Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61304
Title: | ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการบอกล้างโมฆียะกรรมตามมาตรา 181 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ |
Other Titles: | Legal problems of avoiding voidable acts of section 181 of the civil and commercial code |
Authors: | นพวรรณ เลาหบุญญานุกูล |
Advisors: | ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sanunkorn.S@Chula.ac.th |
Subjects: | กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ไทย อายุความ Civil and commercial law -- Thailand Prescription (Law) |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ด้วยเหตุที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับปัจจุบันมีการบัญญัติกรอบเวลาของการบอกล้างโมฆียะกรรมในทุกเหตุรวมอยู่ในมาตรา 181 ทำให้เกิดปัญหากรอบเวลาสิ้นสุดลงก่อนเวลาที่ผู้มีสิทธิบอกล้างจะสามารถใช้สิทธิได้ ซึ่งจากการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ทำให้ผู้เขียนพบความแตกต่างเรื่องกรอบเวลาการบอกล้างที่มีปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับปีพ.ศ. 2466 ซึ่งมีการบัญญัติอายุความเพื่อการบอกล้างโมฆียะกรรมในแต่ละกรณีแยกออกจากกันและสามารถให้ความคุ้มครองผู้มีสิทธิบอกล้างได้ดีกว่าป.พ.พ.ฉบับปัจจุบัน ซึ่งนอกจากกรอบเวลาของการบอกล้างแล้ว วิธีการและลักษณะทางกฎหมายของเวลาในการบอกล้างก็มีลักษณะที่ต่างกันด้วย ฉะนั้นความแตกต่างเหล่านี้จึงเป็นที่มาของการศึกษาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบอกล้างโมฆียะกรรมทั้งหมดโดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักกฎหมายของประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ประมวลกฎหมายแพ่งอิตาลี ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน และประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น เพื่อค้นหาหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการคุ้มครองบุคคลผู้มีสิทธิบอกล้างตามกฎหมายของไทย หากพิจารณาหลักเกณฑ์การบอกล้างโมฆียะกรรมของต่างประเทศ จะเห็นได้ว่า วิธีการบอกล้างโมฆียะกรรมมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือวิธีการฟ้องเพิกถอนและวิธีการแสดงเจตนา ซึ่งวิธีการบอกล้างที่ต่างกันส่งผลต่อการใช้สิทธิเรียกทรัพย์คืนในลักษณะที่ต่างกันไปด้วย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การฟ้องเพิกถอนเป็นวิธีการที่เหมาะสมกับประเทศที่ใช้ระบบสัญญาเดี่ยวอย่างสาธารณรัฐฝรั่งเศส สาธารณรัฐอิตาลี และประเทศญี่ปุ่น และการแสดงเจตนาเป็นวิธีการที่เหมาะสมกับประเทศที่ใช้ระบบสัญญาคู่อย่างสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในส่วนของลักษณะทางกฎหมายของเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมพบว่าส่วนใหญ่มีการกำหนดให้เป็นเรื่องอายุความซึ่งเป็นหลักกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อการใช้สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมได้ดี ส่วนกรณีกรอบเวลาของการบอกล้างนั้นมีความหลากหลายแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศแต่ก็ล้วนให้ความคุ้มครองต่อผู้มีสิทธิบอกล้างทุกประเภทได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ยังมีการบัญญัติถึงสิทธิยกความเป็นโมฆียะขึ้นต่อสู้ภายหลังพ้นกำหนดเวลาบอกล้างโมฆียะกรรมในประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสและประมวลกฎหมายแพ่งอิตาลี ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองความถูกต้องเป็นธรรมไว้ด้วย จากการศึกษาพบว่า ความเข้าใจที่ว่าสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมในระบบสัญญาเดี่ยวตามป.พ.พ.ของไทยเป็นสิทธิก่อตั้งตามที่ใช้กันในระบบสัญญาคู่ อันส่งผลให้การแสดงเจตนาเป็นวิธีการบอกล้างนั้นไม่ถูกต้องและอาจก่อให้เกิดปัญหาการได้รับทรัพย์คืนในความเป็นจริงอีกด้วย โดยผู้เขียนเห็นว่า ความจริงแล้วสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมในระบบสัญญาเดี่ยวเป็นสิทธิเรียกร้องที่ควรขอให้ศาลบังคับให้ แต่ที่ป.พ.พ.เปิดโอกาสให้การแสดงเจตนาก่อผลได้ ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่ผู้ใช้สิทธิเห็นว่าเจตนาของตนสามารถก่อผลตามที่ประสงค์ได้หรือ เห็นว่าโมฆียะกรรมนั้นเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆไม่คุ้มกับการขอคำสั่งจากศาลเท่านั้น และเมื่อเป็นสิทธิเรียกร้องก็ต้องนำหลักกฎหมายเรื่องอายุความมาใช้บังคับเป็นลักษณะทางกฎหมายของสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม นอกจากนี้ ผู้เขียนขอเสนอให้ยกเลิกกรอบเวลาการบอกล้างเดิมและใช้อายุความ 1 ปีซึ่งเริ่มนับแต่วันที่อาจให้สัตยาบันได้เพื่อให้ผู้มีสิทธิบอกล้างทุกประเภทสามารถใช้สิทธิบอกล้างด้วยตนเองได้จริง รวมถึงเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิยกความเป็นโมฆียะขึ้นต่อสู้ภายหลังพ้นกำหนดเวลาบอกล้างโมฆียะกรรมด้วย |
