Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65683
Title: การเปรียบเทียบการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคซาร์สของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Comparative study of information exposure, knowledge, attitude and sars self prevention between Bangkok and Chiang Mai residents
Authors: ประพิมพร หิรัญพฤกษ์
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Tanawadee.B@chula.ac.th
Subjects: ซาร์ส (โรค) -- การป้องกันและควบคุม
ซาร์ส (โรค)
การสื่อสารทางการแพทย์
SARS ‪(Disease)‬ -- Prevention and control
Communication in medicine
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตอุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคซาร์ส และเปรียบเทียบการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคซาร์ส ระหว่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การแจกแจงความถี่ สถิติ ร้อยละค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย ซึ่งประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS For Windows ผลการวิจัยพบว่า 1. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับโรคซาร์ส ไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับโรคซาร์ส 2. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับโรคซาร์สไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการระบาดของโรคซาร์ส 3. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับโรคซาร์ส มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคซาร์ส 4. ความรู้เกี่ยวกับโรคซาร์ส มีความสัมพันธ์เชิงลบกับทัศนคติต่อการระบาดของโรคซาร์ส 5. ความรู้เกี่ยวกับโรคซาร์ส ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคซาร์ส 6. ทัศนคติต่อการระบาดของโรคซาร์ส มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคซาร์ส 7. การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกัน มีความสัมพันธ์กับลักษณะทางประชากร 8. การเปิดรันข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกัน ระหว่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดเชียงใหม่ มีความแตกต่างกัน
Other Abstract: The objective of this research was to study the correlations among information exposure, knowledge, attitude demographic variables and sars self prevention. Questionnaires was used to collect the data from 400 samples. Frequency, percentage, mean, Pearson's product moment correlation coefficient were employed for the analysis through SPSS program. The results of the study were as follows: 1. Exposure to mass and personal media was not correlated with knowledge of sars. 2. Exposure to mass and personal media was not correlated with attitude toward sars epidemic. 3. Exposure to mass and personal media was positively correlated with sars self prevention. 4. Knowledge of sars was negatively correlated with attitude toward sars epidemic. 5. Knowledge of sars was not correlated with sars self prevention. 6. Attitude toward sars epidemic was positively correlated with sars self prevention. 7. Information exposure, knowledge, attitude and sars self prevention correlated with demographic. 8. Information exposure, knowledge, attitude and sars self prevention between Bangkok and Chiang Mai residents were significantly different at p = 0.05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65683
ISBN: 9741747969
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapimporn_hi_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ776.73 kBAdobe PDFView/Open
Prapimporn_hi_ch1_p.pdfบทที่ 1779.1 kBAdobe PDFView/Open
Prapimporn_hi_ch2_p.pdfบทที่ 21.59 MBAdobe PDFView/Open
Prapimporn_hi_ch3_p.pdfบทที่ 3787.56 kBAdobe PDFView/Open
Prapimporn_hi_ch4_p.pdfบทที่ 41.36 MBAdobe PDFView/Open
Prapimporn_hi_ch5_p.pdfบทที่ 51.08 MBAdobe PDFView/Open
Prapimporn_hi_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก811.77 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.