Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61197
Title: การเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของระบบสระและลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของสระในภาษามอญไทยและภาษามอญพม่า : แนวโน้มการกลายเป็นภาษาต่างแบบ
Other Titles: A comparison between the change of vowel systems and the acoustic characteristics of vowels in Thai Mon and Burmese Mon: a tendency towards different language types
Authors: นรินธร สมบัตินันท์ แบร์
Advisors: ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Taradon.L@Chula.ac.th
Subjects: ภาษามอญ -- ไทย -- สัทศาสตร์
ภาษามอญ -- พม่า -- สัทศาสตร์
ภาษามอญ -- การออกเสียง
Mon language -- Thailand -- Phonetics
Mon language -- Burma -- Phonetics
Mon language -- Pronunciation
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้วิเคราะห์ระบบสระภาษามอญในปัจจุบันและลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของสระในภาษามอญไทย 4 วิธภาษาได้แก่ บ้านเกาะ (TM1) บ้านม่วง (TM2) บ้านบางขันหมาก (TM3) บ้านหนองดู่ (TM4) และภาษามอญพม่า 4 วิธภาษา ได้แก่ บ้านโมกกะเนียง (BM1) บ้านตันจะนุห์ (BM2) บ้านสะปุอ์ (BM3) บ้านเกาะบิน (BM4) เพื่อพิสูจน์ว่าระบบสระและลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของสระในภาษามอญไทยและภาษามอญพม่าแตกต่างกัน และมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไปสู่ภาษาต่างแบบ สำหรับการวิเคราะห์ระบบสระ สัมภาษณ์ผู้บอกภาษาวิธภาษาละ 1 คน ด้วยรายการคำ 3 ชุด คือ 1) รายการคำศัพท์พื้นฐาน 500 คำ 2) รายการคำที่เลือกจาก Shorto (1962) และ Diffloth (1984) 300 คำ และ 3) รายการคำตรวจสอบ 112 คำ ของ Bauer (ไม่ได้ตีพิมพ์) เก็บข้อมูลจากผู้บอกภาษามอญไทย 4 วิธภาษา และภาษามอญพม่า 4 วิธภาษา ส่วนการวิเคราะห์ทางกลสัทศาสตร์ เก็บข้อมูลโดยบันทึกเสียงผู้บอกภาษาวิธภาษาละ 3 คน ใช้จำนวนคำตัวอย่าง 100-109 คำ ผู้บอกภาษาออกเสียงคำละ 3 ครั้ง รวมคำที่นำมาทดสอบทั้งหมด 7,515 คำ. ค่าทางกลสัทศาสตร์ที่วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าแอ็มปลิจูดเชิงเปรียบเทียบของ H1-H2 H1-H3, H2-H4, H1-A1, H1-A2, H1-A3 ค่าระยะเวลา ค่าความถี่มูลฐาน และค่าความถี่ฟอร์เมินท์ที่ 1 และที่ 2 ใช้โปรแกรมพราทเวอร์ชั่น 5.2.27 และทดสอบความแตกต่างของค่าทางกลสัทศาสตร์ด้วย t-Test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิเคราะห์เป็นไป ตามสมมติฐานบางส่วนดังนี้ ระบบสระของวิธภาษากลุ่มมอญไทยและวิธภาษากลุ่มมอญพม่าแตกต่างกันซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน แต่เมื่อพิจารณาระบบสระภายในวิธภาษากลุ่มมอญไทย 4 วิธภาษา และภายในวิธภาษากลุ่มมอญพม่า 4 วิธภาษา พบว่า ภายใน 2 กลุ่มวิธภาษามีความแตกต่างกันด้วย ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ค่าแอ็มปลิจูดเชิงเปรียบเทียบ (โดยเฉพาะค่า H1-A1) แสดงความต่างระหว่างสระก้องธรรมดาและสระก้องต่ำทุ้มทั้ง ในภาษามอญไทยและภาษามอญพม่าตามสมมติฐาน แต่ค่าระยะเวลาไม่สามารถแยกสระก้องธรรมดาจากสระก้องต่ำทุ้มได้ ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ส่วนค่าความถี่มูลฐานจำแนกสระก้องธรรมดาจากสระก้องต่ำทุ้มได้ทั้งในภาษามอญไทยและภาษามอญพม่า และ ค่าความถี่ฟอร์เมินท์ระหว่างสระก้องธรรมดาและสระก้องต่ำทุ้มไม่ต่างกันทั้งในภาษามอญไทยและภาษามอญพม่า ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ค่า H1-A1 และค่าความถี่มูลฐานสามารถแสดงความแตกต่างระหว่างสระก้องธรรมดาและสระก้องต่ำทุ้มได้ จึงสรุปได้ว่า คุณสมบัติน้ำเสียงและระดับเสียงเป็นองค์ประกอบเด่นที่ใช้ในการแยกลักษณะน้ำเสียง 2 ประเภท ทั้งในภาษามอญไทยและภาษามอญพม่า ซึ่งเป็นภาษาลักษณะน้ำเสียง ลักษณะทางกลสัทศาสตร์แสดงทิศทางว่า ถ้าเกิดภาษามีการเปลี่ยนแปลง ภาษามอญไทยและมอญพม่าอาจเป็นภาษาวรรณยุกต์ในอนาคต อย่างไรก็ดี ในภาษามอญพม่า มีการเลื่อนสระทั้งสระส่วนหน้าและสระส่วนหลังเป็นจำนวนมาก ขณะที่ลักษณะดังกล่าวปรากฏเป็นจำนวนน้อยในภาษามอญไทย ปรากฏการณ์นี้อาจทำให้ภาษามอญพม่ามีสระประสมเพิ่มขึ้นในอนาคต ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของทั้งสองวิธภาษานี้อาจต่างกัน ขณะที่มอญไทยจะเปลี่ยนแปลงเป็นภาษาวรรณยุกต์เท่านั้น ภาษามอญพม่าอาจจะเปลี่ยนไปเป็นภาษาวรรณยุกต์หรือภาษาระบบสระซับซ้อนในอนาคต เมื่อความแตกต่างระหว่างคุณสมบัติน้ำเสียงสูญไป
