Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60046
Title: | แนวทางของระบอบกฎหมายในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลในพื้นที่นอกเขตอำนาจรัฐ |
Other Titles: | TREND OF A LEGAL REGIME FOR MANAGEMENT OF MARINE BIODIVERSITY IN AREAS BEYOND NATIONAL JURISDICTION |
Authors: | นิพิฐพนธ์ ฮุ่นตระกูล |
Advisors: | ชุมพร ปัจจุสานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chumphorn.P@Chula.ac.th,Chumphorn.P@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พื้นที่นอกเขตอำนาจรัฐ (areas beyond national jurisdiction) ซึ่งได้แก่ทะเลหลวงและบริเวณพื้นที่ (the Area) มีขนาดกว้างใหญ่ไพศาลและเป็นแหล่งของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด ในปัจจุบัน มีการใช้สิ่งมีชีวิตในรูปแบบใหม่โดยอาศัยคุณสมบัติทางพันธุกรรมและมีการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมต่อความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศโดยเฉพาะที่กำหนดหลักเกณฑ์การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 1992 มีขอบเขตการใช้บังคับเฉพาะกับความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ภายใต้เขตอำนาจของรัฐภาคี ส่วนอนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ก็ไม่มีบทบัญญัติที่กล่าวถึงความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลโดยตรง จึงนำมาสู่ปัญหาที่น่าพิจารณาว่า ในปัจจุบันมีกฎหมายระหว่างประเทศใดบ้างที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลในพื้นที่นอกเขตอำนาจรัฐ และหากกฎหมายที่มีอยู่ไม่เพียงพอ จะมีหนทางแก้ไขสถานการณ์ในปัจจุบันเพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์และการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลอย่างยั่งยืนได้อย่างไร ผลการศึกษาพบว่า กฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลในพื้นที่นอกเขตอำนาจรัฐ เนื่องจากมุ่งเน้นกำหนดหลักเกณฑ์การอนุรักษ์จัดการชนิดพันธุ์บางอย่างที่มีการแสวงประโยชน์เป็นหลัก โดยให้น้ำหนักแก่การคุ้มครองระบบนิเวศอย่างเป็นองค์รวมน้อยกว่า ซึ่งจะเห็นได้จากบทบัญญัติที่กำหนดเพียงหลักการทั่วไป แม้จะมีกฎหมายบางฉบับกำหนดมาตรการปฏิบัติแต่ก็มีขอบเขตการใช้บังคับไม่ครอบคลุมพื้นที่นอกเขตอำนาจรัฐทั้งหมด อีกทั้งยังไม่มีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ทรัพยากรพันธุกรรมทางทะเลในพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้น จึงจำเป็นต้องจัดทำความตกลงฉบับใหม่เพื่อวางระบอบกฎหมายเฉพาะในการอนุรักษ์และการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลในพื้นที่นอกเขตอำนาจรัฐอย่างยั่งยืน โดยกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมทางทะเล การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพโดยใช้มาตรการคือพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งให้ความคุ้มครองอย่างครอบคลุมทั้งระบบนิเวศและชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิตจากผลกระทบของกิจกรรมต่างๆ การเสริมสร้างความสามารถและการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อให้รัฐภาคีโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาสามารถใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่ที่ความตกลงกำหนด รวมถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับองค์กรและกลไกในการดำเนินการตามความตกลง และกระบวนการเกี่ยวกับการปฏิบัติตามและการบังคับใช้กฎหมาย |
Other Abstract: | Areas beyond national jurisdiction including high seas and the Area cover vast marine areas and contain diverse living organisms. Nowadays, new uses of marine living organisms relying on their genetic properties and activities that cause marine biodiversity degradation in such areas are increasing continuously. However, there is currently no specific international law regulating management of marine biodiversity in such areas since the Convention on Biological Diversity 1992 only applies to biodiversity under the contracting parties’ national jurisdiction and the United Nations Convention on the Law of the Sea 1982 does not directly mention marine biodiversity. This raises the question whether there exists international law addressing the management of marine biodiversity in areas beyond national jurisdiction and if existing laws are inadequate, how to address the status quo in order to achieve the conservation and sustainable use of marine biodiversity. The results of the study show that the existing international law does not sufficiently address the management of marine biodiversity in areas beyond national jurisdiction since they mainly focus the conservation and management of some species that are being exploited and less considerations are given to the protection of ecosystems as a whole as can be seen in the general provisions. Although some laws impose measures to protect the ecosystems, their scope of application do not cover the entire areas beyond national jurisdiction. Moreover, there exists no law regulating the utilization of marine genetic resources in such areas. Consequently, there is a need for a new international agreement setting a specific legal regime for the conservation and sustainable use of marine biodiversity in areas beyond national jurisdiction. The new agreement would lay down the rules concerning the utilization of marine genetic resources; conservation of marine biodiversity through measures such as marine protected areas and environmental impact assessments which provide comprehensive protection of ecosystems and species from the impacts of various activities; capacity-building and technology transfer to assist states parties, particularly developing countries to fulfill their rights and obligations under the agreement; institutions and mechanisms to implement the agreement; and compliance and enforcement procedures. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60046 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.960 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.960 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5786002534.pdf | 10.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.