Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60259
Title: แนวทางในการพัฒนาความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก
Other Titles: The guideline for developing of child pornography law
Authors: ธัญทิพ เสนชัย
Advisors: ณัชพล จิตติรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Natchapol.J@chula.ac.th,natchapol.j@chula.ac.th
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก รวมทั้งศึกษาแนวความคิด รูปแบบ และเนื้อหาของมาตรการทางกฎหมายเพื่อป้องกันการกระทำในลักษณะดังกล่าวในต่างประเทศ เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาบทบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็กให้เหมาะสมกับประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า นิยามของสื่อลามกอนาจารเด็กตามประมวลกฎหมายอาญายังขาดความชัดเจน เนื่องจากถ้อยคำตามตัวบทกฎหมายยังมีความคลุมเครือในประเด็นสื่อลามกอนาจารเด็กที่ไม่ปรากฏภาพของเด็กจริง นอกจากนี้กฎหมายสื่อลามกอนาจารเด็กของประเทศไทยยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายในการปราบปรามการกระทำความผิดกรณีที่ผู้กระทำความผิดอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจที่เด็กมีต่อตนในการกระทำความผิดและไม่มีการกำหนดข้อยกเว้นความรับผิดเกี่ยวสื่อลามกอนาจารเด็กไว้แต่อย่างใด เมื่อพิจารณาจากมาตรการทางกฎหมายในต่างประเทศพบว่า ประเทศอังกฤษ ประเทศแคนาดา ประเทศฝรั่งเศส และประเทศญี่ปุ่น มีมาตรการทางกฎหมายที่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาสื่อลามกอนาจารเด็กในประเด็นต่าง ๆ ทั้งในเรื่ององค์ประกอบความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก เหตุฉกรรจ์ในความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก และข้อยกเว้นความรับผิดในความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงเสนอแนะให้แก้ไขนิยามของสื่อลามกอนาจารเด็กตามประมวลกฎหมายอาญาให้ครอบคลุมถึงสื่อลามกอนาจารเด็กที่ไม่ปรากฏภาพของเด็กจริง อีกทั้งกำหนดเหตุฉกรรจ์กรณีผู้กระทำความผิดอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจที่เด็กมีต่อตนในการกระทำความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก และกำหนดแนวทางในการพิจารณาข้อยกเว้นความรับผิดกรณีการกระทำที่มิได้เป็นไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเพศให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยนำแนวทางตามมาตรการทางกฎหมายในต่างประเทศมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยเพื่อประโยชน์สูงสุดในการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กและปราบปรามสื่อลามกอนาจารเด็ก
Other Abstract: This thesis aims to study the problems and legal measures of child pornography in Thailand. The thesis also studies the concepts, patterns and contents of legal measures for child pornography in the foreign countries in order to propose the appropriate legal measures for Thailand. The study shows that there is vagueness in the definition of child pornography in Criminal Code of Thailand. Moreover, there are no legal measures to deal with the abuse of trust and the exclusion of liability in child pornography case. Comparing with foreign legal measures, England, Canada, France and Japan have legal measures for suppressing child pornography which cover many problematic issues such as elements of child pornography crime, aggravated circumstances and exclusion of liability. Consequently, the author of this thesis suggests that Thailand should amend child pornography law by including virtual child pornography and regulate the abuse of trust as an aggravated circumstance in child pornography cases. Moreover, there should be a proper guideline for applying the legitimate purpose exception. This can be solved by appropriately applying the foreign legal measures in accordance with Thai society for the objective of defending child sexual abuse and resolving child pornography problems in Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60259
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.956
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.956
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5985977434.pdf5.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.