Other Abstract: This research aims to analyze the vowel systems and acoustic characteristics of vowels in four Thai Mon varieties: Ban Kho (TM1), Ban Muang (TM2), Ban Bangkhanmak (TM3) and Ban Nong Duu (TM4) and four Burmese Mon varieties: Mokaneang (BM1), Tancanuʔ (BM2), Səpuʔ (BM3) and Kawbein (BM4), in order to prove that Thai Mon and Burmese Mon have different vowel systems and acoustic characteristics of vowels and have a tendency towards different language types. In order to analyze the vowel systems, 500 basic vocabulary items, 300 words from Shorto (1962) and Diffloth (1984) and 112 words from Bauer’s unpublished Mon dialect checklist, were used to interview one informant from each variety. For acoustic analysis, three informants from each variety were asked to pronounce 100-109 words 3 times. The total number of test tokens was 7,515. The relative amplitude of H1-H2, H1-H3, H2-H4, H1-A1, H1-A2, H1-A3, duration, fundamental frequency and formant frequency of vowels of all tokens were analyzed with Praat version 5.2.27 and were statistically tested with t-test (0.05 level of significance). The results, which confirm some hypotheses, are as follows: Thai Mon vowel systems differ from those of Burmese Mon; confirming the hypothesis, but the vowel systems among 4 Thai Mon varieties and 4 Burmese Mon varieties are different, disproving the hypothesis. The relative amplitude (notably H1-A1) significantly differentiates clear vowels from breathy vowels in both Thai Mon and Burmese Mon varieties in accordance with the hypothesis. However, duration is not the cue to distinguish these vowels; rejecting the hypothesis. The fundamental frequency of vowels discriminates clear and breathy vowels in both Thai Mon and Burmese Mon varieties which initially were hypothesized only for Thai Mon. In addition, the study has not found that formant frequencies of clear vowels differ from those of breathy vowels in Thai Mon and Burmese Mon varieties, which does not confirm the hypothesis. The study reveals that both H1-A1 and the fundamental frequency of vowels differentiate clear vowels from breathy vowels in Thai Mon and Burmese Mon varieties, showing that phonation type and pitch are the prominent components of Thai Mon and Burmese Mon varieties, in other words they are register languages with obvious pitch patterns. According to the results of the acoustic study, if the language change does occur, Thai Mon and Burmese Mon varieties could become tonal languages in the future. However, on-gliding and off gliding occur to most vowels in Burmese Mon varieties. This could indicate that there might be more diphthongs in Burmese Mon varieties in the future but not in Thai Mon varieties. This phenomenon may be indicative of the different routes of change in Thai Mon and Burmese Mon, i.e. Thai Mon varieties may become solely tonal languages while it is plausible that Burmese Mon varieties may in the future become either tonal or restructured languages with complicated vowel systems.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61197
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.777
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.777
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narinthorn Sombatnan Behr.pdf7.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.