Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63418
Title: การศึกษาเปรียบเทียบระดับตับคั่งไขมันและพังผืดตับระหว่างก่อนและหลังเข้ารับการรักษาด้วยยาขับสารตะกั่วทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยที่มีภาวะพิษตะกั่วเรื้อรัง
Other Titles: A Comparative Study On The Level Of Hepatic Steatosis And Fibrosis Between Pre- And Post-Intravenous Chelation Therapy In Patients With Chronic Lead Poisoning
Authors: ต้องลักษณ์ ธีรศานติพันธ์
Advisors: รุ่งฤดี ชัยธีรกิจ
ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Roongruedee.C@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับตับคั่งไขมันและพังผืดตับในผู้ป่วยพิษตะกั่วเรื้อรังระหว่างก่อนและหลังได้รับยาขับตะกั่วและประเมินการเปลี่ยนแปลงของระดับสารสื่อการอักเสบและระดับสารต้านอนุมูลอิสระในกระแสเลือดต่อการเปลี่ยนแปลงระดับตับคั่งไขมันและพังผืดตับโดยเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการขับพิษตะกั่ว วิธีการวิจัย วิจัยเชิงสำรวจไปข้างหน้าในคนงานโรงงานผลิตแบตเตอรี่ที่มีระยะเวลาสัมผัสตะกั่ว ≥ 12 เดือนและมีระดับตะกั่วในเลือด ≥ 70 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตรจะถูกรวบรวมเข้าการศึกษา ผู้เข้าร่วมการศึกษาทุกรายจะได้รับการวัดระดับตับคั่งไขมันและพังผืดตับด้วยเครื่อง FibroScan® โดยแสดงผลเป็น controlled attenuation parameters (CAP) และความยืดหยุ่นตับ (liver stiffness) ตามลำดับ และได้รับการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับ Glutathione และ Interleukin-1β (IL-1β) ผู้เข้าร่วมการศึกษาได้รับการขับสารตะกั่วด้วย CaNa2EDTA ขนาด 2 กรัมตามด้วย D-penicillamine 1 กรัมต่อวันเป็นเวลา 90 วัน ผลลัพธ์หลักคือระดับตับคั่งไขมัน ผลลัพธ์รองได้แก่ระดับพังผืดตับ สารสื่อการอักเสบ และ สารต้านอนุมูลอิสระ ผลการศึกษา มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 86 ราย (71 รายเป็นเพศชายและ 15 รายเป็นเพศหญิง) ระยะเวลาสัมผัสสารตะกั่วเฉลี่ย 10.7 ± 7.6 ปี ระดับตะกั่วในเลือดเฉลี่ยก่อนการรักษา 81.4 ± 9.8 μg/dL และลดลงเหลือ  56.4 ± 16.8 μg/dL หลังขับตะกั่ว (p < 0.001) ค่าเฉลี่ยระดับตับคั่งไขมันก่อนการรักษาแสดงด้วย CAP เป็น 225.1 ± 49.3 เดซิเบลต่อเมตรส่วนระดับพังผืดตับแสดงด้วย liver stiffness เป็น 5.4 ± 1.0 กิโลปาสคาล หลังจากได้รับการรักษาด้วยการขับตะกั่วแล้ว ระดับตับคั่งไขมันเฉลี่ยลดลงเหลือ 221.5 ± 55.5 เดซิเบลต่อเมตร แต่ไม่ถึงระดับที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.493) ส่วนระดับพังผืดตับนั้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยค่าเฉลี่ยลดลงเหลือ  5.1 ± 1.5 กิโลปาสคาล (p=0.008) การเปรียบเทียบระดับสารสื่อการอักเสบและกลูตาไธโอนพบว่าค่าเฉลี่ยของสารสื่ออักเสบลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยระดับของ IL-1β ลดลงจาก 29.7 ± 1.8 เหลือ 25.8 ± 4.2 พิโคกรัมต่อมิลลิลิตร (p<0.001) ส่วนค่าเฉลี่ยของกลูตาไธโอนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังขับตะกั่วจาก 3.4 ± 3.2 เป็น 14.5 ± 7.5 ไมโครโมลต่อลิตร (p<0.001) สรุป เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการให้ยาขับสารตะกั่วในผู้ป่วยพิษตะกั่วเรื้อรังพบว่าระดับตับคั่งไขมันมีแนวโน้มลดลงแม้ว่าจะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนระดับพังผืดตับและสารสื่อการอักเสบคือ IL-1β มีปริมาณลดลง ส่วนสารต้านอนุมูลอิสระคือกลูตาไธโอนมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: Introduction: Head and neck squamous cell cancer patients were high-risk to develop secondary esophageal squamous cell carcinoma. There were some recommendations to surveilance endoscopy. Lugol's chromoendoscopy was the gold standard to detect those lesions. But Lugol's chromoendoscopy had low specificity and many side effects. In present day, narrow band imaging is become widely use. But narrow band imaging could not detect low-grade dysplastic lesions. Confocal laser endomicroscopy was used to increase the specificity of Lugol's chromoendoscopy. This study aim to compare the specificity between narrow band imaging and Lugol's chromoendoscopy combined with confocal laser endomicroscopy in detection of early squamous cell neoplasm. Methods: Head and neck squamous cell cancer patients were enrolled to surveillance by narrow band imaging and biopsied the lesions. Then the investigator performed Lugol's chromoendoscopy combined with confocal laser endomicroscopy and biopsied all lesions. The investigator calculated the diagnostic performance from obtianed data. Results: Twenty-Four Head and neck squamous cell cancer patients were enrolled. Ten early squamous cell neoplastic lesions were detected in 8 patients. The lesions were 2 squamous cell carcinomas, 5 high-grade dysplastic lesions and 3 low-grade dysplastic lesions. Five lesions were detected by narrow band imaging and other 5 lesions were detected by Lugol's chromoendomicroscopy. The sensitivity and specificity of narrow band imaging were 50% and 62.5% respectively. And the sensitivity and specificity of Lugol's chromoendoscopy combined with confocal laser endomicroscopy were 80% and 66.7% respectively. there was no complication from endoscopy. Conclusion: The sensitivity and specificity of narrow band imaging and Lugol's chromoendoscopy combined with confocal laser endomicroscopy are still insufficient to detect early esophageal squalmous cell neoplasm. Lugol's chromoendoscopy is the best method to detect those lesions.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63418
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1495
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1495
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6074012430.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.