Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6430
Title: การเปลี่ยนแปลงสภาพย่านตลาดหลักของเมืองกับการพัฒนานครลำปาง
Other Titles: The changes of central market district and the developoment of Lampang city
Authors: ขนิษฐา ปานคง
Advisors: ขวัญสรวง อติโพธิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ตลาด -- ไทย -- ลำปาง
การพัฒนาเมือง -- ไทย -- ลำปาง
ลำปาง -- ภาวะสังคม
ลำปาง -- ภาวะเศรษฐกิจ
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ตลาดเป็นโลกแวดล้อมทางกายภาพของเมือง ทำหน้าที่ให้บริการแก่ชุมชนเป็นหน้าที่หลักจึงเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐาน เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตชุมชน เมื่อสภาพแวดล้อมของเมืองเปลี่ยนแปลงไปย่อมส่งผลให้กิจกรรมตลาด ต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน นครลำปาง เป็นชุมชนเมืองหนึ่งที่มีความสำคัญทางการค้ามาตั้งแต่อดีต มีย่านตลาดหลักกลางเมือง ซึ่งเป็นย่านตลาดเก่าแก่ของเมือง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษากิจกรรมตลาดในชุมชนเมืองนครลำปาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกับตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งย่านตลาดหลัก โดยการหาความสัมพันธ์ของสภาพการพัฒนานครลำปาง กับสภาพการพัฒนาตลาดของเมืองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้แบ่งช่วงระยะเวลาในการศึกษาออกเป็น 3 ยุค พร้อมทั้งเสนอแนวความคิดในการพัฒนาในอนาคต จากการศึกษาพบว่าตลาดได้พัฒนาขึ้นมาพร้อมกับการเกิดชุมชนนครลำปาง มีที่ตั้งสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชุมชนและเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ โดยในอดีตเจ้าเมืองเป็นผู้มีผลประโยชน์จากตลาดโดยตรง แล้วต่อมาจึงเป็นตลาดของประชาชนในชุมชนอย่างแท้จริง โครงข่ายตลาดในนครลำปางมี 2 ลักษณะคือโครงข่ายยระยะใกล้หรือภายในชุมชน และโครงข่ายระยะไกลหรือระหว่างเมืองและชุมชน โดยมีโครงข่ายระยะใกล้เป็นลักษณะพื้นฐาน ส่วนโครงข่ายระยะไกลระหว่างเมืองนั้นมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่างๆ ตามกาลเวลา ได้แก่ การพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่ง การเมืองการปกครองและทำเลที่ตั้งที่เป็นศูนย์กลางของจังหวัดลำปาง ในอดีตตลาดมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ วิถีชีวิตชาวชุมชนเมืองนครลำปางมากกว่าในปัจจุบัน เพราะปัจจุบันตลาดต้องเผชิญกับสภาพการดำเนินชีวิตแบบสมัยใหม่ และการแข่งขันของห้างร้านที่ทันสมัยกว่า จึงต้องเร่งปรับปรุงให้สามารถคงอยู่ได้ต่อไป
Other Abstract: The market is a physical environmental factor of the city and plays an important role as a necessary basic facility. It has a very close relationship and it is also part of community. When the city changes, this affects the market activity too. Lampang city is an urban community, which has been an important hub of historical trading. The main market in downtown is also the old market of the city. This thesis concerns the market activity and Lampang city and will explore the relationship between the market and the city. This study is divided into 3 segments of time and will explore the development of Lampang city related to the development of the market from the past till the present time. It has been found that the development of the market occurred at the same time as the settlement of Lampang city. The main marketplace was located centrally and connected to the main transportation routes. Originally, the governor of the city gained entirely from the marketplace directly (monopoly). Slowly it turned into areal communities market. There are 2 types of market structure in Lampang city; Integrated Structure (within the community) and the Distance Structure, which is dependant on the variables, and periods of time, such as the development of transportation, politics, and location to the city center. In the past, the relationship between the market and the community was closer than now, new life style, modern competition and state of the art manufacturing are factors that affect the relationship which need to be improved and managed for the future development of the main market in Lampang city.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6430
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.157
ISBN: 9741310587
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.157
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanittha.pdf14.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.