Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61246
Title: | อิทธิพลของความหมายในชีวิต ต่อการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยและภาวะสูญเสียการทำหน้าที่ของอวัยวะทางร่างกายของผู้พิการและญาติผู้ดูแล : การวิจัยแบบผสานวิธี |
Other Titles: | Influence of meaning in life on adaptation to illness and loss due to impairment of physical functioning among disable individuals and their family caregivers : a mixed methods study |
Authors: | จุรีรัตน์ นิลจันทึก |
Advisors: | อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
Advisor's Email: | Arunya.T@Chula.ac.th |
Subjects: | ความหมาย (ปรัชญา) ความสามารถในการปรับตัว (จิตวิทยา) ผู้ดูแล คนพิการ Meaning (Philosophy) Adaptability (Psychology) Caregivers People with disabilities |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยแบบผสานวิธีเชิงสามเส้าแบบเกิดพร้อมกันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาอิทธิพลของความหมายในชีวิตต่อการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยและการสูญเสียการทำหน้าที่ของอวัยวะทางร่างกายของผู้พิการและญาติผู้ดูแล (2) ศึกษาประสบการณ์ด้านจิตใจเกี่ยวกับความหมายในชีวิตและการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยและการสูญเสียการทำหน้าที่ของอวัยวะทางร่างกายของผู้พิการและญาติผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นผู้พิการและญาติผู้ดูแล จำนวน 100 คู่ ในการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นผู้เป็นผู้พิการและญาติผู้ดูแล จำนวน 5 คู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดความหมายในชีวิตในบริบทเจ็บป่วยพิการ มาตรวัดการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยพิการ และแนวคำถามสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์โมเดลรายคู่แบบไขว้ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพตามแนวการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบเฉพาะอิทธิพลตรงของผู้พิการและญาติผู้ดูแลที่แสดงถึงว่าผู้พิการที่มีความหมายในชีวิตสูงจะมีการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยและภาวะสูญเสียการทำหน้าที่ของอวัยวะทางร่างกายได้ดี ในทำนองเดียวกันญาติผู้ดูแลที่มีความหมายในชีวิตสูงก็จะมีการปรับตัวได้ดีด้วย แต่ไม่พบอิทธิพลไขว้ของผู้พิการและญาติผู้ดูแลและอิทธิพลร่วมของผู้พิการและญาติผู้ดูแล ส่วนผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า ประสบการณ์ด้านจิตใจของผู้พิการและญาติผู้ดูแลที่ร่วมกันมี 3 ช่วงหลัก ดังนี้ ช่วงที่ 1 ความผันผวนของใจผู้พิการและมารดา ภายหลังประสบอุบัติเหตุปละรับรู้ว่ามีความพิการ ประสบการณ์ที่เกิดร่วมกันของผู้พิการและญาติผู้ดูแลคือ การเผชิญกับความไม่รู้และสงสัยกับความเจ็บป่วยพิการที่เกิดขึ้น ประสบการณ์เฉพาะของผู้พิการในระยะนี้ เป็นปฏิกิริยาต่อการสูญเสียและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงหลายด้านที่เข้ามาพร้อมๆ กับความเจ็บป่วยพิการ เช่น การไม่ยอมรับความพิการ ความคาดหวังต่อผลการรักษา ด้วยการแสดงออกถึงความไม่เชื่อว่าตนเองจะพิการ การมีความคิดหมกมุ่นนึกถึงสิ่งที่ตนเองสูญเสียไป ความรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง สำหรับมารดาผู้พิการเป็นการพยายามรวบรวมสติ ปรับเปลี่ยนกิจวัตรและความเคยชินต่างๆเพื่อเข้ามารับบทบาทในการเป็นผู้ดูแล ช่วงที่ 2 ช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่การยอมรับความพิการและเริ่มต้นชีวิตอีกครั้ง โดยในส่วนผู้พิการมีตัวจุดชนวนให้เปลี่ยนจากสิ้นหวังเป็นสู้ คือ การมีเพื่อนผู้พิการเป็นตัวแบบ และความรักจากครอบครัว การรีเซ็ตชีวิตใหม่ และตัวช่วยหรือขัดขวางการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยพิการ สำหรับมารดาผู้พิการเป็นการคิดทบทวนถึงความพยายามในการหาทางรักษาลูก จนเริ่มยอมรับความพิการของลูก และคอยให้การสนับสนุนความคิด การตัดสินใจของลูก ให้อิสระแก่ลูกในการทำสิ่งที่อยากทำ ช่วงที่ 3 การเติบโต และมองเห็นคุณค่า ความหมายในชีวิตของผู้พิการและมารดา ช่วงนี้เป็นประสบการณ์ที่มีความชัดเจนในผู้พิการ ส่วนในญาติผู้ดูแลจะเป็นความโล่งใจ ความสบายใจที่ผู้พิการดูแลตนเองได้ และตามมาด้วยความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ฝ่าฝันความลำบากร่วมกันมา จนกระทั่งลูกสามารถพิสูจน์ว่าพึ่งพาตนเองได้ และเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม |
Other Abstract: | This concurrent triangulation mixed methods study aimed to examine (1) influence of meaning in life on adaptation to illness and physical disability of disabled individuals and their caregivers (2) psychological experiences related to meaning in life and adaptation to illness and physical disability of disabled individuals and their caregivers. Participants in the quantitative study consisted of 100 pairs of individuals with disability and their caregivers. For the qualitative study, there were five pairs of individuals with disability and their caregivers. Instruments were the Construct of Meaning Scale, the Acceptance of Disability Scale, and interview guideline. The actor-partner interdependence model, a dyadic confirmatory analysis, was used to analyze quantitative data. While Interpretative phenomenological analysis (IPA) was used to analyze qualitative data. Findings revealed that the actor effect was statistical significant, but not for the partner and interdependent effects. That means the meaning in life was highly related to adaptation to illness and physical disability on the part of the disabled individuals and the caregivers. There were three common themes of Psychological experiences related to meaning in life and adaptation to illness and physical disability of disabled individuals and their caregivers. Theme 1 referred to phase of having accident and the realization of one’s disability. Both the disabled and their caregivers have to face the unknown that comes with such incidents. The disabled, in particular, undergoes a number of emotional turmoil such as the denial of one’s disability, the rumination of all the things one loses due to the disability, the expectation of having one’s disability cured and the feelings of despair. As for the caregivers, it involves gathering oneself, changing one’s daily routines and adapting to all the changes that comes with being a caregivers. Theme 2 referred to phase of acceptance and disability and the renewal of vigor in life. For the disabled, the crucial factors that turn one from despair to vigor are having good role models in their fellow disabled individuals and the love of one’s family. For the caregivers, after having reviewed all the efforts of curing their loved ones, they ’ve come to accept the disability of their loved ones, support them, take care of them and giving them the freedom to do whatever they want to do. Theme 3 referred to the growth and realization of meaning in life as a disabled. This phase is very unique to the disabled. As for the caregivers, they become more relieved and comfortable as their loved one continue to stand on their own feet. In addition, they also have a sense of pride that comes from having gone through all the struggles with their loved ones until their loved ones become independent and accepted by society. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | จิตวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61246 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.741 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2018.741 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5677901138.pdf | 11.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.