Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60083
Title: ความสัมพันธ์ระหว่าง บุคลิกภาพ สัมพันธภาพในการปรึกษา และความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจ ในผู้ที่มีประสบการณ์รับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
Other Titles: RELATIONSHIPS AMONG PERSONALITY, WORKING ALLIANCE, AND POSTTRAUMATIC GROWTH AMONG INDIVIDUALS WITH COUNSELING SERVICE EXPERIENCES
Authors: ชิชยะ ศรีชัยสวัสดิ์
Advisors: อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Arunya.T@Chula.ac.th,atuicomepee@gmail.com
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง บุคลิกภาพ สัมพันธภาพในการปรึกษา และความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีประสบการณ์รับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา จำนวน 132 คน อายุเฉลี่ยเท่ากับ 23.77 ± 5.72 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) มาตรวัดบุคลิกภาพแบบห้าองค์ประกอบ 2) มาตรวัดสัมพันธภาพในการปรึกษา ฉบับย่อ: สำหรับผู้รับบริการ และ 3) มาตรวัดความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจภาษาไทย ฉบับย่อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า บุคลิกภาพแบบไม่มั่นคงทางอารมณ์ มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.42, p < .01) ในขณะที่บุคลิกภาพแบบเปิดเผย บุคลิกภาพแบบคล้อยตาม บุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึก และสัมพันธภาพในการปรึกษา มีค่าสหสัมพันธ์ทางบวกกับความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .44, .22, .39 และ .26 ตามลำดับ, p < .01) ส่วนบุคลิกภาพแบบเปดรับประสบการณ์ใหม่ มีค่าสหสัมพันธ์ทางบวกกับความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .19, p < .05) นอกจากนี้ บุคลิกภาพแบบห้าองค์ประกอบ (ได้แก่ แบบไม่มั่นคงทางอารมณ์ แบบเปิดเผย แบบเปดรับประสบการณ์ใหม่ แบบคล้อยตาม และแบบมีจิตสำนึก) และสัมพันธภาพในการปรึกษา สามารถร่วมกันทำนายความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และอธิบายความแปรปรวนของความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจร้อยละ 36 (R2 = .36, p < .01) โดยบุคลิกภาพแบบไม่มั่นคงทางอารมณ์มีน้ำหนักในการทำนายสูงที่สุด (β = -.32, p < .01) ส่วนบุคลิกภาพแบบเปิดเผยและสัมพันธภาพในการปรึกษา มีน้ำหนักในการทำนายลำดับรองลงมา (β = .27 และ .23 ตามลำดับ, p < .01) ในขณะที่บุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึกมีน้ำหนักในการทำนายต่ำที่สุด (β = .17, p < .05)
Other Abstract: This study aimed to examine the relationship among personality, working alliance, and posttraumatic growth. Participants were 132 individuals with counseling service experiences. Their mean age was 23.77 ± 5.72 years old. Research instruments were Big Five Inventory, Working Alliance Inventory - Short Form: Client Version, and the Posttraumatic Growth Inventory - Short Form. Pearson’s product-moment correlation coefficient and multiple regression analysis were used to analyse the data. Findings revealed that neuroticism was significantly and negatively correlated with posttraumatic growth (r = -.42, p < .01). Extraversion, agreeableness, conscientiousness, and working alliance were significantly and positively correlated with posttraumatic growth (r = .44, .22, .39 and .26 respectively, p < .01). Openness to experience was significantly and positively correlated with posttraumatic growth (r = .19, p < .05) Further, five-factor personality (including neuroticism, extraversion, openness to experience, agreeableness, and conscientiousness) and working alliance significantly predicted posttraumatic growth and accounted for 36 percent of the total variance (R2 = .36, p < .01). Neuroticism was the most significant predictor of posttraumatic growth (β = -.32, p < .01). Extraversion and working alliance were also significant predictors of posttraumatic growth (β = .27 and .23 respectively, p < .01). While conscientiousness was the least significant predictor of posttraumatic growth (β = .17, p < .05).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60083
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.798
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.798
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5877605638.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.