Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5919
Title: | ประสิทธิผลของโครงการ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตต่อสมรรถภาพ ในการทำงานในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบคงที่ |
Other Titles: | The effects of intensive lifestyle modification program on functional capacity in stable coronary artery disease patients |
Authors: | โสภิดา รัตนพฤกษ์ |
Advisors: | สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ สุพจน์ ศรีมหาโชตะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Somkiat.S@chula.ac.th Supot.S@chula.ac.th |
Subjects: | หลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผิดปรกติ การดำเนินชีวิต |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาถึงประสิทธิผลของโครงการการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต (intensive lifestyle modification program; ILM program) ต่อสมรรถภาพในการทำงานในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบคงที่ ในช่วงระยะเวลา 4 เดือน วิธีการวิจัย : ได้ทำการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบคงที่จำนวน 42 ราย ซึ่งมีระดับ คลอเรสเตอรอลชนิดแอลดีแอล (low-density lipoprotein cholesterol; LDL-C) น้อยกว่า 190 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยได้ทำการสุ่มตัวอย่างผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ศึกษา (ILM group) จำนวน 22 ราย ซึ่งจะได้รับการรักษา โดยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตอย่างเคร่งครัด โดยการรับประทานอาหารไขมันต่ำ เน้นผักและผลไม้เป็นหลัก การหยุดสูบบุหรี่ การผ่อนคลายความเครียดโดยการสร้างจินตภาพ การออกกำลังกาย และการมีกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน และกลุ่มควบคุมจำนวน 20 ราย ซึ่งจะได้รับการรักษาตามปกติ โดยทำการเปรียบเทียบสมรรถภาพในการทำงานโดยใช้ตัววัดคือ การเดินสายพาน (exercise stress test; EST) และการเดินจับเวลา 6 นาที (six-minute walk test) ทำการศึกษาเป็นเวลา 4 เดือน ผลการศึกษา : สมรรถภาพในการทำงาน ในผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่ม ILM พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น จากการประเมินโดยใช้ EST เป็นตัววัดพบว่า mean functional capacity เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 1.01 METs (95% CI, 0.34 - 1.68 METs; P = 0.005) ในขณะที่กลุ่มควบคุมมี mean functional capacity เพิ่มขึ้นเพียง 0.20 METs (95% CI, -0.24 - 0.64 METs; P = 0.354) และเมื่อเปรียบเทียบ mean functional capacity ที่เพิ่มขึ้นในกลุ่ม ILM พบว่า มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (0.81 METs, 95% CI, 0.01 - 1.60 METs; P = 0.047) สำหรับการวัดระยะทางการเดิน 6 นาที พบว่ากลุ่ม ILM มีระยะการเดินที่เพิ่มมากขึ้น 24.31 เมตร (95% CI, 3.02 - 45.60 เมตร; P = 0.027) ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีระยะการเดินที่ลดลง 2.58 เมตร (95% CI, 20.29 - 25.45 เมตร; P = 0.816) แต่เมื่อเปรียบเทียบระยะการเดินที่เพิ่มมากขึ้นในกลุ่ม ILM เทียบกับกลุ่มควบคุม ไม่พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (26.89 เมตร; 95% CI, -3.34 - 57.12 เมตร; P = 0.08) ข้อสรุป : การรักษาโดยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตในช่วงระยะเวลา 4 เดือน สามารถเพิ่มสมรรถภาพในการทำงาน ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบคงที่ได้ |
Other Abstract: | Objectives : To study the short-term effects of an intensive lifestyle modification program (ILM program) on functional capacity in Thai stable coronary artery disease patients. Methods : We enrolled forty-two asymptomatic or mild angina pectoris patients, who had a serum level of low-density lipoprotein cholesterol (LDL-C) less than 190 mg per deciliter. Patients were randomized into 2 groups: 22 patients attended an ILM program (low-fat plant-based diet, smoking cessation, stress management, moderate exercise and group psychosocial support without lipid-lowering agents) and 20 patients received a conventional-care (control group) for 4 months. Exercise stress test (EST) and 6-minute walk test were performed at baseline and at the end of study. Results : The patients in ILM group demonstrated significant more improvements in mean functional capacity than the control group. Mean functional capacity in the ILM group increased 1.01 METs (95% CI, 0.34 to 1.68 METs; P = 0.005) whereas the control group increased 0.20 METs (95% CI, -0.24 to 0.64 METs; P = 0.354). The increment of mean functional capacity in the ILM group was significantly higher than the control group (0.81 METs, 95% CI, 0.01 to 1.60 METs; P = 0.047). Mean walking distance in 6 minutes in the ILM group increased 24.31 meters (95% CI, 3.02 to 45.60 meters; P = 0.027) whereas the control group decreased 2.58 meters (95% CI, 20.29 to 25.45 meters; P = 0.816). The increment of mean walking distance in the ILM group was higher than the control group, but had no statistically significant (26.89 meters, 95% CI, -3.34 to 57.12 meters; P = 0.08). Conclusions : In low-risk patients with stable coronary artery disease, the patients who attended ILM program demonstrated an improvement in functional capacity compared with a control group. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5919 |
ISBN: | 9741797516 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sopida.pdf | 685.75 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.