Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64540
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อโรคฟันผุของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors affecting dental caries of prathom suksa six students in schools under the Bangkok Metropolitan Administration
Authors: สายยา ถนอมเมฆ
Advisors: เทพวาณี หอมสนิท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Tepwanee.H@Chula.ac.th
Subjects: ฟันผุในเด็ก--ไทย
นักเรียนประถมศึกษา--ไทย
ทันตสุขศึกษา--ไทย
Dental caries in children--Thailand
School children--Thailand
Dental health education--Thailand
Issue Date: 2544
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อโรคฟันผุของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมกับโรคฟันผุ ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเองให้นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีฟันผุ โดยสุมตัวอย่าง จำนวน 460 คน ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้รับกลับคืน 460 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า : 1. นักเรียนที่มีฟันผุดส่วนใหญ่มีฟันผุ 2 ซี่ ต่อ คน เริ่มฟันแท้ผุซี่แรกเมื่ออายุ 10 ปี บิดามารดาจบการศึกษาระดับประถมศึกษาและมีอาชีพรับจ้าง ราได้ครอบครัวต่อเดือน 5,000-10,000 บาท นักเรียนชอบรับประทานอาหารประเภทผลได้ น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ และไอศกรีมมากที่สุด ความถี่ของการรับประทานอาหารว่างประเภทขนมกรุบกรอบ ขนมขบเคี้ยว 1 ห่อ/ซองต่อวัน ดื่มน้ำอัดลม 1 ขวดต่อวัน ส่วนความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติทางทันตสุขภาพในระดับดี และความเชื่อต่อทันตสุขภาพในระดับพอใช้ 2. ปัจจัยนำ ที่มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ อายุที่เริ่มฟันผุ การศึกษาของบิดมารดา การปฏิบัติทางทันสุขภาพ ส่วนความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพ ทัศคติต่อทันตสุขภาพ ความเชื่อต่อทันตสุขภาพ อายุ เพศ บุคคลที่พักอาศัยอยู่ด้วย จำนวนพี่น้องในครอบครัว อาชีพบิดามารดา ความถี่ของการแปรงฟัน เวลาที่ใช้ในการแปรงฟัน ไม่มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ปัจจัยเอื้อ ที่มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การเข้าถึงของแหล่งบริการอาหารว่างจากร้านค้าในโรงเรียน ความชอบของการรับประทานอาหารประเภทน้ำอัดลม ไอศกรี ผลไม้ และขนมกรุบกรอบ ความถี่ของการรับประทานอาหารว่าง รายได้ของบิดามารดา การเข้าถึงของแหล่งบริการอุปกรณ์ทางทันตสุขภาพร้านค้าในห้างสรรพสินค้าการเข้าถึงของแหล่งข่าวสารความรู้ด้านทันตสุขภาพทางโทรทัศน์ ส่วนการเข้าถึงของบริการทางทันตสุขภาพ การสนับสนุนทางทันตสุขภาพของโรงเรียน ความพร้อมของการมีอุปกรณ์ในการปฏิบัติทางทันตสุขภาพ อำนาจการซื้ออาหารว่างของนักเรียน ความถี่ของการดื่มน้ำอัดลม/น้ำหวาน ไม่มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ปัจจัยเสริม ที่มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การปฏิบัติทางทันตสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวโดยมีพี่ชายและน้องชายปฏิบัติการแปรงฟันเป็นบางวัน การกวดขัน/แนะนำทางทันตสุขภาพจากครูโดยครูไม่ตรวจสุขภาพฟันของนักเรียน และแรงจูงใจในการรับประทานอาหารว่างประเภทขนมขบเคี้ยว ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลมจากเพื่อนและโฆษณา ส่วนการมีเพื่อปฏิบัติทางทันตสุขภาพ การกวดขัน/แนะนำทางทันตสุขภาพจากผู้ปกครอง ไม่มีความสัมพันธ์กับโรคฟันพุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this survey research were to study factors affecting dental caries and to study the relationship among predisposing factors, enabling factors, reinforcing factors and dental caries. The questionnaires developed by the researcher were randomly sent to 460 dental caries of prathom suksa six students in schools under the Bangkok Metropolitan Administration. Four hundred and sixty questionnaires, accounting for 100 percent, were returned. The obtained data were analyzed in terms of percentages, means and standard deviations. The Pearson’s Product Moment Correlation and Multiple Regression Analysis were also applied. The results were as follows: 1. On average, the students had two dental caries each. The students reported that they had the first dental caries at the age of ten. Their parents’ education was at the primary level. Most of their parents were employees. The family incomes were 5,000-10,000 Bath per month. Most students preferred to have fruits, soft drinks, and ice-cream. Their knowledge, attitudes and practice on dental health were at the ‘good’ level and the beliefs in dental health were at the ‘fair’ level. 2. The predisposing factors statistically significant relating to dental caries at .05 level were : ages at the beginning of caries, parents’ education, students’ dental health practice. However, knowledge, attitudes and beliefs in dental health, age, gender, inhabitants, numbers of family members, career of parents, frequency and time of brushing were not significantly related to dental caries. 3. Enabling factors statistically significant relating to dental caries at .05 level were: accession to snack bar in schools, food preference on soft drink, ice cream, fruits and snacks, frequency of having snack per day, income of parents, accession to dental accessories in department store, accession to dental television program. Factors that had no statistical significance relating to dental caries were schools’ dental health supports, readiness of dental health supplies, power of buying snacks and frequency of soft drink and sweet drink. 4. Reinforcing factors statistically significant relating to dental caries at .05 level were: brothers seldomly brushed their teeth, teachers’ supervising and advising on dental health, teachers’ negligence regarding dental screening, advertising motivation and friends’ persuasion on having snacks and soft drink. Friends’ dental health practice and parents’ supervising and advising on dental health were found not to be related to dental caries of students significantly.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64540
ISBN: 9740306322
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saiya_th_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ825.58 kBAdobe PDFView/Open
Saiya_th_ch1_p.pdfบทที่ 1797.57 kBAdobe PDFView/Open
Saiya_th_ch2_p.pdfบทที่ 21.51 MBAdobe PDFView/Open
Saiya_th_ch3_p.pdfบทที่ 3761.54 kBAdobe PDFView/Open
Saiya_th_ch4_p.pdfบทที่ 41.57 MBAdobe PDFView/Open
Saiya_th_ch5_p.pdfบทที่ 51.77 MBAdobe PDFView/Open
Saiya_th_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก2.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.