบของกิจกรรมนันทนาการตามกระแสนิยมเกาหลีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: This research was to study the impact of popularity of Korean culture to Thai college student behavior within Bangkok area. The study group was 400 Thai college students from Bangkok area. The questionnaires was constructed by researcher with face validity and reliability r = 0.96 to collect information and analyze using percentage, average, standard deviations, t-test, one-way ANOVA and Scheffé Tests with the significant level at 0.05 The study found that popularity of Korean culture has impact on most of the respondents. Most of the respondents watch drama and the reason was because this recreational activity help reduce stress. Most respondents responded that location for participation was at home, experience of participation was less than 6 months, amount of participation was less than 1 hour, frequency per week of participation was less than 3, and there was no financial impact for participation in these recreational activities. Most respondents agree that attractiveness of Korean culture was because of new novelty experience. Negative effects from popularity of Korean culture were social skill, culture, and education. On another hand, positive effects are emotion, culture, and education in respectively. Study of relationship between variables found that 1. The different between private and public university students has effect on the effects of popularity of Korean culture. 2. The different between personal incomes has effect on the effects of popularity of Korean culture. 3. The different between successfulness of individual education has effect on the effects of popularity of Korean culture.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58656
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.435
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.435
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sompob Thungtha.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.