Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63032
Title: การปรับใช้ความรับผิดตามสัญญาและละเมิดในข้อเท็จจริงเดียวกัน
Other Titles: The Applications Of Contractual And Tortious Liability In The Same Case
Authors: ศิรประภา ปรีดา
Advisors: ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Sanunkorn.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าการผิดสัญญาและละเมิดสามารถเกิดขึ้นในข้อเท็จจริงเดียวกันได้ อย่างไรก็ดี การจะเลือกปรับใช้ความรับผิดใดความรับผิดหนึ่งต่อข้อเท็จจริงนั้น ยังคงเป็นปัญหาที่จะต้องพิจารณา ดังเห็นได้จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5072/2557 และ 10155/2539 ที่ข้อเท็จจริงเป็นกรณีฝากทรัพย์ โดยจำเลยเคลื่อนย้ายทรัพย์และทำให้ทรัพย์นั้นเสียหาย อันผิดทั้งสัญญาและละเมิด แต่ศาลปรับใช้ความรับผิดในข้อเท็จจริงดังกล่าวแตกต่างกัน โดยคดีแรกปรับใช้ความรับผิดตามสัญญา ส่วนคดีที่สองปรับใช้ความรับผิดเพื่อละเมิด และยังมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8683/2559 ที่ศาลปรับใช้ความรับผิดตามสัญญาและละเมิดผสมกันในข้อเท็จจริงเดียวกัน โดยตัดสินให้มีอายุความการฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญาและชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างละเมิดอีกด้วย ซึ่งปัญหาการปรับใช้ที่ไม่เป็นเอกภาพดังกล่าวมีข้อแตกต่างในเรื่องของหน้าที่นำสืบ อายุความการฟ้องร้องบังคับคดี ค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย ข้อยกเว้นความรับผิด เป็นต้น โดยในเบื้องต้นผู้วิจัยเห็นว่าการปรับใช้ความรับผิดตามสัญญาและละเมิดในข้อเท็จจริงเดียวกันไม่อาจทำได้ จากการศึกษาการปรับใช้ความรับผิดตามสัญญาและละเมิดในข้อเท็จจริงเดียวกันของไทยและต่างประเทศ อันได้แก่ เยอรมัน ฝรั่งเศส และอังกฤษ ในประเด็นปัญหาการเลือกปรับใช้ความรับผิดตามสัญญาและละเมิดในข้อเท็จจริงเดียวกัน ปัญหาผู้มีสิทธิเลือกปรับใช้ความรับผิดตามสัญญาและละเมิดในข้อเท็จจริงเดียวกัน และปัญหาการปรับใช้ความรับผิดตามสัญญาและละเมิดผสมกันในข้อเท็จจริงเดียวกัน พบว่าทฤษฎีและแนวปฏิบัติของศาลเยอรมันปรับใช้ความรับผิดตามสัญญาหรือละเมิดก็ได้ แต่หากมีการกำหนดอายุความตามสัญญาที่สั้นกว่าหรือกำหนดหลักความผิดตามสัญญา ต้องปรับใช้ความรับผิดตามสัญญา ซึ่งศาลจะเป็นผู้เลือกปรับใช้ความรับผิดโดยอยู่ภายใต้คำบรรยายฟ้องของโจทก์ และตามคำพิพากษาและความเห็นของนักนิติศาสตร์เห็นว่าไม่สามารถปรับใช้ความรับผิดตามสัญญาและละเมิดผสมกันในข้อเท็จจริงเดียวกันได้ สำหรับการปรับใช้ของฝรั่งเศสเป็นไปตามทฤษฎี non – cumul กล่าวคือ หากมีความสัมพันธ์ตามสัญญาให้ปรับใช้ความรับผิดตามสัญญา ถึงแม้ว่ากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของฝรั่งเศสจะให้อำนาจศาลในการเลือกปรับใช้ความรับผิดโดยพิจารณาตามคำบรรยายฟ้องและข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนคดีก็ตาม และด้วยการยึดถือตามทฤษฎี non – cumul จึงไม่สามารถปรับใช้ความรับผิดตามสัญญาและละเมิดผสมกันได้ สำหรับการปรับใช้ของอังกฤษ ตามคำพิพากษาของศาล พบว่าสามารถปรับใช้ได้ทั้งความรับผิดตามสัญญาและละเมิดโดยคำนึงถึงความตกลงตามสัญญาเป็นหลัก หากโจทก์เลือกฟ้องร้องบนฐานความรับผิดใด ถือว่าสละสิทธิ์ในการฟ้องร้องบนฐานความรับผิดอีกฐานหนึ่ง แต่หากโจทก์ไม่ได้เลือกฟ้อง ศาลสามารถเลือกปรับใช้ความรับผิดได้ทั้งสองฐาน และเมื่อพิจารณาคำพิพากษาของศาลอังกฤษเห็นว่าไม่สามารถปรับใช้ความรับผิดตามสัญญาและละเมิดผสมกันในข้อเท็จจริงเดียวกันได้ ดังนั้น เพื่อให้การปรับใช้ความรับผิดตามสัญญาและละเมิดในข้อเท็จจริงเดียวกันมีเอกภาพ สอดคล้องกับโครงสร้างความรับผิดตามสัญญาและละเมิดของไทย และเกิดความเป็นธรรม ผู้วิจัยขอเสนอว่า ควรปรับวิธีคิดในการเลือกปรับใช้ความรับผิดตามสัญญาและละเมิดในข้อเท็จจริงเดียวกันตามทฤษฎีและในทำนองเดียวกันกับแนวปฏิบัติของศาลเยอรมัน โดยอยู่ภายใต้ข้อเท็จจริงที่มาสู่ศาลและการนำสืบข้อเท็จจริงในคดี และเมื่อพิจารณาโครงสร้างความรับผิดของกฎหมายสัญญาและละเมิดของไทยประกอบกับเหตุผลของการทำสัญญาเพื่อกำหนดขอบเขตในสิทธิทางทรัพย์สินแล้ว เห็นว่า หากเกิดความเสียหายต่อสิทธิทางทรัพย์สินให้ปรับใช้ความรับผิดตามสัญญา แต่หากเกิดความเสียหายต่อสิทธิที่ไม่ใช่ทางทรัพย์สินให้ปรับใช้ความรับผิดเพื่อละเมิด โดยไม่สามารถปรับใช้ความรับผิดตามสัญญาและละเมิดผสมกันในข้อเท็จจริงเดียวกันได้ สำหรับผู้มีสิทธิเลือกปรับใช้ความรับผิดได้แก่ศาล นอกจากจะปรับใช้โดยพิจารณาถึงคำบรรยายฟ้องของโจทก์แล้ว จะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนคดีอีกด้วยในทำนองเดียวกันกับวิธีพิจารณาความแพ่งของฝรั่งเศส อย่างไรก็ดี หากจะเสนอให้แก้ไขมาตรา 142 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของไทยซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไปอาจไม่เหมาะสม จึงขอเสนอให้เพิ่มเติมบทบัญญัติในเรื่องการพิจารณาปรับใช้ความรับผิดตามสัญญาและละเมิดโดยตรง
