Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59599
Title: | บทบาทของชุมชนในการฟื้นฟูตลาดเก้าห้องเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดสุพรรณบุรี |
Other Titles: | THE ROLE OF COMMUNITY IN RESTORATION OF KAO - HONG MARKET FOR SUSTAINABLE TOURISM IN SUPHANBURI PROVINCE |
Authors: | วชิรภรณ์ สกุลดิษฐ |
Advisors: | ศยามล เจริญรัตน์ สุวัฒนา ธาดานิติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Sayamol.C@Chula.ac.th,Saya21@yahoo.com Suwattana.T@Chula.ac.th |
Subjects: | การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว Sustainable tourism |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงพัฒนาการของชุมชนตลาดเก้าห้อง 2) เพื่อศึกษาบทบาทของชุมชนในการฟื้นฟูชุมชนตลาดเก้าห้อง 3) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเสนอแนะแนวทางการฟื้นฟูและการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนตลาดเก้าห้อง อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ยั่งยืน การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 กลุ่มได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ กลุ่มผู้ถือครองที่ดิน กลุ่มผู้อาศัยอยู่ในชุมชน และ กลุ่มนักท่องเที่ยว ผลการศึกษาการวิจัยพบว่า 1) บริบทชุมชนจากพัฒนาการของชุมชนตลาดเก้าห้อง แบ่งออกเป็น 6 ยุค ได้แก่ ยุคการตั้งถิ่นฐาน ยุคขยายตัวสู่ยุครุ่งเรือง ยุคเศรษฐกิจซบเซาช่วงที่ 1 ยุคเริ่มต้นการฟื้นฟูชุมชน ยุคเศรษฐกิจซบเซาช่วงที่ 2 และยุคการฟื้นฟูด้วยการหนุนเสริมการท่องเที่ยว พัฒนาการของชุมชนแสดงให้เห็นว่า ชุมชนมีเอกลักษณ์เป็นตลาดเก่าที่ตั้งที่อยู่บริเวณริมน้ำ มีความโดดเด่นในด้านการค้าและเศรษฐกิจมาตั้งแต่อดีตและมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่สะท้อนผ่านประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อและรูปแบบสถาปัตยกรรมบ้านเรือนที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน 2) บทบาทของชุมชนมีความเด่นชัดในช่วงยุคแห่งการฟื้นฟูชุมชนเมื่อเกิดโครงการฟื้นฟูด้านต่างๆ และชุมชนเริ่มมีบทบาทในการทำงานร่วมกัน 3) การทำงานของชุมชนในรูปแบบเครือข่ายและขั้นตอนการมีส่วนร่วมเป็นบทบาทสำคัญของชุมชนในการฟื้นฟู ชุมชนตลาดเก้าห้องมีการเข้าถึงข่าวสาร การปรึกษาหารือ และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้อย ทำให้โครงการไม่มีประสิทธิภาพ 4) แนวทางการฟื้นฟูชุมชนจะต้องมุ่งเน้นการสร้างบทบาทของคนในชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง และมีบทบาทในการขับเคลื่อนอย่างชัดเจนในทุกกระบวนการ และทุกขั้นตอน โดยต้องอยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจในการทำงานร่วมกันทั้งกับคนภายในชุมชน และหน่วยงานภายนอก ดังนั้นในการฟื้นฟูชุมชนตลาดเก้าห้องต้องสร้างคนรุ่นใหม่ และส่งเสริมให้มีบทบาทในชุมชนมากขึ้น เพื่อเป็นหลักในการขับเคลื่อนการฟื้นฟูชุมชนในอนาคต เพื่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน |
Other Abstract: | The objectives of the study were to study the development of Kao Hong market, to study the roles of community in Kao Hong market restoration for sustainable development and to offer guidance in community participation for restoration and development at Kao Hong market, Bang Pla Ma District, Suphanburi Province. The research is qualitative study with participant observation and non - structured interview. The groups of leader, government officer, landlord, people in the community and tourist were key informant. The results of the study found that 1) Kao Hong market’s evolution can be divided into 6 periods; settlement period, prosperity period, first economic depressions period, community restoration period, second economic depressions period and community restoration with tourism. Evolution of Kao Hong market shown that this community is unique from its location which on the waterfront so trade and economic has boomed since the past and cultural diversity which was reflected in the culture, tradition, belief and architecture in nowadays 2) community’s role was prominent during in community restoration period when restoration projects were established so people in the community started to work together 3) Networking and participation process are important roles for community working in community restoration. In Kao Hong market, the low in getting project information, consulting with relevant agencies and having participation in management of all restoration projects make projects incompetent. 4) Community restoration focuses on strengthening the role of the people who was voluntary in working together with the people within the community and external agencies to driving the community. Kao Hong market restoration has to build a new generation and support more community’s role for sustainable tourism. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พัฒนามนุษย์และสังคม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59599 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1142 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1142 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5787227620.pdf | 9.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.