Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65450
Title: การวิเคราะห์การออกแบบการประเมินการเรียนในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: Analysis of learning assessment design on computer-assisted instruction lesson for upper elementary students
Authors: ปริญญา สุวรรณกิจ
Advisors: สุกรี รอดโพธิ์ทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sugree.R@chula.ac.th
Subjects: คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน -- การประเมิน
Computer-assisted instruction -- Evaluation
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การออกแบบการประเมินการเรียนในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ บทเรียน CAI ที่ผ่านการประเมินจากกรมวิชาการและ/หรือที่ผ่านการตรวจสอบจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) รวม 30 บทเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวิเคราะห์การออกแบบการประเมินการเรียนในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผลการวิจัยพบว่า การประเมินการเรียนในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะออกแบบไว้ในส่วนแบบประเมินท้ายบทเรียน ส่วนแบบฝึกหัดระหว่างเรียน ส่วนการแสดงวัตถุประสงค์การเรียน และในส่วนทบทวนความรู้เดิม หรือ ความรู้พื้นฐาน ตามลำดับ ด้านการออกแบบแบบประเมินท้ายบทเรียน พบรูปแบบการประเมิน 2 รูปแบบหลักคือ แบบเกม และแบบทดสอบ รูปแบบของเกม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเกมที่ประยุกต์มาจากเกมที่ผู้เรียนคุ้นเคย เข้าใจง่าย เหมาะสมกับผู้เรียน ไม่ก้าวร้าว รุนแรง และไม่ผิดหลักคุณธรรมจริยธรรม มีการออกแบบที่ดึงดูดความสนใจและท้าทายความสามารถของผู้เรียน มีกติกาการเล่นชัดเจน กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียนด้วยการให้รางวัลแก่ผู้ชนะในการแข่งขัน ด้านรูปแบบของแบบทดสอบ พบว่า ส่วนใหญ่ออกแบบให้ใกล้เคียงกับการสอบจริงโดยมีการบันทึกข้อมูลของผู้ที่เข้ามาทำแบบทดสอบ ขณะที่โปรแกรมจะจัดการสุ่มข้อสอบจากคลังข้อสอบมาใช้ในการทดสอบแต่ละครั้ง มีการ ประเมินผลรวมเมื่อผู้เรียนจะออกจากแบบทดสอบ ซึ่งความก้าวหน้าของการเรียนจะแสดงชัดเจนว่าผู้เรียนได้ทำข้อสอบไปกี่ข้อ และถูก-ผิดกี่ข้อ โดยสามารถพิมพ์ออกทางกระดาษเป็นผลการเรียนได้ ด้านการออกแบบแบบฝึกหัดระหว่างเรียน พบว่า ส่วนใหญ่จะออกแบบให้ผู้เรียนมีความสะดวกในการตอบโต้กับโปรแกรมโดยผู้เรียนสามารถเข้าไปทำแบบฝึกหัดหรือออกไปศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมได้ตามต้องการ ขณะที่ทำแบบ ฝึกหัดแต่ละข้อจะมีการให้ข้อมูลป้อนกลับด้วยเทคนิคต่าง ๆ ที่ดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและแสดงผลความถูกต้องในการทำแบบฝึกหัดทันที ซึ่งผู้เรียนสามารถทราบความก้าวหน้าในการทำแบบฝึกหัดตลอดเวลา การตอบคำถามมักตอบคำถามได้มากกว่า 1 ครั้งและไม่เกิน 3 ครั้ง โปรแกรมจะมีการเฉลยคำตอบที่ถูกต้องให้ทราบ มีการให้รางวัลเมื่อผู้เรียนตอบคำถามได้ถูกต้อง และเมื่อผู้เรียนตอบผิดจะมีการให้ผลป้อนกลับอย่างเหมาะสม
Other Abstract: The purpose of this research was to study and analyze the factors of learning assessment design on computer-assisted instruction lessons for upper elementary students. The samples were thirty computer-assisted instruction lessons which were verified by Ministry of Education and/or The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. The research instrument used was learning assessment design on computer-assisted instruction lesson analytical form which was developed by principles and theories. Results showed that learning assessment on computer-assisted instruction were found on the section of summative evaluation, exercises, specified objectives and activating prior knowledge respectively. In terms of summative evaluation. games were found to be the most assessment technique used . These designed games were easily understood and suitable. They were not violence and against morals. Games basically drew student attention and create challenging. In the test form; it was designed to meet the functions of conventional paper-pencil test formats. Moreover the test items could be randomly selected and assigned while the program could show and print results. In terms of exercises; the designed technique emphasized on controls and providing feedbacks. Student can desire when to do the exercise, while the program provide proper feedbacks and control tries limit.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65450
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.743
ISBN: 9741714955
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.743
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Parinya_su_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ803.44 kBAdobe PDFView/Open
Parinya_su_ch1_p.pdfบทที่ 1948.03 kBAdobe PDFView/Open
Parinya_su_ch2_p.pdfบทที่ 22.62 MBAdobe PDFView/Open
Parinya_su_ch3_p.pdfบทที่ 3796.51 kBAdobe PDFView/Open
Parinya_su_ch4_p.pdfบทที่ 4852.33 kBAdobe PDFView/Open
Parinya_su_ch5_p.pdfบทที่ 51.16 MBAdobe PDFView/Open
Parinya_su_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก934.31 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.