Other Abstract: Nowadays, it is commonly accepted that the breach of contract and the wrongful act could arise at the same time. However, which liability shall be applied in such circumstances is still the issue to consider, clearly seen from the Supreme Court judgment 5072/2557 and 10155/2539, which is both the breach of contract and the wrongful act at the same time. Nevertheless, the court adopted the liability in that case differently. Moreover, there is the Supreme Court judgment 8683/2559 which the court rendered a decision on the prescription of the contract while rendered the decision on the compensation of tort. The problems regarding the disunion to apply the law are the differences in the burden of proof, the prescription, the compensations and the exemption clauses etc. At the beginning, the researcher presumed that the applications of contractual and tortious liability in the same case is unable to be performed. From the study, the applications of contractual and tortious liability in the same case in Thailand and in foreign countries which are German, France and England, in the issue concerning which liability to apply in that case, the issue regarding the person who has the right to choose to apply which liability and the issue relating to the combining applications of both contractual and tortious liability in the same case, the researcher found that in theory and in practice of German court, contractual liability or even tortious liability could apply in the same case. However, if the prescription regarding the contract is shorter or if the standards for contractual liability is specified, the contractual liability shall be govern and the court will be the person to choose the liability applied in that case considering the plaint of the plaintiff. With respect to France, even though the civil procedure law in France empowers the court in applying the liability considering the plaint and facts appearing in the case file, the application of the liability is in accordance with the non – cumul theory that is the contractual liability shall be govern provided that the contractual relationship exists. For England, according to the judgments, the contractual and tortious liability can be both applied regarding the contractual context. Supposing that the plaintiff chooses to complain based on which liability, it is regarded as the plaintiff disclaims to sue for another liability. If the plaintiff doesn’t choose to complain on specific liability, the court will be able to apply whether the contractual and tortious liability. According to the judgments and the lawyers’ opinions of German, non – cumul theory of France and England judgments, the researcher found that both contractual and tortious liability are unable to combine in the same case. In consequence, the researcher suggests shaping the conception in applying the liability in the same case in the same way as theory and practice in German Under the terms of truths bringing to the court and the adducing of the evidence in that case. Besides, when examining the structure of contractual and tortious liability in Thai law together with the reason that making a contract is to fix the scope of the property right, the researcher found that if the damage done occurs to the property right, the contractual liability shall be govern. Whereas, if the damage done occurs to the right other than the property right, tortious liability shall be govern. So contractual and tortious liability could not be both applied simultaneously in the same case. As for the person in authority to choose the liability applied is the court which is aside from considering the plaintiff’s plaint, the court shall examine the facts existing in the case file like in the civil procedure in France. In any event, to suggest revising section 142 of Thai civil procedure code which is the general provision might be inappropriate. The researcher therefore suggests attaching the direct provisions relevant to the applications of contractual and tortious liability instead.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63032
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.890
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.890
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6086008034.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.