Other Abstract: | According to The Thailand Civil and Commercial Code, it defined the period for avoiding voidable acts in Section 181 contributed the problems. In historical study, the author founded that the differences of the period for avoiding voidable acts revealed in The Thailand Civil and Commercial Code (B.E.2466) enacted the period for avoiding voidable acts which was clearly categorized and directly protected the rights of avoiding voidable acts better than current The Thailand Civil and Commercial Code. In addition to the period for avoiding voidable acts, each mechanism and characteristic had legally differed from each other’s. Thus, these differences led to study about the rules and regulation of avoiding voidable acts analyzed by comparative dimension with The French Civil Code, The Italian Civil Code, The German Civil Code and The Japanese Civil Code in order to exemplify the proper rules for protecting the rights of avoiding voidable acts in Thailand. As considering the foreign avoiding voidable acts, it indicated that there are two forms of avoidance, namely, in judicial proceeding and a declaration. These different forms lead to the claim for restoring properties in different ways. The research founded that the lawsuit had been appropriated with single contract system as France, Italy and Japan while the declaration is suitable for separation contract system like Germany. In terms of the period, most of them have regulated to support the rights of avoiding voidable acts. However, each country had secured the rights of avoiding voidable acts, in all reason. Furthermore, there also are the rights of using voidability as a defense after lapse of time in The French Civil Code and The Italian Civil Code in consideration of justice and equity. The research results illustrated that the understanding of the right of avoiding voidable acts in Thailand, which uses single contract system, is a right to alter a legal relationship (Gestaltungsrecht), which is used in separation contract system, that effects to the forms of avoidance is incorrect. It also might stimulate the problems of restoring properties. The authors clarified that the rights of voidable act in single contract system is the right of claim (Anspruch) and should be enacted by court but, The Thailand Civil and Commercial Code had opened for declaration of intention in case of persons entitled to cancel foresee the effect of cancelation will occur as their expectancy or voidable acts are not worth for requiring the judge’s office. So, the right of avoiding voidable acts is the right of claim (Anspruch), it should be regulated by the law of prescription. Besides, the author would like to call for cancellation of the period of avoiding voidable acts to be one year from the time when ratification could have been made to equal provide the rights of avoiding voidable acts, including adding the rights of using voidability as a defense after lapse of time. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61304 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.869 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2018.869 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5985983134.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.