Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6150
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการให้ยาแคลเซียมเสริมหลังอาหาร 2 มื้อกับการให้ก่อนนอนครั้งเดียวเป็นเวลา 2 สัปดาห์ต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับ ซี-เทอร์มินอล เทลโลเปปไทด์ครอสลิงค์และระดับพาราธัยรอยด์ฮอร์โมนในหญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีภาวะกระดูกบางอายุ 60-70 ปี |
Other Titles: | Comparing the efficacy of short term post meals and bedtime calcium supplementation on the C-terminal telopeptide crosslinks and PTH levels in postmenopausal osteopenic women |
Authors: | สมลักษณ์ จึงสมาน |
Advisors: | สมพงษ์ สุวรรณวลัยกร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | suwansp@yahoo.com |
Subjects: | กระดูกพรุน เทลโลเปปไทด์ครอสลิงค์ พาราธับรอยด์ฮอร์โมน ซี-เทอร์มินอล แคลเซียม วัยหมดระดู |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การให้แคลเซี่ยมเสริมในหญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน สามารถลดภาวะการลดลงของมวลกระดูก และความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก อย่างไรก็ตามเวลาที่เหมาะสมในการให้แคลเซี่ยมเสริมยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างการรับประทานแคลเซียมหลังอาหารสองมื้อ และการรับประทานแคลเซียมก่อนนอนในระยะเวลาสองสัปดาห์ ในกลุ่มหญิงวัยหมดประจำเดือน โดยวัดผลของการเปลี่ยนแปลงระดับ ซีเทอร์มินอล เทลโลเปปไทด์ ครอสลิงค์ และพาราธัยรอยด์ฮอร์โมน การศึกษาออกแบบการวิจัยในรูป "randomized double blind placebo-control crossover" โดยแบ่งช่วงเวลาการให้แคลเซี่ยมเสริมเป็น 3 ช่วงการศึกษา โดยแต่ละช่วงการศึกษาใช้เวลาสองสัปดาห์ ช่วงแรกของการศึกษา ผู้ร่วมโครงการจะได้รับการคัดเลือกโดยการสุ่มให้ได้รับแคลเซี่ยมคาร์บอเนต [Chalk Cap? 835 mg = elemental calcium 334 mg ต่อเม็ด หลังอาหารสองมื้อ (เช้า 1 เม็ด และ เย็น 1 เม็ด)] หรือได้รับแคลเซี่ยมคาร์บอเนตก่อนนอน 2 เม็ด ช่วงที่สองการศึกษาผู้ร่วมโครงการจะได้รับเฉพาะยาหลอกทั้งหลังอาหารสองมื้อและก่อนนอน ช่วงที่สามของการศึกษาจะ crossover ในคนเดียว โดยถ้าช่วงแรกได้แคลเซี่ยมคาร์บอเนตช่วงหลังอาหารสองมื้อ ในช่วงที่สามของการศึกษาจะได้รับแคลเซี่ยมคาร์บอเนตช่วงก่อนนอน และตรงกันข้ามถ้าช่วงแรกได้แคลเซี่ยมคาร์บอเนตก่อนนอน ในช่วงที่สามของการศึกษาจะได้รับแคลเซี่ยมคาร์บอเนตช่วงหลังอาหาร สองมื้อ เมื่อจบการศึกษาในช่วงแรก และช่วงที่สามของการศึกษา ผู้ร่วมโครงการเข้านอนพักในโรงพยาบาล เพื่อวัดระดับซีเทอร์มินอล เทลโลเปปไทด์ ครอสลิงค์ ที่เวลา 8.00 น. และวัดระดับพาราธัยรอยด์ฮอร์โมน ก่อนอาหารเช้า 8.00 น. และเย็น 18.00 น. 1 ชั่วโมง และภายหลังอาหารเช้าและเย็น 1 ชั่วโมง และวัดช่วงนอนหลับที่เวลา 24.00 น., 2.00 น., 4.00 น., และ 6.00 น. รวมทั้งสิ้น 8 ครั้งต่อวัน ผลของการศึกษา พบว่าผู้ร่วมโครงการ เป็นหญิงวัยหมดประจำเดือน จำนวน36 คน มีอายุเฉลี่ย 63.84 +- 3.62 ปี มีความหนาแน่นกระดูกสันหลังและกระดูกสะโพก วัดเป็นค่า T-score - 2.96+-0.87 กรัม / ซม. [superscript 2] และ - 2.86+-0.77 กรัม / ซม.[superscript 2] ระดับซีเทอร์มินอล เทลโลเปปไทด์ ครอสลิงค์ ในกลุ่มที่ได้รับแคลเซี่ยมก่อนนอน มีระดับที่ต่ำกว่าในกลุ่มที่ได้รับแคลเซี่ยมหลังอาหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (0.228+-0.00 และ 0.313+-0.003, P< 0.001) และระดับพาราธัยรอยด์ฮอร์โมนในกลุ่มที่ได้รับแคลเซี่ยมก่อนนอนมีระดับต่ำกว่า ในกลุ่มที่ได้รับแคลเซี่ยมหลังอาหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (25.173+-2.31 และ 31.930+-2.677) ผลสรุปจากการศึกษานี้พบว่าการให้แคลเซี่ยมเสริมในช่วงก่อนนอน ลดระดับค่าดัชนีการสลายของมวลรวมกระดูกและพาราธัยรอยด์ฮอร์โมนได้ดีกว่า การให้แคลเซี่ยมเสริมในช่วงหลังอาหาร ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ อย่างไรก็ตามผลสรุปในระยะยาวต้องการการศึกษาต่อไป |
Other Abstract: | Calcium supplement for postmenopausal osteopenic women can significantly reduce bone loss and the risk of fractures. However, the optimal time for calcium supplementation remains controversy. The aim of this study was to compare the effect of twice daily post meals and bedtime calcium supplementation for two weeks period, on C-terminal telopeptide crosslinks and PTH levels in postmenopausal osteopenic women. A randomized double blind placebo-control, crossover design, was carried on 3 consecutive periods of 2-week treatment regimen. The first period, subject randomly received either two calcium carbonate tablets (Chalk Cap{170} 835 mg= elemental calcium 334 mg per tab) or placebo at bedtime with one tablet of calcium tablet or placebo after breakfast and dinner for two weeks. The second period, subjects received only placebo tablets after the meals and bedtime for 2 weeks. The third period subject received either calcium carbonate or placebo for another two weeks. The C-terminal telopeptide crosslinks weremeasured at the end of each period and serum PTH were sampling at 1 hr after breakfast and dinner and at time 22.00 PM, 24.00 PM, 2.00A M, 4.00 AM and 6.00 AM respectively by the end of each study period. The study was showed thirty-six postmenopausal subject (mean age 63.9+-3.66 years) participated in this study. The means T-score BMD of the spine and hip were -2.96+-0.87 and -2.86+-0.77 gm/cm[superscript 2]. C terminal telopeptide crosslinks levels of the bed time supplementation was significant lower than the post meal supplementation (0.228+-0.002 vs.0.313+-0.003, p<0.001). The mean night time serum PTH level during the bedtime was significant lower than the post meal period. (25.173+-2.31 vs 31.930+-2.677). No differences in the post meal PTH level between two periods were observed. The bedtime calcium supplementation appeared to reduce the bone resorption marker and night time serum PTH level greater than the post meal calcium supplementation in this short term period study. However, long term comparison may be needed. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6150 |
ISBN: | 9741744064 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somlak.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.